'CHALOOD' ความจริง – ความงาม – ความรัก มรดกศิลป์กว่า 500 ชิ้น'อาจารย์ชลูด นิ่มเสมอ'

ศ.ชลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ยของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี และเป็นอาจารย์ทางศิลปะ ผู้มีคุณูปการต่อวงการการศึกษาศิลปะของไทยในปัจจุบัน  ที่สำคัญเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปิน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในการสร้างสรรค์งานศิลป์ในยุคต่อๆมา

แม้อาจารย์ชลูดจะเสียชีวิตไปเมื่อพ.ศ.2558 หรือเมื่อ 7ปี ที่แล้ว  แต่การจัดนิทรรศการแสดงผลงานของอาจารย์ชลูด ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง   ล่าสุดคือ นิทรรศการแสดงผลงานศิลปะ “CHALOOD” ความจริง ความงาม ความรัก ระหว่างวันที่ 24 ธันวาคม 2565 – 4 มิถุนายน 2566 ณ หอธรรมพระบารมี จังหวัดฉะเชิงเทรา  ซึ่งถือว่าเป็นการจัดแสดงผลงานของอาจารย์ชลูดที่มีความยิ่งใหญ่อลังการมาก  เพราะมีการนำผลงานกว่า  500 ชิ้นของอาจารย์ชลูดมาจัดแสดง โดยใช้พื้นที่อาคารจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนทั้งอาคาร ทั้งชั้นบนและด้านล่างจัดแสดงผลงาน ซึ่งมีทั้งผลงานหลากหลายรูปแบบทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม  งานภาพพิมพ์ หลากหลายวัสดุ และวิธีการ ซึ่งเป็นความไม่ยึดติดเทคนิคหรือรูปแบบของอาจารย์ชลูด

กล่าวกันว่าอาจารย์ชชูด  เป็นศิลปินผู้มีความเช้าใจธรรมะภาคปฎิบัติอย่างลึกซึ้ง  โดยมีความเป็นไทยเป็นพื้นฐาน ซึ่งผลงานในความเป็นไทยของอาจารย์ล้วนมีอัตลักษณ์ส่วนตัวเด่นชัด แต่แฝงไว้ด้วยความปราณีต เรียบง่าย สงบ งดงาม ตามวิถีไทย  


ผลงานยุคแรก ๆ ของอาจารย์ชลูด  เป็นผลงานด้านจิตรกรรมที่นำเรื่องราวของคนชนบทมาเป็นเนื้อหาในการแสดงออกถึงความสัมพันธ์และความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมของคนไทยในรูปของงานศิลปะในชุดชาวนาไทย, สงกรานต์, ความบริสุทธิ์แห่งธรรมชาติ ระยะต่อมาศาสตราจารย์ชะลูด ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านประติมากรรมที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์ เช่น “เงินพดด้วง” หน้าอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทย “โลกุตระ” หน้าอาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ฯลฯ ประติมากรรมดังกล่าวเป็นที่ยกย่องในความคิดและปรัชญาจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย


อาจารย์ขลูดนับเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะช่วงรอยต่อระหว่างยุคเก่ากับยุคใหม่ของวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทย  สร้างคุณูปการทางศิลปะแก่แผ่นดินไว้เป็นจำนวนมาก เป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางวิชาการศิลปะให้แก่ประเทศไทย ท่านเป็นอาจารย์และคณบดีคณะจิตรกรรม ที่สร้างศิลปินรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก ด้านรางวัลได้รับรางวัลเหรียญทอง เหรียญเงินและเหรียญทองแดง ทั้งในและต่างประเทศมากมายถึง13 รางวัล

ในพิธีเปิดงานนิทรรศการศิลปะแห่งศตวรรษ  ได้รับเกียรติจาก นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  พร้อมด้วย ศ.เดชา วราชุน นายศราวุธ ดวงจำปา นายสมศักดิ์  เชาวน์ธาดาพงศ์ นายปริญญา ตันติสุข และเครือข่ายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ร่วมงาน  

นายอิทธิพล  กล่าวว่า นิทรรศการ “Chalood” ความจริง • ความงาม • ความรัก จัดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติและเผยแพร่ผลงานของ ศาสตราจารย์ ชะลูด นิ่มเสมอ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) ซึ่งท่านได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2558 ในวัย 86 ปี  ศาสตราจารย์ ชลูด เป็นศิษย์รุ่นแรกของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแนวใหม่ ที่ผสมผสานระหว่างจิตรกรรมไทยประเพณีกับจิตรกรรมสมัยใหม่ โดยนำเทคนิคการปิดทองคำเปลวลงบนจิตรกรรมแบบไทยประเพณีมาใช้ในงานสมัยใหม่ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน จึงนับได้ว่าผลงานของท่านมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวงการศิลปะของไทย  

“นิทรรศการในครั้งนี้ ได้รวบรวมจัดแสดงผลงานศิลปะที่ทรงคุณค่าของ อ.ชลูด กว่า 500 ชิ้น อันจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้การสร้างสรรค์งานศิลปะแก่เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ศิลปิน และประชาชนทั่วไปที่รักศิลปะได้เป็นอย่างดี ทั้งเป็นการเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติอีกด้วย” นายอิทธิพล กล่าว

ในการเปิดนิทรรศการ มีการเสวนา หัวข้อ “ความจริง ความงาม ความรัก ” นายพินิจ บุญเลิศ อดีตผู้ว่าราชการจ.ปทุมธานี ผู้สะสมผลงานของอ.ชลูดมากมายหลายชิ้น ท้าวความอดีตว่า อาจารย์ชลูด มีกิตติศัพท์เรื่องความดุ และเข้าถึงยาก แต่เมื่อได้รู้จักตัวจริง กลับพบว่าเป็นคนใจดีมาก  และเป็นผู้ศึกษาธรรมะอย่างแท้จริง เป็นคนนั่งสมาธิ เมื่อได้สนทนาธรรมกับอาจารย์ชลูด ก็มักจะบอกเสมอว่าธรรมะที่แท้จริงอยู่ในจิตของแต่ละคน แต่เราหาไม่เจอเอง แต่ถ้าเดินทางไปมากๆ ในที่สุดก็จะพบเจอธรรมะ เพราะความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนา ปกติอาจารย์มักจะไม่วาดรูปพระพุทธเจ้า  เพราะเห็นว่าเป็นของสูง   จะมีผลงานบางชิ้นที่เป็นผลงานรูปพระซึ่งตนเก็บรักษาไว้หนึ่งชิ้น

ด้าน อาจารย์เดชา วราชุน หนึ่งในลูกศิษย์ อาจารย์ชลูด  เล่าว่า การสอนของอาจารย์ชลูดจะเป็นการสอนเทคนิค ไม่สอนตรงๆ แต่ใช้วิธีแบบเซ็น คือทำให้ดู และให้แต่ละคนไปหาแนวทางของตัวเอง ท่านเป็นคนใจดีมาก  มีเมตตากับลูกศิษย์   และสิ่งที่อาจารย์ชลูดสอนและพูดกับตนเองเสมอ คือ “ทำศิลปะให้เป็นศิลปะ ” แล้วลาภ ยศ ชื่อเสียง เงินทองจะตามมาเอง  หลัง 50ปีผ่านไปสิ่งที่ท่านพูดไว้เป็นจริงทุกประการ


“ผมไม่ขอตำแหน่งศาสตราจารย์ อ.ชลูดท่านก็บอกว่าต้องขอ เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของรุ่นน้องๆ ทุกวันนี้ ผมก็ได้เป็นที่พึ่งของรุ่นน้องๆจริงๆ เป็นการทำตามที่อาจารย์บอก” อาจารย์เดชากลาว


ผศ.ดร.  ประติมา นิ่มเสมอ  บุตรสาวคนเดียวของอาจารย์ชลูด กล่าวว่า ในแง่ของความรัก อาจารย์ชลูดเป็นพ่อ และเป็นอาจารย์ที่ดีมาก  จำได้สมัยที่คุณพ่อยังเป็นอาจารย์ ถ้าลูกศิษย์คนไหนมีปัญหาท่านก็จะเก็บปัญหาของลูกศิษย์มาครุ่นคิด ไม่ยอมหลับยอมนอน และคิดจนกว่าจะหาทางออกให้ได้ ถึงจะยอมเข้านอน คุณพ่อเป็นอย่างนี้เสมอ ส่วนการแก้ปัญหาให้ลูกศิษย์ ท่านจะไม่บอกตรงๆ แต่เป็นการชี้แนะทางอ้อม ในด้านความเป็นพ่อ ท่านมีความมั่นคง แข็งแรง เมื่ออยู่ด้วยแล้วจะรู้สึกปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่เพราะคุณพ่อเป็นคนรูปร่างสูงใหญ่ แต่เพราะความเมตตา อ่อนโยนที่คุณพ่อมีให้เสมอมา ท่านเป็นตัวอย่างที่ดีที่เราเห็น  ให้ซึมซับอยู่ทุกๆวัน ทั้งในด้านความความขยันการทำงานศิลปะ ด้านการศึกษา วิชาการ ที่ท่านพยายามศึกษาค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมาสอนลูกศิษย์ 


“ตอนเด็กๆ จำได้ว่าคุณพ่อจะห้ามเลี้ยงสัคว์ หรือรังแกสัตว์ ตอนเด็กๆ ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมท่านถึงห้าม ตอนหลังมาเข้าใจว่าท่านไม่อยากให้เราทำ บาป หรือมีบาปติดตัว “ทายาท อาจารย์ชลูดกล่าว

 ผู้รักงานศิลป์ สามารถเข้าชมนิทรรศการได้แล้ว ณ หอธรรมพระบารมี เลขที่ 99 หมู่ที่ 2 ต.บางกรูด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา โทร. 082 203 1899 ระหว่างวันที่ 24 ธันวาคม 2565 – 4 มิถุนายน 2566  และติดตามข่าวสารทางวัฒนธรรม ได้ทาง www.culture.go.th หรือ เฟซบุ๊กกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ Line @ วัฒนธรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ สืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย

10 เม.ย. 2567 - ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดพิธีรดน้ำขอพรแสดงมุทิตาจิตแด่ศิลปินแห่งชาติ และผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

รวมพลังศิลปินวาดภาพ'กรมสมเด็จพระเทพฯ'

ศิลปินทั่วฟ้าเมืองไทยรวมพลังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเทิดพระเกียรติองค์’วิศิษฎศิลปิน’  ด้วยความน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

อธิบดี สวธ. เยี่ยม2ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ที่ จ.นครราชสีมา ให้กำลังใจสร้างงานวัฒนธรรม

21 มี.ค.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) พร้อมด้วย นางพรนิภา บัวพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการศิลปินแห่งชาติฯ นางสาวศิวพร

เผยแพร่ผลงาน 8 ศิลปินแห่งชาติ

กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศผลโครงการและกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ประจำปี 2567 โดยมีโครงการของศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขา ได้รับการสนับสนุนเผยแพร่งานมาสเตอร์พีซและมีชื่อเสียง ได้แก่ โครงการ "นิทรรศการบ้านคำปุน"

‘เบิร์ด ธงไชย’ ซึ้ง! เผยความในใจผูกพันหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม จัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด 130 รอบ

ความรู้สึกเหมือนได้กลับมาบ้านหลังใหญ่อันอบอุ่นและสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะชื่อของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดอยู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมายาวนานกว่า 16 ปี