'ภาวะโลกเดือด' นี่ยังเพียงเริ่มต้น

ภาพจากAFP

“ปีนี้โลกร้อนมากๆ ยุโรป ลำบากมาก  ตายเยอะ เกิดไฟไหม้ป่า ไม่มีน้ำใช้  คนตกใจ เห็นได้จากญี่ป่นภาคใต้เจอไต้ฝุ่นรุนแรงมาก  ส่วนภาคเหนือกลับเกิดฮีทสโตรก เหมือนโลกมันเดือดปุ๊งๆๆๆ แล้ว จริงๆ “

การที่องค์การสหประชาชนประกาศเมื่อเร็วๆนี้ โลกได้ก้าวข้าม ภาวะโลกร้อน ไปสู่”ภาวะโลกเดือด” หรือ Global Boiling แล้วเพราะเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านอุณหภูมิโลกสูงขึ้น จนต้องบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก  เป็นเรื่องช็อกของผู้คนทั้งโลก  
ในมุมประเทศไทย เชื่อว่าหลายคนคงสัมผัสได้ถึงสภาพอากาศร้อนสุดๆในปีนี้ เป็นประจักษ์พยานว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ “ภาวะโลกเดือด”แล้วจริงๆ    แต่แค่การรับรู้ว่าโลกกำลังเดือดปุดๆเหมือนตั้งแกงบนเตาแบบหรี่ไฟเบาๆ  แล้วไม่ทำอะไรเลยคงไม่ได้ แต่สิ่งที่เราควรจะทำและควรจะเป็น เป็นอย่างไร มาฟังมุมมองของนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ดังนี้

ดร.ปัณฑิตา ตันวัฒนะ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาวะโลกเดือดมีข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยาโลก ยืนยันจากอุณหภูมิโลกสูงติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่าน ซึ่งเป็นสามสัปดาห์ที่ร้อนที่สุด ไม่เคยอุณหภูมิสูงขนาดนี้และสูงต่อเนื่องมาก่อน  ถือเป็นบันทึกหน้าประวัติศาสต์ใหม่ของอุณหภูมิโลก ซึ่งจากข้อมูลโลกเริ่มอุ่นตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อ 200 ปี ก่อน และเส้นกราฟค่อยๆ ขึ้นเป็น 45 องศา แต่ปีที่กราฟชันมาก คือ พ.ศ.2523 สอดรับกับข้อมูลปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศช่วงนั้น เหมือนการต้มน้ำที่จะค่อยๆ เดือด  อุณหภูมิขึ้นตามคาร์บอนที่เราปลดปล่อย แต่ตอนนี้ใช้คำว่า อุ่นอีกต่อไปไม่ได้แล้ว เป็นการสิ้นสุดยุค “โลกร้อน” เข้าสู่ยุค “โลกเดือด Global Boiling” เป็นคำที่องค์การสหประชาติใช้อย่างเป็นทางการ นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น

อีกปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อุณหภูมิของมหาสมุทรและน้ำทะเลสูงที่สุดและร้อนที่สุดเท่าที่บันทึกไว้เช่นกันเป็นหลักฐานว่า ความร้อนเพิ่มขึ้นทั้งในพื้นผิวและพื้นน้ำ การมาถึงจุดที่ทำลายสถิติไม่ได้น่าแปลกใจมากนัก เพราะความพยามของของทั่วโลกน้อยมากเมื่อเทียบกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย  มีรายงานการประเมินความพยายามของทุกประเทศทั่วโลก ประเทศไทยถูกจัดลำดับว่าไม่เพียงพออย่างวิกฤต เป็นเพียงชาติเดียว ความพยายามในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไม่เพียงพอ ซึ่งเชื่อว่า อุณหภูมิจะทะลุเกิน 1.5 องศาแน่นอน

  “ UN ประกาศเราเข้าสู่นิวนอร์มอลใหม่ โลกที่คุ้นเคยจะไม่เกิดขึ้นในยุคเราและลูกหลาน เราต้องอยู่กับโลกที่ร้อนที่ร้อนแบบนี้ ไม่สามารถกลับไปได้แล้ว สิ่งที่ต้องพบเจอ ไทยอยู่ในลำดับที่ 8 ของประเทศที่เสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ขยับขึ้นมาเรื่อยๆ จากอันดับ 10 ส่วนอันดับ 1 คือ เปอร์โตริโก ถัดมาเมียนมาร์ เฮติ ฟิลิปปินส์ ปากีสสถาน เวียดนาม บังคลาเทศ เนปาล โดมินิกัล ทั้งหมดเป็นประเทศยากจน เป็นประเทศที่เปราะบาง มีความสามารถในการปกป้องตัวเองได้น้อย อยู่ในโซนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด หลุมดำอยู่ตรงนี้

สภาพอากาศเปลี่ยน:ไทยกระทบหนัก

 นอกจากนี้ มีการจัดลำดับประเทศไทยมีความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในปี 2613 อยู่ในลำดับที่ 7 ถ้าคิดจากจำนวนประชากร แต่ถ้าคิดจากความเสียหายทางเศรษฐกิจอยู่ในลำดับ 10 อีกทั้งในเว็ปไซต์ขององค์การนาซ่าเผยแพร่แผนที่พื้นที่สีแดงน้ำท่วมแผ่นดินหาย  ถ้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง  จะรวมพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล รวมถึงอ่าวไทยตัว ก ไทยเผชิญหลายความเสี่ยง รวมถึงภัยแล้งไทยเสี่ยงเจอภัยแล้งอันดับต้นๆ ของโลก  ส่วนความผิดปกติของสภาพอากาศ โดยเฉพาะพายุ เมื่อดูสถิติย้อนหลัง 60 ปี จากที่พายุเข้าตามฤดูกาล ในเดือนตุลาคม ปัจจุบันเป็นพายุหลงฤดูกาล พายุถี่ขึ้น ทิ้งช่วง หรือเกิดพายุซ้อนกันหลายลูก

“ นั่นหมายถึงไทยจะเจอกับภัยซ้อนภัย หรือภัยที่มาต่อเนื่อง มาเป็นซีรี่ย์ สมมติเจอพายุแล้วเกิดน้ำทะเลหนุนเข้ามาในเวลาเดียวกัน เจอศัตรูรอบด้าน ที่น่ากังวลเป็นภัยที่ต่อเนื่อง พายุลูกแรกยังไม่จบ พายุลูกที่สองมาเติมอีก หรือเพิ่งผ่านแล้งมาเจอฝนหนักเลย นี่เป็นแรงเหวี่ยง “

ส่วนข้อมูลปริมาณน้ำฝนของไทยอย่างปี 2554 ปริมาณฝนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 50 ปี ไม่เคยเกิดมาก่อน แต่ไม่ใช่จะ 50 ปีต่อไปจะเกิดอีก  เพราะจากข้อมูลปริมาณฝนมากสุดเกิดในปี 2559 ย่นมาแค่ 5 ปี เกิดฝนหนัก ช่วงระหว่าง 5 ปีนั้นยังเกิดภาวะแล้งจัดในรอบประวัติศาสตร์เช่นกัน ความแกว่ง ความคาดเดายาก ความรุนแรง ควบคุมยากเกิดขึ้นแล้ว  ไม่ต้องรอเข้ายุคโลกเดือด

อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ส่งผลกระทบน้ำแข็งละลาย ก้อนน้ำแข็งแผ่นที่ใหญ่ที่สุดหลุดและลอยไปตามมหาสมุทร ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้น กระทบพื้นที่ชายฝั่งทะเล แผ่นดินหายไป ประเทศไทยเกิดปัญหากัดเซาะชายฝั่งมานานแล้ว แต่เป็นภัยที่ช้า หายไปปีละมิลลิเมตร แต่จริงๆ การหายของแผ่นดินจะหายไปตลอดกาล น้ำทะเลรุกคืบเสียแผ่นดินไปเรื่อยๆ มีกรณีตัวอย่างบ้านขุนสมุทรจีนที่อ่าวไทย เผชิญปัญหากัดเซาะรุนแรง ย้ายบ้านหนี20 รอบ  ไม่รวมปัญหาคลื่นพายุซัดฝั่ง หรือ Storm Surge  ซึ่งไทยมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร ทั้งอันดามันและอ่าวไทย จะได้รับผลกระทบด้านทรัพยากรธรรมชาติ เชื่อมโยงเศรษฐกิจ วิถีชีวิตที่ได้รับผลกระทบ น้ำทะเลที่ร้อนยังส่งผลกระทบปะการังฟอกขาว อาจเกิดการสูญพันธุ์ขนานใหญ่ อุณหภูมิน้ำทะเลที่อุ่นมีผลโดยตรงต่อการอยู่รอดของปะการัง

ภาวะโลกเดือดยังเชื่อมโยงกับสุขภาพ ดร.ปัณฑิตา กล่าวว่า  คลื่นความร้อนหรือฮีทสโตรก  ไม่ว่าจะในอังกฤษ สหรัฐ เสปน ยุโรป จนถึงขั้นเสียชีวิต ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น เราเคยชินกับอากาศร้อน แต่ก็มีคนตายจากคลื่นความร้อน ซึ่งเราก็ยังต้องปรับตัวกับอากาศที่ร้อนมาก ความร้อนมาพร้อมความแล้งและแห้ง  ทำให้น้ำในแหล่งกักเก็บน้ำระเหยไป ส่งผลให้ปริมาณน้ำน้อยลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ อุณหภูมิที่สูง ฝนน้อย ยังตามมาด้วยไฟป่า ตัวการที่ก่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ฝุ่นพิษและหมอกควันป็นมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ มันเป็นซีรีย์จริงๆ

ไทยต้องเตรียมรับมือกับภาวะโลกเดือด โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม สภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลต่อการเพาะปลูก ขณะที่เกษตรกรขาดองค์ความรู้และเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ทำให้ผลผลิตไม่ได้ตามเป้าหมาย เป็นหนี้ ประเทศก็ส่งออกไม่ตามเป้าหมาย ราคาอาหารแพงขึ้น นี่คือปัญหาความมั่นคงทางอาหารที่ต้องเผชิญ

แม้ไทยจะมีแผนรับมือระดับชาติ มีแผนแม่บทโลกร้อน ไทยประกาศเป้าหมายสำคัญ คือ ประเทศไทยจะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 แม้ทั่วโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในวันนี้ แต่ผลกระทบไม่ได้หยุดเกิดขึ้นทันที  การปรับตัวซึ่งไทยมีแผนปรับตัวระดับชาติ ระดับจังหวัดกำลังทำ ส่วนระดับท้องถิ่นยังไม่มีเลย ซึ่งตนเองกำลังทำงานวิจัยตรงนี้ เพื่อชาวบ้านจะได้ปรับตัวก่อน ยังไม่รวมเอสเอ็มอี เกษตรกร ที่ต้องขยับ เริ่มตอนนี้แม้ช้า แต่ก็ไม่ควรช้าไปกว่านี้แล้ว  เราพยายามผลักดันการรู้ รับ ปรับ ฟื้น บางที่ใช้คำว่า เมืองยืดหยุ่น ชุมชนยืดตัว หรือธุรกิจที่ปรับตัว รุกเร็ว รัฐต้องให้ความสนใจและมีนโยบายด้านการปรับตัวที่ชัดเจนกว่านี้ หากภัยพิบัติเกิดขึ้น ความเสียหายจะมหาศาล เพราะไทยไม่ได้เตรียมรับมือ  อีกประการที่ห่วงคือ การทำ Net Zero แบบฉาบฉวย ไม่มองโลกร้อนเป็นปัญหาต้องแก้ มองแค่เป็นช่องทางทำธุรกิจใหม่ หรือทำเพื่อผ่านเกณฑ์ประเมินตลาดหลักทรัพย์

“ ภาคเกษตรเป็นภาคที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เยอะมากแต่ภาคเกษตรกรรมต้องการการเปลี่ยนผ่านอย่างเท่าเทียม ควรมีกองทุนที่เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรเกี่ยวกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต  รัฐควรสร้างระบบที่ทำให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมได้มากขึ้น จุฬาฯ พยายามพัฒนาระบบถูก ง่าย ดี และใช้ง่าย แต่ปลายทางก็ยังแพงอยู่ดี ขณะเดียวกันต้องส่งเสริมเทคโนโลยีเพื่อปรับตัวกับโลกเดือด ลดความเสียหายของภาคเกษตร แต่ปัญหาอายุเฉลี่ยเกษตรกรเป็นผู้สูงอายุ ขาดคนรุ่นใหม่สานต่อ เราจะขาดผู้ผลิตอาหารของประเทศภายใน 5-10 ปี สถาบันการศึกษาต้องร่วมกันสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าถึงเทคโนโลยีให้กับประเทศ  ส่วนภาคประชาชนยังต้องการการส่งเสริมและสนับสนุนสร้างความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอีกมาก “ ดร.ปัณฑิตา กล่าว

UN จ่อประชุมออกเกณฑ์แก้จริงจัง

นักวิชาการอีกราย รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และหนึ่งในคณะกรรมการการนโยบายการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ  กล่าวว่า  หน้าร้อนปีนี้ มีคนตายเยอะ เพราะอุณหภูมิสูงสุด เป้าที่ประเทศ โลกกำลังพูดไม่ให้ร้อนขึ้น1.5 องศา น่าจะเป็นไปไม่ได้ เข้ายุคจาก Global Warming กลายเป็น Global Heating  ยิ่งมาเจอ เอลนิโญ่ ทำให้ร้อนนานขึ้น ถ้าไม่มี Polar jet หรือกระแสลมหนาวจากขั้่วโลกเหนือลงมา ซึ่งจะทำให้ทะเลเย็นขึ้น แต่ถ้าไม่มีทะเลก็จะเก็บสะสมความร้อนไปเรื่อยๆ  

การแก้ปัญหา องค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น จะมีการประชุมเรื่องนี้ในเดือนก.ย.เรียกว่าเป็นการประชุม UN AMBITION SUMMIT 2023  และจะประชุมอีกครั้งเดือนธันวาคมเป็นเวที  UNSCC การประชุมยูเอ็นจะเรียกร้อง 2 ข้อ  คือ Climate Action กับ Climate Justice   เพราะในโลกมี 5ประเทศ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เช่น  จีน อเมริกา อินเดีย  จะต้องลดให้มาก เพราะถ้าไม่ลดประเทศที่เหลือจะได้รับผลกระทบ สิ่งที่ลดไป จะต้องเอาเงินไปช่วยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับคนอื่นด้วย ซึ่งในเวทีนี้ จะมีการพูดถึง Climate Fund หรือการมีเงินกองทุนช่วยเหลือประเทศต่างๆ นี่คือ ทฤษฎี  เพราะที่ผ่านมา มีการขอระดมทุนที่เรียกว่า Global Fund  แต่ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือเท่าไหร่


“การประชุมครั้งนี้ ทางยูเอ็นจะต้องบอกว่า เป็นแบบนี้ไม่ได้แล้วนะ ถ้าไม่ทำอะไรเลย  ประเทศพัฒนาแล้ว แม้จะทำกิจกรรมลดคาร์บอนด์ แต่ทั้งหมดเป็นกระดาษ  แต่  Climate Action คือ การต้องลดจริงๆ  ไม่ใช้ถ่านหิน  ซึ่งช่วงที่ผ่านมา พอเกิดสงครามรัสเซีย ยูเครน  เกิดวิกฤติพลังงาน ทำให้เยอรมันต้องกลับมาใช้ถ่านหิน ใหม่ เหมือนโลกตีลังกากลับ เป็น วิกฤติ ซ้อนวิกฤต “

Climate Change  สปีดเร็วแก้ไม่ทัน

รศ.ดร.สุจริต กล่าวอีกว่า แนวทางการแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มันจะไปด้วยกันทั้งในแง่ทำให้โลกสงบและ เกิดความเป็นธรรม   นี่คือโจทย์ใหญ่ของยูเอ็นในเวลานี้ เพราะสปีดของClimate Change  อุณหภูมิโลกสูงขึ้นมันเร็วขึ้น กว่า สมัย 30-40 ปีก่อน เราพูดถึงความไม่เป็นธรรม ที่ประเทศยากจนได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ   ทำให้ประเทศที่ร่ำรวยแล้ว  หาทางออก ด้วยการเอาเงินไปลงทุนในประเทศยากจน แต่เป็นอุตสาหกรรมที่สกปรก  ส่วนตัวเองก็ทำอุตสาหกรรมสะอาด  แต่ตอนนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมันเร็วขึ้น จะทำแบบนั้นไม่ได้อีกแล้ว  การออกแบบแก้ปัญหา จะทำเหมือนสมัยปฎิวัติอุตสาหกรรม เมื่อ30-40 ปีก่อน จึงใช้ไม่ได้แล้ว  ซึ่งเรากำลังพูดปี 2030และปี 2050 เป็นเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึง ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายแค่ตั้งเป้าไว้เฉย จะต้องไปให้ถึงจริงๆ และยูเอ็นก็พูดเรื่องนี้มานานแล้ว

“การประชุม UN AMBITION SUMMIT 2023 วันที่  20  กันยาบน 2023 ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในความเป็น AMBITION เลขายูเอ็น บอกว่า ประเทศกำลังพัฒนา จะต้องลด Co2 ให้มากกว่านี้ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาก็ทำอยู่แล้ว  แต่จะต้องมีเงินมาช่วยเหลือประเทศเหล่านี้  ในเรื่องของAdaptation  หรือการปรับตัว  เพื่อให้Emission ลดให้ได้ตามเป้าในปี 2050 แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า จะทำอย่างไร ใครเป็นคนทำ และใครเป็นคนจ่าย จ่ายเท่าไหร่ “รศ.ดร.สุจริตกล่าว

สิ่งที่ยูเอ็น จะยกเหตุผลก็คือเรื่อง  Damage and Loss situlation เพราะความสูญเสียจากผลกระทบจะเกิดขึ้นทั้งหมดทั้งโลก แล้วทำอย่างไรจะให้ทุกฝ่าย Win -Win    ทั้งประเทศพัฒนาแล้ว ที่พอออกเงิน  จะสามารถสร้างธุรกิจบางอย่างได้ มาขายประเทศกำลังพัฒนา โดยอาจจะเป็นในรูปแบบเงินกู้ ซึ่งมีศัพท์คำนี้เกิดขึ้น ว่า Green Technology Revolution  เป็นการใช้เทคโนโลยีมาช่วย เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีรายได้ ผลิตสินค้่าที่ผลิตได้ก็เป็นกลุ่ม Green  มาขายต่ออีกทีหนึ่ง   ซึ่งการทำอย่างนี้ จะเป็นการช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด์ ฯ และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาไปในตัว

‘คาร์บอนเครดิต’ตกยุค ไม่เวิร์ก 


รศ.ดร.สุจริต กล่าวอีกว่า แนวคิดใหม่ของยูเอ็น ที่เน้นการลงมือทำจริง และสร้างความเป็นธรรมกับประเทศต่างๆ  โดยให้มีการตั้งกองทุน Climate Fund  เพราะวิธีการแก้ปัญหาจากคาร์บอนด์เดครดิ สรุปแล้วช่วยโลกไม่ได้จริง  ระบบคาร์บอนเครดิต เป็นเกณฑ์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว  แต่เอาเข้าจริงการลดคาร์บอนด์ มันลดไม่ทัน แม้ประเทศรวยจะมีเงินซื้อ แต่ประเทศกำลังพัฒนาทำไม่ทัน  จึงเลิกพูดเรื่องนี้กันแล้ว แม้แต่ในประเทศไทย หรือประเทศกำลังพัฒนา ตอนนี้ จะจ้องขายคาร์บอนเครดิต แต่ในความรู้สึกของประเทศพัฒนาแล้ว เขาเห็นว่ามันไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จึงต้องเปลี่ยนโหมดคิดใหม่  จากที่รอปลูกป่าลดคาร์บอน ก็จะต้องปลูกป่า ปลูกผัก และใช้เทคโนโลยีกรีน ไปพร้อมๆกัน  ซึ่งจะได้ 3เด้งในเวลาเดียวกัน สามารถลดคาร์บอน และประชาชนมีรายได้ไปด้วย ส่วนประเทศร่ำรวยก็ขายเทคโนโลยีกรีนได้  
“เขากำลังหาโมเดล ที่แก้ได้ 3อย่างในเวลาเดียวกัน แต่เงินอุดหนุนจะมาจากข้างนอก  ประเทศร่ำรวย กำลังทำวิจัยคิดเรื่องนี้ และคิดไปถึงว่าจะต้องทำเทคโนโลยีที่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถซื้อเทคโนโลยีได้ด้วย เขารู้ว่าเทคโนโลยีจะต้องดีไซน์ ให้ถูกลงแต่ใช้งานได้ ซึ่งจะวิน-วินทุกฝ่าย  เรื่องนี้เขาพูดกัน 5ปี10ปี  เพราะสปีดโลกร้อนมันเร็ว     แต่เดิมมีแผนที่เร็วกว่านี้ และเขาคิดว่าต้องขายGreen Technology แต่พอเกิดสงครามทำให้ทั้งหมดหยุดชะงัก เงินที่จะมาทำสนับสนุนโครงการพวกนี้ กลายเป็นเงินที่ต้องมาทำสงครามหมดเลย  ประเทศผู้นำควรต้องลงทุนวิจัย ควรต้องลงทุนและคิดเทคโนโลยีกรีนมาขายเรา แต่ทำไม่ได้ “

ไทยต้องตั้ง’ Climate Fund’

มองย้อนที่ประเทศไทยติด อันดับ 8ประเทศเปราะบางของโลก ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รศ.ดร.สุจริต กล่าวว่า การที่ไทยติดกลุ่มประเทศได้รับผลกระทบสูง เพราะเราเป็นประเทศที่ใช้ทรัพยากรประเทศตัวเองเยอะไม่ว่าจะเป็นป่า หรือน้ำ เราฟันป่าไปจนหมด ปัจจุบันเราอยู่ในสภาพติดลบอยู่แล้ว เราเสียสละสิ่งนี้ หมายถึงทรัพยากร เพื่อพัฒนาประเทศ โดยมีความคิดที่ว่า เมื่อเรารวยขึ้นแล้ว เราจะหันกลับมาปลูกป่าใหม่  ทฤษฎีในอดีต เป็นอย่างนี้ ต้องพัฒนาไปก่อน พอมีเงินเเหลือค่อยกลับมาฟื้นฟู  แต่คิดแบบนี้ เป็นไปไม่ได้แล้ว ต้องคิดเรื่อง Sustainable หรือความยั่งยืน  ต้องคิดว่าต้องโตด้วย ต้องเขียวด้วย  เราจึงพยายามบีบให้ธุรกิจต้องทำธุรกิจที่เป็น SCG หรือยั่งยืน ลงทุนแล้วต้องคิดถึงผลกระทบคนข้างเคียงด้วย ต่อไปจะมีคาร์บอนเดรดิตให้อุตสาหกรรมใหญ่ๆ ต้องทำสินค้ากรีน ไม่อย่างนั้นส่งออกไม่ได้  


“การที่ยูเอ็นบีบให้ประเทศใหญ่ อย่าง จีน อเมริกา ต้องลดก๊าซเรือนกระจก  แต่ถ้าจีน อเมริกายังทะเลาะกัน ก็ทำไม่ได้ ดังนั้น  เราเองจึงต้องต้องเล่นเกมตามยูเอ็น ตามคอนเซ็ปต์  ท้ง   Climate Action กับ Climate Justice  เพื่อให้ทุกอย่างให้มันดีขึ้นบ้าง  “

ยึดหลักรีน-เป็นธรรม

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม บอกอีกว่า เรื่องปัญหาสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องใหญ่ เราจึงต้องตั้งกรมจัดการการแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือกรมโลกร้อน มารองรับ  หลักการทำงานของกรม จะต้องทำหน้าที่จดทะเบียน การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ของโรงงานต่างๆ  โดยจะต้องมีการออกกฎหมายใหม่บังคับเอกชนส่งตัวเลขการปล่อยคาร์บอน ฯและต้องนำส่งตัวเลขนี้ให้ทางยูเอ็น   ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการตั้งกองทุน Climate change Fund  ซึ่งไอเดียนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นได้จริง  รัฐกับเอกชนร่วมบริหารจัดการ เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น  กติกาของกองทุนคือ ให้ภาคธุรกิจ ส่งเงินเข้ากองทุน หลักการคิดจ่ายเงินเข้ากองทุน  ส่วนใหญ่คิดจากเปอร์เซ็นต์จากผลกำไร หรือ เปอร์เซ็นต์ของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อย โดยมาตรการนี้ อาจมีเรื่องภาษีมาช่วยเป็นแรงจูงใจ

“เราต้องล้อตามมาตรการของ ยูเอ็น ที่จะบีบให้ประเทศใหญ่ อย่าง จีน อเมริกา ต้องลดก๊าซเรือนกระจก   ตามคอนเซ็ปต์  ท้ง   Climate Action กับ Climate Justice  เพื่อให้ทุกอย่างให้มันเกิดขึ้นได้จริง และเกิดความเป็นธรรมในสังคม  เงินกองทุน Climate change Fund  ที่ตั้งขึ้น จะมาดูแลเอสเอ็มอี และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ  แต่พอตั้งรัฐบาลช้า เรื่องแก้กฎหมายรายงานก็าซคาร์บอนและอื่นๆ คงต้องล่าช้าไปด้วย  “

รศ.ดร.สุจริตบอกอีกว่า อีกหนึ่งในหน้าที่สำคัญของกรมโลกร้อน ก็คือจะต้องทำเรื่องการปรับตัวของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ    รณรงค์เรื่องการรับรู้ของผู้คน และต้องนำมาปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ ซึ่งทั้งหมดอาจจะใช้เงินจากกองทุน Climate change Fund  ดังกล่าว โดยเฉพาะการให้ประชาชนรับรู้และทำจริงเพื่อลดโลกร้อน  ถ้าปล่อยให้รัฐบาลกลางทำอย่างเดียวมันช้า  จะต้องอาศัยเงินบริจาคเข้ากองทุนจากบริษัทใหญ่ๆมาช่วย เพราะที่ผ่านมาแม้ชุมชนต่างๆ จะตื่นตัวที่ละลดคาร์บอน  แต่พอขอเงินรัฐ รัฐไม่มีตังค์ ก็ไม่ทำ มันจึงไม่เกิดการตื่นตัวรับรู้ของผู้คน  ส่วนทางด้านหลักการของกองทุน ที่ดีที่สุดจะต้องมีการจัดการที่เป็นกลาง ไม่ใช่การทำซีเอสอาร์เหมือนแต่ก่อน

“ผมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เราประชุมกันเมื่อวันก่อน เพื่อเตรียมการเรื่องการประชุมที่ยูเอ็นในเดือน กันยาบนและเดือนธันวาคม  เป็นการเตรียมการว่าจากเดิมที่เราประกาศ ลดก๊าซเรือนกระจก 20-30 % ก็จะเป็น 30-40% แล้วนะ และอีก 10% ที่เราเพิ่ม เราต้องขอความช่วยเหลือเทคโนโลยี และอีกส่วนต้องขอความช่วยเหลือเรื่องการปรับตัวของประชาชน หรือ Adaptation  เพราะในโลกจะพูดถึงการเตือน เรื่องโลกร้อนส่วนใหญ่ แต่เราคิดว่าต้องเอากรีนเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในช่วงปรับตัว และถ้าเทคโนโลยีนี้ ทำให้เกิดการสร้างรายได้ไปในตัว เช่น ทำให้เกิดเครื่องมือเกษตรทันสมัย จากที่เกษตรกรบ้านเราได้แต่จ้องมองดูฟ้า ว่าควรปลูกหรือไม่ปลูก ก็จะมีการใช้เทคโนโลยีคำนวณ ฝนตกหรือไม่ และสมมุติว่าจะต้องซื้อเทคโนโลยีเยอรมัน ตัวละ 2แสนบาท ก็ควรซื้อในราคาตัวละ 5พัน เป็นต้น  “

รศ.ดร.สริต สรุปอีกว่า ภาวะโลกเดือดมาจริงๆ ท้ายสุดแล้วหลักการ แอคชั่น  กับจัสติก จะต้องเกิด โดยเกณฑ์จะต้องไปบีบประเทศที่รวยมาก ปล่อยก๊าวเรือนกระจกมาก ให้มาช่วย เพื่อให้เกิดวงจรการปรับตัวที่ยกระดับขึ้นเรื่อยๆ ในโลกใบนี้


“ปีนี้โลกร้อนมากๆ ยุโรป ลำบากมาก  ตายเยอะ เกิดไฟไหม้ป่า ไม่มีน้ำใช้  คนตกใจ เห็นได้จากญี่ป่นภาคใต้เจอไต้ฝุ่นรุนแรงมาก  ส่วนภาคเหนือกลับเกิดฮีทสโตรก เหมือนโลกมันเดือดปุ๊งๆๆๆ แล้ว จริงๆ “

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สหประชาชาติเตือน ฉนวนกาซาแทบไม่เหลือสภาพเป็นที่อยู่อาศัยแล้ว

ความช่วยเหลือเข้าถึงฉนวนกาซาได้มากขึ้น สหประชาชาติและองค์กรช่วยเหลืออื่นๆ จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการรับและแจกจ่ายความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

'เอลนีโญ' สั่นคลอนความมั่นคงทางอาหาร

ปรากฎการณ์’เอลนีโญ’ ถือเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย  เพราะส่งผลให้เกิดภัยแล้ง ทำให้ขาดแคลนน้ำ ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย นักวิชาการคาดการณ์ว่า ปี 2567 ปรากฎการณ์เอลณีโญจะทวีความรุนแรงขึ้น

แอฟริกาใต้ฟ้องศาลโลก กล่าวหาอิสราเอลเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

แอฟริกาใต้กล่าวหาอิสราเอลด้วยข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ที่ศาลสูงสุดของสหประชาชาติ เมื่อวัน

เลขาธิการสหประชาชาติไว้อาลัยเจ้าหน้าที่ UN ที่เสียชีวิตในฉนวนกาซา

อันโตนิโอ กูแตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ไว้อาลัยเจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ถูกสังหารในสงครามฉนวนกาซา เขาโพสต์บนแพลตฟอร์ม X “

2 นักสู้ไอโอโจมตี ตบหน้ารัฐ ไร้มาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ ปล่อยลอยนวลพ้นผิด

คืบหน้ากรณีไอโอโจมตี อังคณา – อัญชนา  สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ เผยรัฐไทยได้ทำหนังสือชี้แจง 5 ประเด็นใหญ่ตามข้อสงสัยของคณะผู้เชี่ยวชาญยูเอ็น ซัดกลับไร้มาตรการรูปธรรมคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ ปล่อยลอยนวลพ้นผิด