แพทย์จุฬาฯโชว์นวัตกรรมตรวจสมองเสื่อมแฝง ก่อนรู้ตัวล่วงหน้า 10 ปี

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโรคสมองเสื่อม เป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิดเพราะโรคนี้มักเกิดขึ้นเมื่อเราอายุ 60 ปี ขึ้นไป  ยิ่งเข้าสู่สังคมสูงวัย อุบัติการณ์ของการเกิดโรคสมองเสื่อมก็ยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย   ปัจจุบันมีผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมทั่วโลกมีราว 50 ล้านคน เฉพาะในประเทศไทย พบผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมประมาณ 7 แสนคนซึ่งในจำนวนนี้ 5 แสนคนเกิดจากโรคอัลไซเมอร์! หากไม่มีมาตรการทั้งส่วนบุคคลและสังคมในการชะลอหรือป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมจำนวนผู้ป่วยก็จะเพิ่มขึ้น ดังที่มีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีประชากรสูงวัย ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าภายในอีก 30 ปีข้างหน้า

นพ.ภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์

นพ.ภูษณุ ธนาพรสังสุทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์และหัวหน้าโครงการนวัตกรรมการตรวจเลือดวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวทางการป้องกันอัลไซเมอร์ว่า โรคอัลไซเมอร์มีระยะฟักตัว 10– 15 ปี ก่อนที่จะเริ่มแสดงอาการ เรียกได้ว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์แฝง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ สามารถทำงานได้ตามปกติจนเมื่อการดำเนินโรคไปถึงจุดที่อาการเริ่มปรากฎ ผู้ป่วยก็สูญเสียเนื้อสมองไปมากแล้ว ตอนนั้นก็ยากจะฟื้นฟูหรือกู้สุขภาวะของสมอง แต่ตอนนี้ เรามีวิทยาการทางการแพทย์ที่ช่วยให้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพของโรค อัลไซเมอร์ได้ล่วงหน้าก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ เพื่อที่เราจะได้ดูแลตัวเองเพื่อป้องกันอาการสมองเสื่อมก่อนที่จะเกิดอาการ

เครื่อง  LC-MS (Mass spectrometer) 

ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุและหลายโรค โรคที่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด ของภาวะสมองเสื่อมคืออัลไซเมอร์รองลงมาคือโรคหลอดเลือดสมอง  ซึ่งสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์นั้นเกิดมาจากหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม มลภาวะ และความเครียด ฯลฯ อาการสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มักเกิดกับผู้สูงอายุในช่วง 60 ปีขึ้นไป โดย 1 ใน 16 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ ในขณะที่ผู้มีอายุ 80 ปีขึ้นไป

เครื่อง Simoa (Single molecule array)

อัตราส่วนของการพบผู้ป่วยโรคนี้ จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 6 คน “ยิ่งคนอายุยืนขึ้น โอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมก็ยิ่งมากขึ้น” ภาวะสมองเสื่อมเริ่มต้นจากอาการหลง ๆ ลืม ๆ เรื่องราวต่าง ๆที่ผ่านมา เมื่อมีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะช่วยตัวเองได้น้อยลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเองอย่างที่เคยเป็นมา ทำให้ต้องมีผู้คอยดูแลตลอดเวลา และเมื่อการดำเนินโรคมาถึงระยะท้าย ผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้

“โรคนี้เป็นฝันร้ายของคนที่ป่วยเพราะทำให้ตัวตนที่สั่งสมมาหายไป การใช้ชีวิตเป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างในครอบครัว” อ.นพ.ภูษณุ กล่าว

การพยากรณ์โรคสมองเสื่อมแฝงก่อนเกิดอาการ โดยทั่วไป การตรวจโรคอัลไซเมอร์ก่อนแสดงอาการมี 2 วิธี ได้แก่ 1. PET Scan (Positron Emission Tomography Scan) เป็นเทคโนโลยีการตรวจโรคทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์  โดยใช้ภาพวินิจฉัยการทำงานของอวัยวะและเนื้อเยื่อภายในร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการตรวจค่อนข้างแพง และใช้เวลาในการตรวจให้ครบ 2-3 วัน

Laboratory sample of blood testing for diagnosis Alzheimer’s disease. Alzheimer cause brain cells degeneration that lead to memory loss (dementia) and thinking skills. Medical investigation concept

2. การเจาะน้ำไขสันหลัง  เป็นการตรวจวัดระดับโปรตีนที่ก่อโรคอัลไซเมอร์โดยการเจาะน้ำไขสันหลัง ซึ่งในประเทศไทยต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น วิธีการนี้มีผู้เข้าถึงและเข้ารับการตรวจน้อยเนื่องจากหลายคน กลัวเจ็บจากกระบวนการเจาะน้ำไขสันหลัง แต่ปัจจุบัน อ.นพ.ภูษณุ บอกว่าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ จุฬาฯ ใช้เทคนิคทางอิมมูนวิทยาหรือวิทยาภูมิคุ้มกัน ในการตรวจเลือดแทนการเจาะน้ำไขสันหลัง โดยใช้เครื่องตรวจที่มีชื่อว่า Simoa (Single moleculearray) และเครื่อง LC-MS (Mass spectrometer) เพื่อตรวจสาร Phosphorylated Tau ในเลือด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัลไซเมอร์แฝง และสาร Neurofilament light chan ซึ่งเป็นการตรวจการสูญเสียเนื้อสมอง วิธีนี้ช่วยตอบโจทย์ทั้งในแง่ค่าใช้จ่ายที่ย่อมเยากว่า ลดความซับซ้อนและความเจ็บในการตรวจหาภาวะสมองเสื่อมแฝง และยังได้ผลการตรวจที่แม่นยำอีกด้วย

“วิธีเจาะเลือดตรวจสารโปรตีนที่ก่อโรคอัลไซเมอร์เป็นวิธีใหม่ที่มีความคุ้มค่า ผลการตรวจมีความแม่นยำถึง 88 %ใกล้เคียงกับการตรวจด้วยเทคนิคที่ใช้ในต่างประเทศ  ค่าใช้จ่ายในการตรวจก็ไม่แพงเมื่อเทียบกับวิธีการตรวจแบบเดิมที่ใช้อยู่ ที่สำคัญยังเป็นการเพิ่มอัตราการเข้าถึงการบริการที่ง่ายกว่าวิธีเดิมด้วย”

ข้อดีของการเจาะเลือดตรวจอัลไซเมอร์แฝง มีขั้นตอนที่ง่ายและปลอดภัยผู้รับการตรวจไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนเข้ารับการเจาะเลือดซึ่งพยาบาลหรือนักเทคนิคการแพทย์จะเจาะเลือดเพียง 10  ซีซีเท่านั้นและเป็นการตรวจเพียงครั้งเดียว ส่วนการวิเคราะห์ผลใช้เวลา 2 เดือนเท่านั้น

นอกจากนี้  ผู้รับการตรวจเลือดยังต้องทำแบบทดสอบความสามารถของสมองคว บคู่ไปด้วย เพื่อดูต้นทุนทางสมองว่าอยู่ในระดับไหน “ผู้ที่มีต้นทุนทางสมองที่ดี แม้จะมีโรคอัลไซเมอร์หรือโรคอื่น ๆแฝงก็จะไม่แสดงอาการออกมา
นพ.ภูษณุ กล่าวว่าผลจากการตรวจเลือดจะนำไปประมวลกับผลการทำแบบทดสอบก่อนจะแปรผลรวมอีกครั้ง ซึ่งกระบวนการทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปรผลมีความซับซ้อน และต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

“การดูแลตัวเองเสียแต่วันนี้ ลดโอกาสสมองเสื่อมแฝง ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม มลภาวะ และอายุที่มากขึ้นหากดูแลตัวเองได้ดี ลดปัจจัยเสี่ยงเสริมต่าง ๆก็อาจจะลดโอกาสการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ถึง 40%   และถ้าดูแลสุขภาพไม่ให้เป็นโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ หรือหากเป็นแล้วก็รักษาและควบคุมโรคประจำตัวดังกล่าวให้ดี ผู้ที่มีอาการหูหนวก หูตึง จะทำให้สมองไม่ได้รับการกระตุ้น ส่งผลให้สมองเสื่อมได้ง่าย จึงควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษา”นพ.วิษณุ กล่าว
สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่เพจศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ https://www.facebook.com/trceidสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณอดิภา โทร.0-2256-4000 ต่อ 3562, 08-4113-4443 อีเมล [email protected] เว็บไซต์ https://trceid.org Line ID: trceid

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยืนยัน! โรคสมองเสื่อมของ 'บรูซ วิลลิส' ไม่มีทางรักษา

เมื่อปีที่แล้วมีข่าวการยุติอาชีพนักแสดงของ บรูซ วิลลิส ปรากฏออกมา สืบเนื่องจากอาการป่วย เขาได้รับการวินิจฉัยในเวลานั้นว่าเป็นความพิการทางสมอง (Aphasia) โรคที่นำไปสู่ความผิดปกติของการ

จากท้องถึงหัว ตัดสินชะตา 'สมองเสื่อม'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จากท้องถึงหัว..ตัดสินชะตาสมองเสื่อม

จุฬาฯ พัฒนาเชิงรุกหาวิธียับยั้ง 'โรคสมองเสื่อม'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ปัญหาใหญ่ สมองเสื่อม

'หมอธีระวัฒน์' เตือน อาการ 'ลองโควิด' เกิดได้ตั้งแต่หัวจดเท้า ไม่ควรปล่อยตัวให้ติด อาจเคราะห์ร้ายระยะยาว

'นพ.ธีระวัฒน์' ชี้ อาการของ'ลองโควิด' เกิดได้ทุกอายุ ได้ทุกเพศ ตั้งแต่หัวจดเท้า หลายระบบหรืออวัยวะพร้อมกันเตือนไม่ควรปล่อยตัวให้ติด เพราะอาจเคราะห์ร้ายระยะยาว