ปิยมหาราชานุสรณ์’65 เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทย

ทุกปีในวันที่ 23 ตุลาคมจะมีการจัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปิยมหาราช  สำหรับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จะชวนคนไทยมาหวนรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 5 พระปิยมหาราช พระผู้พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

สำหรับ “งานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565” ชวนย้อนเวลาสู่รัชสมัยแห่งความรุ่งเรือง สยามเรเนซองส์ที่พระปิยมหาราชทรงวางรากฐานและพระราชทานกำเนิดกิจการสำคัญ สร้างคุณูปการให้กับคนไทยไว้มากมาย ทุกกิจกรรมทรงคุณค่า

 ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปีนี้จัดกิจกรรมธีม “สยามเรเนซองส์” หนึ่งในนั้นเป็นเรื่องการศึกษา จุฬาฯ กำเนิดจากพระราชปณิธานของ ร.5 ทรงมีพระประสงค์จะผลิตคนเสริมการพัฒนาประเทศชาติ โดยมีรากฐานมาจากโรงเรียนฝึกหัดวิชาการข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ตั้งขึ้นปี 2442  ณ ตึกยาวในพระบรมมหาราชวัง ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็กเพื่อผลิตบุคลากรใช้รับราชการ จากพระบรมราโชบายปฏิรูปบริหารระบบราชการแผ่นดิน เมื่อปี 2425 จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กขึ้นเป็นสถาบันอุดมการณ์ศึกษาพระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เมื่อ 1 มกราคม 2453 หลังจากนั้นประดิษฐานขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 26 มีนาคม 2459 เป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม

​ “ จากวันนั้นมาถึงวันนี้พระราชปณิธานแรกเป็นการสร้างคน จุฬาฯ ไม่เคยหยุดการสร้างคน เราผลิตบัณฑิตตลอด 100 กว่าปีที่ผ่านมา นโยบายหลัก  สร้างผู้นำแห่งอนาคต Future Leader  สร้างนิสิตให้เป็นผู้นำแห่งอนาคต เมื่อมีคนแล้ว ผลิตงานวิจัย พร้อมนวัตกรรม ที่นำไปใช้ได้จริง สร้างอิมแพ็กต่อสังคม Impactful Research & Innovations ควบคู่การคำนึงถึงความยั่งยืน  “  

น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) บทบาทของ สนจ.ช่วงโควิดที่ผ่านมา มีส่วนช่วยเหลือขับเคลื่อนสังคม เราระดมสรรพกำลังของนิสิตเก่าและจัดทำโครงการ “กล่องรอดตาย”ช่วงโควิดระบาดหนักในกรุงเทพฯ ทุกคนไม่สามารถเข้าถึงคำปรึกษาและการรักษา บนกล่องดังกล่าวติดคิวอาร์โค้ดเปิดเป็น”เวอชวล วอร์ด” เปรียบเหมือนโรงพยาบาล มีอาสาสมัครชาวจุฬาฯ คุณหมอ นิสิต ที่มีองค์ความรู้ 800 คน มาช่วยตอบคำถาม ติดตามอาการ เป็นที่พึ่งให้กับคนกรุงเทพฯ และขยายไปยังต่างจังหวัด ปี 64 ทำมากกว่า 20,000 กล่อง ปีนี้อีก 2 หมื่นกล่อง มีผู้ติดเชื้อใช้บริการ ช่วยระบบสาธารณสุขรัฐอีกทาง วันที่ 23 ต.ค.ชาวจุฬาฯ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ร.5 ทุกปีเราจะจัดงานเพื่อหาทุน หนึ่งในนั้นกองทุนจุฬาสงเคราะห์ช่วยนักศึกษาที่มีความประพฤติดี ฐานะยากจน ตามพระราชปณิธานของ ร.6 ” ไม่ได้ให้แต่ค่าเล่าเรียน มีค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก มีเงินเดือนประจำเพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ได้ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา ปัจจุบันมีนิสิตที่รับทุน 45 คน แล้วยังกองทุนอาหารกลางวัน 500 คน จากอดีต 300 คน เพราะครอบครัวได้รับผลกระทบช่วงโควิด จะระดมทุนในงานปิยมหาราชานุสรณ์

ขณะที่ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 กล่าวว่า ปีนี้ธีม “สยาม เรเนซองส์” อยากเผยแพร่พระราชกรณียกิจสร้างประโยชน์แก่ประเทศไทยอย่างมหาศาล พาย้อนยุคกลับไป จะเห็นถึงพระปรีชาสามารถการที่ทรงทุ่มเทให้กับชาวไทย รูปแบบนำเสนอทันสมัยขึ้นเป็นดิจิตอลอาร์ต งานปิยราชานุสรณ์ชวนพวกเราสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและร่วมกันทำความดีบริจาคร่วมบริจาคเลือด

ด้าน น.ส.ภัทรพรเลิศศิริโรจน์ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ในฐานะประธานโครงการ CU Blood กล่าวว่า โครงการนี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อจะตอบแทนสังคมผ่านการทำกิจกรรมของนิสิตทั่วทั้งมหาวิทยาลัย เป้าหมายช่วยไม่ให้ขาดแคลนเลือด ปีนี้ปีที่ 10 เลือดของสภากาชาดยังไม่ถูกเติมเต็ม มีโอกาสคุยกับพี่ๆ สนจ.รับรู้ถึงโครงการ DSR และกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นกล่องดิจิตอล เฮลท์ ที่มีประโยชน์  เกิดแนวคิดทำไลน์โอเอดิจิตัลแพลตฟอร์ม ใช้ติดตามผู้บริจาคเลือด ทำให้การบริจาคเลือดง่ายขึ้น เราตั้งเป้าหมายใหม่ปีนี้จะช่วยให้สภากาชาดไทยไม่ขาดเลือดตลอดทั้งปีผ่านแคมเปญที่มีชื่อว่า “เติมเลือดใหม่ ช่วยคนไทยไม่ขาดเลือด” มีวิธีการง่ายๆ เพียงแอด Line OA “เลือดใหม่” กดเพิ่มเพื่อน หลังจากนั้นมีเมนูให้ลงเมนู สามารถนัดหมายตลอดทั้งปี 4 ครั้งต่อปี จะมีวิธีเท่านี้ทุกคนก็จะมีส่วนร่วมกับแคมเปญนี้แล้ว

​​​ปิยนันท์ คุ้มครอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านจัดหาโลหิตและภาพลักษณ์ขององค์กร ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ชื่นชมนิสิตจุฬาฯ ที่คิด Line OA “เลือดใหม่” เข้ามาช่วยจัดการการบริจาคเลือด ทุกคนมีจิตอาสาอยากจะบริจาคเลือด ทุกโรงพยาบาลที่ขึ้นตรงกับกระทรวงสาธารณสุขเป็นสาขาบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสามารถรับบริจาคและใช้ในโรงพยาบาล กรณีไม่พอจะมาเบิกที่สภากาชาดไทย ช่วง 2-3 ปี โรงพยาบาลหาเลือดได้น้อยมาก ทุกโรงพยาบาลจะเบิกมาที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสูงมาก 

“ การบริจาคโลหิตในภาวะปกติทั่วประเทศ เดือนละ 2 แสนยูนิต ช่วงโควิดมีเลือดมาบริจาค 130,000 -160,000 แสนยูนิต ยังขาดแคลน เลือดที่บริจาคช่วยชีวิตผู้ป่วยเสียเลือดเฉียบพลัน รวมถึงผู้ป่วยโรคเลือดในไทยที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจ่ายให้ร้อยละ 23 ของเลือดทั้งหมด  ต้องจัดกิจกรรมกระตุ้น ศูนย์บริการโลหิตทำหน้าที่เป็นสะพานบุญนำเลือดที่มีคุณภาพปลอดภัยส่งให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ ทำให้คุณภาพชีวิตคนไข้ดีขึ้น “ ปิยนันท์ กล่าว

สำหรับกิจกรรมงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2565 และกิจกรรมต่างๆ ติดตามได้ทางเพจ Chulalongkorn University และ Chula Alumni และสามารถร่วมบริจาคกันได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ผ่าน 5 ช่องทางสแกน QR Code เข้าสู่เว็บบริจาค www.chula-alumni.com/donation   2, App CHAM, LINE OA “CHULA ALUMNI” เลือกเมนู “บริจาค”,  K Plus ที่ฟีเจอร์ K Plus Market เลือกเมนูบริจาค และTTB ให้เข้าไปที่ “ปันบุญ” และบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 038-4-62388-9 ชื่อบัญชี “สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์” 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอโอ๋' มองดราม่าอัญเชิญพระเกี้ยว อย่าเห็นคนรุ่นใหม่เป็นศัตรู ขอให้รู้ผู้ใหญ่จะตายก่อน

พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือ หมอโอ๋ เจ้าของเพจ "เลี้ยงลูกนอกบ้าน" ได้โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่าด้วยเรื่องอัญเชิญพระเกี้ยว

'ดร.นิว' ถามอธิการบดี จะเลือกรักษาเกียรติภูมิของจุฬาฯ หรือ วิทยานิพนธ์ชี้นำความคิดล้มล้างฯ

จากกรณีศาลอาญายกฟ้อง อ.ไชยันต์ ไชยพร คดีหมิ่นประมาท นายณัฐพล ใจจริง ผู้เขียนหนังสือ "ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ" และ "ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี"

เขย่าจุฬาฯ ชี้แจงผลสอบวิทยานิพนธ์บิดเบือนของ 'ณัฐพล ใจจริง' ยังไม่โดนถอดปริญญา

นายสุรวิชช์ วีรวรรณ คอลัมนิสต์ประจำเครือผู้จัดการ แสดงความคิดเห็นในเฟซบุ๊ก Surawich Verawan ระบุว่า แว่วว่าผลสอบวิทยานิพนธ์ผิดจริง แต่ไม่ถอนปริญญาเพราะไม่มีระเบียบ