
ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยรายละเอียดผลการวิจัยแนวทางการยกระดับเมืองรองใน 5 จังหวัดนำร่อง ซึ่งประกอบด้วยเชียงใหม่-นครสวรรค์-ขอนแก่น-ระยอง-ภูเก็ต โดยกล่าวว่า บพท. และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้บรรลุความร่วมมือกับธนาคารโลก ในการศึกษาวิจัยแสวงหาแนวทางการยกระดับเมืองรอง เพื่อเสริมพลังการกระตุ้นความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต และลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ

“ผลจากการวิจัยเบื้องต้นพบว่า การให้อำนาจและเครื่องมือแก่องค์กรปกครองท้องถิ่นให้สามารถระดมทุนได้เอง บริหารจัดการงบประมาณได้เอง และสามารถตัดสินใจร่วมมือกับเอกชนได้เอง โดยมีกลไกติดตามประเมินผลคอยกำกับตรวจสอบใกล้ชิด จะทำให้เมืองรองมีความเข้มแข็งขึ้น ช่วยเสริมพลังในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบสนองต่อความต้องการในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังจะช่วยสร้างแหล่งงานดูดซับกำลังแรงงานในพื้นที่ ยกระดับรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตแก่คนในพื้นที่”
นายฟาบริซิโอ ซาร์โคเน ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ช้อมูลที่ค้นพบจากการวิจัยพบว่าการพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่น โดยอำนวยความสะดวกให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการระดมทุนได้เอง เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตัวเองขององค์กรปกครองท้องถิ่น มีจำเป็นอย่างยิ่งต่อการยกระดับเมืองรอง ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นกำหนดแผนงานโครงการ ตามความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างตรงจุด โดยพบว่าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่องค์กรปกครองท้องถิ่นควรพิจารณาดำเนินการ น่าจะเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ด้านการบริการสาธารณะ พลังงานทดแทน และการจัดการขยะ ที่มีความสอดคล้องกับบริบทสากลด้านสิ่งแวดล้อมเขียว ทั้งในมิติ BCG (Bio Circular Green) หรือ ESG (Environmental Social Governance)

“การปลดล็อคเงื่อนไขอุปสรรคของการพัฒนาพื้นที่ โดยเสริมพลังให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นในการระดมทุนได้เอง และมีช่องทางหารายได้ของตัวเอง จะเพิ่มศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ครอบคลุมทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อการพัฒนาพื้นที่ รวมไปถึงการสร้างงานให้แก่คนในพื้นที่”
นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (สบน.) กล่าวว่า เมืองรอง มีบทบาทอย่างสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ บรรเทาความยากจนในชนบท โดยกระทรวงการคลังจะนำข้อค้นพบจากงานวิจัยไปใช้เป็นแนวทางการให้การสนับสนุนการเติบโตของเมืองต้นแบบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการในพื้นที่
“การส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นระดมทุนด้วยตัวเอง และบริหารจัดการงบประมาณตามแผนงานโครงการของตัวเอง ไม่เพียงเป็นประโยชน์ในเชิงคุณภาพ ประสิทธิภาพของการพัฒนาพื้นที่ แต่ยังมีส่วนช่วยลดการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลส่วนกลาง ช่วยลดภาระของฐานะการคลังรัฐบาลลงได้มาก”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธนาคารโลกเคาะจีดีพีไทยโต 3.9% ห่วงอลวนการเมืองถ่วงลงทุนภาครัฐชะงัก!
“ธนาคารโลก” เคาะเศรษฐกิจไทยปี 2566 โตสะพรั่งที่ 3.9% อานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นตัว ส่งออกยังอ่วมพิษเศรษฐกิจโลกชะลอ มองฟื้นตัวได้แต่ยังรั้งท้ายอาเซียน ห่วงการเมืองไม่นิ่งถ่วงลงทุนภาครัฐชะงัก ระบุมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงานทำนโยบายการคลังเข้าสู่สมดุลล่าช้า บิดเบือนกระบวนการเงินเฟ้อ
เวิลด์แบงก์ขยับ ศก.ไทยโต3.9% ท่องเที่ยวหนุน
“ธนาคารโลก” เคาะเศรษฐกิจไทยปีนี้โตสะพรั่ง 3.9%
ปลื้ม! ธนาคารโลก ประเมินไทยออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ได้เหมาะสม
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ยินดีรายงานจากธนาคารโลก ประเมินไทยออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 ได้เหมาะสม พร้อมติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด รวมถึงดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์
'คลัง' ฟุ้งจัดเก็บ 7 เดือนแจ่มธนาคารโลกแนะขึ้น VAT
“คลัง” ฟุ้งจัดเก็บรายได้ 7 เดือน ปีงบประมาณ 2566 เกินกว่าเป้าหมาย 8.9% มั่นใจทั้งปีผลงานฉลุย แจงมาตรการอุ้มราคาน้ำมันคุมเงินเฟ้ออยู่ มองทั้งปีกดเหลือไม่เกิน 3% ด้าน “ธนาคารโลก” แนะปฏิรูปภาษีแบบก้าวหน้า หนุนขึ้น VAT - ขยายการจัดเก็บภาษีที่ดิน – ขยายฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา – ลดเงื่อนไขการลดหย่อน ช่วยปั้มรายได้ภาครัฐรองรับการเติบโตระยะยาว
สกสว. จับมือ World Bank ถ่ายทอดความรู้ผลักดันการพัฒนานวัตกรรมให้เอกชนไทย
นายกฯ ส่งเสริมความร่วมมือ สกสว. กับ World Bank ถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด ผลักดันการพัฒนานวัตกรรม เสริมสร้างศักยภาพของภาคเอกชนไทย