'นมผง'รุกหนักโน้มน้าวแม่ 4กลุ่มให้ลูกกิน'นมแม่'ลดลง

ขอบคุณภาพจาก เพจองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย 

เมื่อพ.ศ.2560 พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ได้มีผลบังคับใช้ จุดประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิเด็กทุกคนให้มีโอกาสได้รับอาหารที่ดีที่สุด ที่สำคัญคือการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ หวังจะควบคุมการส่งเสริมการตลาดของบริษัทนม ไม่ให้อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ไม่ชักจูงให้แม่เข้าใจผิดว่านมผงดีเทียบเท่าหรือดีกว่านมแม่ โดยเฉพาะการควบคุมการส่งเสริมการตลาดที่มาในรูปการเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนการจัดอบรมทางวิชาการ หรือใช้แพทย์พยาบาลเป็นพรีเซนเตอร์สินค้า

แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดนมผง แต่มีข้อมูลจากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยระบุว่า วว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 6 เดือนแรกของประเทศไทยล่าสุดปี 2565 อยู่ที่ 14 % ตกลงจากปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 23 % และแนวโน้มดังกล่าวเป็นทิศทางที่เหมือนกันทั่วโลก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการระบาดของโควิด-19  ที่ส่งผลให้ต้องมีการผ่าคลอดมากขึ้น  และเมื่อคลอดแล้วต้องแยกลูกออกจากแม่  เพราะกลัวทารกจะติดโควิดจากมารดา  ทำให้เด็กแรกเกิดไม่ได้เข้าเต้ากินนมแม่ตั้งแต่คลอด

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ลดลงในช่วงโควิดระบาด  ทำให้องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ถึงกับออกบทความหัวข้อ “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด”โดยเน้นว่า นมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับลูกน้อยที่จะช่วยปกป้องพวกเขาจากการติดเชื้อและการเจ็บป่วย

ก่อนหน้าที่จะมี พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก 2560 ผู้ผลิตนมผง ได้ทำการตลาดหลากหลายรูปแบบ  เช่น จัดงานอีเวนต์ ทำการตลาดผ่านสื่อโซเชียล Call center ส่งจดหมายและเอสเอ็มเอส เพื่อติดต่อแม่และครอบครัว ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในโรงพยาบาลและคลินิก เช่น แจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ จัดกิจกรรมกับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และผู้ปกครองทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน แจกอุปกรณ์ที่มีตราหรือสัญลักษณ์อื่นๆของผลิตภัณฑ์ให้แก่สถานพยาบาลแจกของขวัญให้บุคลากรในโรงพยาบาล  โฆษณาเกี่ยวกับโภชนาการของทารก  โดยโฆษณาแต่ละชิ้นถูกออกแบบขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ซื้อสินค้า จึงยกข้อมูลแค่ส่วนเล็กๆส่วนเดียวมาเป็นจุดขาย    แต่ไม่ได้พูดถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น เช่น ภูมิคุ้มกัน หรืออธิบายว่าสารต่างๆที่เติมเข้าไป ไม่เหมือนกับสารอาหารตามธรรมชาติที่อยู่ในนมแม่

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตนมผง ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธิ์ การทำการตลาดรูปแบบใหม่ โดยเน้นเข้าถึง”แม่”โดยตรง  จนล่าสุด ทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดย          นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข  แสดงความเป็นห่วงว่า วิธีการทำการตลาดรูปแบบใหม่ของบริษัทนมผง จะส่งผลให้แม่ 4 กลุ่มมีแนวโน้มใช้”นมผง”เลี้ยงลูกแทน “นมแม่” มากขึ้่น  โดยมีการศึกษาผลจากการส่งเสริมการตลาดบริษัทผู้ผลิตนมเพื่อหาว่า การทำการตลาด รูปแบบใดที่ส่งผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมผง  โดยมีการสำรวจการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก จากแม่จำนวน 330 คนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผลการศึกษาพบว่า แม่ 4กลุ่ม ได้แก่ 1.  แม่ที่ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับนมผงจากบุคคลอื่นๆ เช่น บุคคลในครอบครัว เพื่อน และบุคลากรทางการแพทย์ มีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติที่ดีและชื่นชอบนมผงมากกว่าแม่ที่ไม่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับนมผงจากบุคคลอื่นๆ 2. รวมถึงแม่ที่เป็นแม่เลี้ยงเดียว หรือแม่ที่มีฐานะครอบครัวปานกลางมีแนวโน้มที่จะชื่นชอบนมผงมากกว่าเช่นกัน  3. นอกจากนี้ แม่ที่เคยมีประสบการณ์หรือเคยได้รับการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในสถานพยาบาล มีแนวโน้มที่จะใช้นมผงในการเลี้ยงลูกของตนเองมากกว่าแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ หรือได้รับการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในสถานพยาบาล  4.ส่วนแม่ที่ต้องทำงานก็มีแนวโน้มที่จะป้อนนมผงให้ลูกมากกว่าแม่ที่ไม่ทำงาน ล้วนเป็นแม่ที่มีแนวโน้มใช้นมผงเลี้ยงลูกมากกว่านมแม่

“เป็นที่ทราบกันดีว่า “นมแม่ดีที่สุด” เพราะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยองค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ แนะนำให้เด็กทารกควรได้รับนมแม่ครั้งแรกภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด และควรได้กินนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน และกินนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสมจนถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น แต่พบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เช่น การโฆษณา การลดราคา บริษัทหรือตัวแทนติดต่อกับแม่โดยตรง เป็นต้น” นพ.รุ่งเรืองกล่าว

นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ 1.กระทรวงสาธารณสุข ต้องเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 โดยการติดตามการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ทั้งช่องทางออนไลน์ หรือช่องทางอื่นๆ ทุกช่องทางอย่างสม่ำเสมอ และมีการตัดสินบังคับใช้บทลงโทษกับผู้ละเมิด พ.ร.บ.อย่างจริงจัง 2.สถานพยาบาลทุกแห่งทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก (Baby-Friendly Hospital Initiative, BFHI) โดยอาจกำหนดให้เป็นเกณฑ์ในการรับรองคุณภาพของสถานพยาบาล 3.ควรมีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มแม่ที่ต้องกลับไปทำงาน เช่น การขยายวันลาคลอดเป็น 6 เดือน หรือการพัฒนามุมหรือสถานที่สำหรับบีบ ปั๊ม เก็บน้ำนมแม่ในสถานประกอบกิจการ ให้เป็นสวัสดิการตามกฎหมาย และ 4.การให้ความรู้กับแม่และครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ให้เข้าใจถึงประโยชน์ และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่0

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่