แอฟริกาใต้ฟ้องศาลโลก กล่าวหาอิสราเอลเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

AFP

แอฟริกาใต้กล่าวหาอิสราเอลด้วยข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา ที่ศาลสูงสุดของสหประชาชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ในกรุงเฮก โดยเรียกร้องให้อิสราเอลหยุดการโจมตีในฉนวนกาซา

แอฟริกาใต้อ้างว่าการกระทำของกองทัพอิสราเอลมีลักษณะเป็น “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เนื่องจากมีเป้าหมายที่จะกำจัดชาวปาเลสไตน์ในพื้นที่ แอฟริกาใต้อ้างถึงอนุสัญญาเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของสหประชาชาติในการฟ้องร้อง ซึ่งทั้งแอฟริกาใต้และอิสราเอลต่างลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว รัฐบาลแอฟริกาใต้รักษาความสัมพันธ์อันดีกับดินแดนปาเลสไตน์มาแต่ไหนแต่ไร นักการเมืองของแอฟริกาใต้เองก็เคยเปรียบเทียบนโยบายการปกครองในปาเลสไตน์กับนโยบายแบ่งแยกสีผิวในประเทศของตนอยู่บ่อยครั้ง

อิสราเอลปฏิเสธข้อกล่าวหาของแอฟริกาใต้อย่างแข็งขัน “การฟ้องร้องของแอฟริกาใต้ปราศจากมูลความจริงหรือทางกฎหมาย” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอิสราเอลโพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์ม X เมื่อเย็นวันศุกร์ “แอฟริกาใต้กำลังร่วมมือกับองค์กรก่อการร้าย (ฮามาส) ที่เรียกร้องให้ทำลายล้างรัฐอิสราเอล” ทั้งยังระบุด้วยว่า ฮามาสเป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์ทรมานของชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาแต่เพียงผู้เดียว ทุกครั้งที่สู้รบกับทหารฮามาส กองทัพอิสราเอลพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตพลเรือนน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ตามกฎหมาย ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศควรจะแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างรัฐต่างๆ อย่างสันติ คำตัดสินของศาลฯ มักจะมีผลผูกพัน อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาของสหประชาชาติไม่มีอำนาจบังคับรัฐใดๆ ให้ดำเนินการดังกล่าว แต่ทุกคนสามารถเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติดำเนินในเรื่องนี้ได้

ทนายความในกรุงเฮกสันนิษฐานว่าอาจจะมีการพิจารณาคดีเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของแอฟริกาใต้ภายในไม่กี่สัปดาห์ และหากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเปิดการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้อง อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะมีการตัดสิน

ครั้งล่าสุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศรับข้อร้องเรียนของรัฐบาลในกรุงเคียฟเมื่อเดือนมีนาคม 2022 กรณีการรุกรานของรัสเซียต่อยูเครนด้วยข้อกล่าวหาว่ารัสเซียละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 1948 แต่ทนายความฝ่ายรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และอ้างว่ายูเครนพยายามที่จะละเมิดศาลด้วยข้อกล่าวหาที่เป็นเท็จ

คดีของยูเครนกล่าวหาว่ารัสเซียให้เหตุผลในการรุกราน โดยอ้างว่าประชากรรัสเซียในภูมิภาคลูฮันสค์และโดเนตสค์ ทางตะวันออกของยูเครน จำเป็นต้องได้รับการปกป้องจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งความจริงแล้วกองทัพรัสเซียเป็นผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในยูเครน

ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการยุติธรรมในเรื่องนี้อาจใช้เวลานานหลายปีเหมือนกัน แต่ยูเครนได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ร่วมผู้นำ 17 ประเทศ แถลงเรียกร้องปล่อยตัวประกันในกาซา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "วันนี้ ผมร่วมกับผู้นำ 17 ประเทศที่มีตัวประกันที่ยังอยู่ในกาซา ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวประกันทั้งหมด

‘นพดล’ ชี้ข่าวดีหาก ‘อิหร่าน’ ยุติโจมตี ‘อิสราเอล’ ห่วงคนไทยขอให้ฟังคำเตือนสถานทูต

กรรมาธิการห่วงใยชีวิตของคนไทยเกือบ 30,000 คนที่ทำงานในประเทศอิสราเอล และเข้าใจว่ามีแรงงานบางส่วนเริ่มเดินทางกลับไปทำงานเพราะต้องมีรายได้เลี้ยงครอบครัว

‘พีระพันธุ์’ สั่งปลัดพลังงาน จับตาผลกระทบด้านพลังงาน สงคราม ’อิหร่าน-อิสราเอล’

รมว.พลังงานเผยสั่งการให้ท่านปลัดฯและหน่วยงานทุกหน่วยของกระทรวงพลังงานติดตามรายงานสถานการณ์ คาดการณ์ผลกระทบและแนวทางในการรับมือด้านพลังงานตลอดเวลาเช่นกัน

เอาแล้ว 'อิหร่าน' เปิดฉากขนโดรนและขีปนาวุธ ถล่มอิสราเอล

อิหร่าน เปิดฉากโจมตีอิสราเอล เอาคืนเหตุโดรนโจมตีเข่นฆ่าชีวิตที่สถานกงสุลในกรุงดามัสกัส สื่อรัฐอิหร่าน ระบุเป้าหมายิคือ ฐานทัพอากาศเนเกฟ ด้าน เลขา ยูเอ็น ขอทุกฝ่ายยับยั่งชั่งใจ