'เอลนีโญ' สั่นคลอนความมั่นคงทางอาหาร

ปรากฎการณ์’เอลนีโญ’ ถือเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย  เพราะส่งผลให้เกิดภัยแล้ง ทำให้ขาดแคลนน้ำ ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย นักวิชาการคาดการณ์ว่า ปี 2567 ปรากฎการณ์เอลณีโญจะทวีความรุนแรงขึ้น ข้อมูลจาก ThaiHealth Watch 2024 จับตาทิศทางสุขภาพคนไทย ปี 2567    รายงานถึงความเสี่ยงความต้องการใช้น้ำของไทย ซึ่งภาคเกษตรเป็นภาคที่มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุดถึง 77% รวมถึงคนไทยกังวลภาวะเอลนีโญที่กระทบผลผลิตการเกษตร อาจนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารได้ในปีนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ผลกระทบของเอลณีโญปี 2566 ในช่วงครึ่งหลังของปีว่า อาจสร้างความเสียหายต่อพืชเกษตรสำคัญของไทยที่จะมีผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดจำนวนมาก ทั้งข้าวนาปี มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 4.8 หมื่นล้านบาท

เช่นเดียวกับทาง Krungthai  COMPASS เผยผลคาดการณ์ผลผลิตเกษตรของไทยช่วงครึ่งปีหลังปี 66 ไทยฝนน้อยกว่าค่าปกติ สอดคล้องกับการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปีแล้วไปจนถึงกลางปีนี้ จะทำให้ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ได้รับผลกระทบ และทวีความรุนแรงขึ้นในครึ่งปีแรกของปี 67 คาดว่า ข้าวเสียหายมากที่สุดราว 3.2 ล้านตัน มูลค่าความเสียหายราว 28,422 ล้านบาท  ต่อมาเป็นอ้อยที่จะเสียหาย 15.8 ล้านตัน   มูลค่าราว 16,906 ล้านบาท  มันสำปะหลังเสียหายเกือบ 3 ล้านตัน  ขณะที่ภาคการประมงก็กระทบจากความร้อนแล้ง จากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น ปีนี้ประมงไทยบอบช้ำจากวิกฤตการภาวะโลกเดือดไม่น้อย

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI)  กล่าวว่า ในปี 2566 ประเด็นความแปรปรวนของสภาพอากาศ” เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ในด้านอุณหภูมิ ปริมาณฝน ความชื้น และระดับน้ำทะเล อีกทั้งปรากฎการณ์เอลนีโญที่เริ่มรุนแรงมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา มีผลให้อุณหภูมิโลกพุ่งสูงขึ้นและกลายเป็นปี ที่ร้อนและแห้งแล้งที่สุดในรอบหลายปี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำฝนและปริมาณน้ำท่า จึงส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำในภาคส่วนต่าง  และกระทบต่อกลุ่มที่เสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ เกษตรกร ชุมชนชายฝั่ง ผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น รวมทั้งผลกระทบต่อปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรง ฝุ่น PM 2.5 สถานการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่และอาชีพของคนไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงเป็นการคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ไทยเผชิญแรงปะทะใหญ่จากเอลนีโญ ทั้งขาดน้ำและสั่นคลอนความไม่มั่นคงทางอาหาร  ผศ.ชล บุนนาค อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหารครอบคลุมตั้งแต่การมีอาหารพอกิน การเข้าถึงอาหารของคนยากจนและมีรายได้น้อย อาหารปลอดภัยต่อสุขภาพ และความมีเสถียรภาพแม้เกิดภาวะวิกฤต   ปัญหาความมั่นคงทางอาหารของไทยตอนนี้  รายงาน FAO พบจำนวนคนที่มีความไม่มั่นคงทางอาหารระดับปานกลางและรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นราว 7% ของประชากรประเทศไทย อายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะแคระเกร็นเพิ่มขึ้น 13% ของจำนวนประชากรเด็ก ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจสำหรับประเทศผู้ผลิตอาหาร  ความมั่นคงอาหารเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจ หากดูรายงาน SDG แสดงให้เห็นผลกระทบจากความยั่งยืนในทุกมิติ ต้องมองระบบอาหารที่ไม่ยั่งยืนของไทย ไม่ใช่แค่อาหาร

ทางออกของปัญหา นักเศรษฐศาสตร์ มธ. กล่าวว่า เราต้องตระหนักปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศควบคู่ความมั่นคงทางอาหาร ต้องหากลไกที่เชื่อมการทำงานร่วมกัน งบประมาณในการสร้างระบบอาหารยั่งยืน ระดมความร่วมมือทุกภาคส่วน และใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยีนให้กับภาคการเกษตรไทย รวมถึงต้องมีงานวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง  

ดร.กฤษฎา  บุญชัย  เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา กล่าวว่า การใช้พลังงานฟอสซิล  ระบบพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนเพื่อเป็นบันไดเติบโตภาคอุตสาหกรรม   ตลอดจนการทำนาข้าว การใส่ปุ๋ย  ทำลายนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และก่อมลภาวะ เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในอากาศ ส่งผลเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐมีโครงการจำนำข้าว ประกันราคาพืชผล  เป็นนโยบายที่ทุกรัฐบาลปฏิเสธไม่ได้   เป็นความมั่นคงอาหารในมุมรัฐ  ส่วนนักวิชาการมุ่งโภชนาการ ความปลอดภัย แต่ยังไปไม่ถึงโครงสร้างการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน  ความมั่นคงอาหารของคนจน คนจนไม่แคร์อาหารออรแกนิค มีสารเคมีมั้ย ขอแค่มีอาหารกินเพื่อความอยู่รอด คนจนถูกลดทอนเหลือเพียงการมีเงินเพื่ออาหาร  ส่วนความมั่นคงอาหารของเกษตรกรและชุมชน  คือ การปกป้องทะเล ภูเขา แม่น้ำ เรือกสวนไร่นา   ฟื้นฟูนิเวศวัฒนธรรม  สร้างฐานเศรษฐกิจ จะเห็นถึงความขัดแย้งต่อมุมมองเรื่องความมั่นคงอาหาร ปัจจุบันยังพบความมั่นคงทางอาหารจำแนกผู้คนชนชั้นด้วย

ทั้งนี้ ดร.กฤษฏา ได้หยิบยกคำเตือนจากเวทีร่วมระหว่างรัฐบาลด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและบริการนิเวศ (IPBES) 2019 ที่ระบุว่า ระบบอาหารทั่วโลกพึ่งพาธรรมชาติร้อยละ 73 ทำให้ผลผลิตอาหารทั่วโลกตกต่ำ บวกกับการพัฒนาทุนนิยมที่สร้างการเติบโตประชากร การพัฒนาเศรษฐกิจ เขื่อนในน้ำโขง ระเบียงเศรษฐกิจ   เทคโนโลยี นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรและการพัฒนาผ่านการแสวงหาผลประโยชน์  การใช้ประโยชน์ป่าไม้ พลังงาน ประมงพาณิชย์   การอนุรักษ์ที่ผิดธรรมชาติ   การใช้ประโยชน์ที่ดินและทะเลทำลายล้าง  ดินเสื่อมโทรม  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฎการณ์เอลนีโญที่ถี่ขึ้น  มลภาวะ แลกกับนิเวศพังทลาย การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต  นำมาสู่ความเปราะบางอาหาร เราจะกอบกู้ความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร  

“ จุดเปลี่ยนกลับมาสู่วิถีนิเวศ เกษตรนิเวศวัฒนธรรม ระยะเร่งด่วนส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทนต่อภาวะโลกเดือด เกษตรกรเป็นผู้ผลิต เป็นด่านหน้าของระบบอาหาร ปัจจุบันงานวิจัยส่วนใหญ่ไปไม่ถึงชาวนา  ต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งข้อเรียกร้องในเวที COP 28 ให้สนับสนุนด่านหน้าของระบบอาหาร เกษตรกร ชุมชน  ระบบอาหารเพื่อปรับตัว สร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงภูมิอากาศ ใช้เป้าหมายควบคุมอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส เป็นเป้าหมายสำคัญของการลดก๊าซเรือนกระจกในระบบอาหาร ก้าวให้พ้นการใช้ฟอสซิลในระบบอาหาร สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน กำหนดเป้าหมาย “ เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาย้ำไทยต้องเตรียมรับมือภูมิอากาศที่จะรุนแรงมากขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทะเลเดือดของจริง! 'ดร.ธรณ์' เผยอ่าวไทยร้อนเกิน 32 องศา อุณหภูมิน้ำสูงจนน่าสะพรึง

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กว่า ทะเลเดือดของจริงมาถึงแล้วแม่เจ้าเอ๊ย เตือนเพื่อนธรณ์มาตั้งแต่ปีก่อน เอลนีโญบวกโลกร้อนจะทำให้ทะเลเดือด เ

ยุคโลกเดือด! 'ดร.ธรณ์' เตือนรับมือ 'เอลนีโญ' ปีนี้เมืองไทยร้อนเป็นประวัติการณ์

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และรองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า โมเดลล่าสุดทำนายว่า ปีนี้เอลนีโญอาจทำให้เมืองไทยร้อนเป็นประวัติการณ์