เทศกาลการเรียนรู้กรุงเทพฯ หนุน Learning City

แม้จะจัดเทศกาลครั้งแรกเพื่อเป็นการนำร่องเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่ประสบผลสำเร็จในการสร้างแพลตฟอร์มใหม่ๆ ส่งเสริมการเรียนรู้ของทุกคน สำหรับ “เทศกาลการเรียนรู้กรุงเทพฯ : Learning Fest Bangkok 2023” ระหว่างวันที่ 14-17 ก.ย. 2566 ที่ผ่านมา ณ TK Park จัดโดย สถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) กรุงเทพมหานคร  ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และเครือข่ายการเรียนรู้กว่า 30 องค์กร ภายใต้แนวคิด “Wonderlearn สงสัยให้สุด เป็นมนุษย์ไม่หยุดเอ๊ะ” เพื่อสร้างแพลตฟอร์มในการส่งเสริมระบบนิเวศการเรียนรู้ ที่สนับสนุนให้ผู้คนทุกช่วงวัยในสังคมได้มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้คนไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานคร เป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ระดับโลกของยูเนสโก (The UNESCO Global Network of Learning Cities – GNLC)

กิตติรัตน์ ปิติพานิช ผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) กล่าวว่า การจัดเทศกาลครั้งนี้ตั้งเป้าหมายต้องการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้จริง โดยการร่วมมือกับเครือข่าย และพาร์ทเนอร์ เพื่อที่จะขยายพื้นที่ ช่องทางการเข้าถึง และวิธีในการเข้าหาผู้คน ทำให้เกิดความหลากหลายในการเรียนรู้ ไม่จำกัดอยู่แค่ในพื้นที่ของทีเค ปาร์ค และเนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2573 จำนวนประชากรโลกที่อาศัยในเขตเมืองจะสูงถึงร้อยละ 60 ยูเนสโกได้สร้างแนวทางในการสนับสนุนให้เมืองเกิดกระบวนการในการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน โดยได้คัดเลือกเมืองตามหลักเกณฑ์ขององค์การยูเนสโกที่สร้างเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (UNESCO Global Network of Learning Cities) เพื่อเสริมศักยภาพของผู้คนให้ก้าวไปอย่างเท่าทัน 

กิตติรัตน์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น Learning City คือ เมืองที่มีการใช้ทรัพยากรในทุกภาคส่วนอย่างมีประสิทธิภาพ เท่าเทียม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการการเรียนรู้สำหรับประชาชนทุกคนและทุกระดับ โดยมีการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ มีการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต ผ่านการขับเคลื่อนด้วยเมือง ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล อบต. อบจ. ชุมชน เป็นต้น ขณะนี้ประเทศไทยมีเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ทั้งสิ้น 7 เมือง ได้แก่ เชียงราย ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา หาดใหญ่ สุโขทัย พะเยา และเชียงใหม่ ในปีนี้มีการเสนอชื่ออีก 3 เมือง ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น ยะลา หากได้รับการอนุมัติ

“ นอกจากการคัดเลือกให้เมืองแห่งการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโกแล้ว การที่จะทำให้เมืองอื่นๆ ซึ่งก็มีศักยภาพให้เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ได้ จึงมีแนวคิดในการจัดเทศกาลเพื่อดึงศักยภาพของเมืองนั้นๆออกมาให้ผู้คนได้เห็น โดยได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่นำร่องในการจัดครั้งแรก ก่อนที่จะขยายไปยังเมืองอื่นๆ ซึ่งกรุงเทพฯ มีแนวคิดที่ว่า เมือง คือ คน, คน คือ เมือง เพราะทั้งสองสิ่งนี้คือคุณภาพที่ส่งเสริมกัน จึงจำเป็นที่คนจะต้องมีทักษะและศักยภาพในการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะการตั้งคำถาม จะเห็นว่าสังคมในยุคนี้มีการตั้งคำตอบต่อสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม มากกว่าในอดีต เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบ หรือรับฟังคำตอบที่สร้างสรรค์ผ่านกระบวนการคิดอย่างสมเหตุสมผล เพื่อการพัฒนาคุณภาพหรือสังคมต่อไปได้ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องมีอายุเท่าไหร่ เพราะทุกเพศทุกวัยมีสิทธิในการตั้งคำถาม และภายในเทศกาลครั้งนี้ก็เปิดกว้างสำหรับประชาชนทุกคน ในการทำกิจกรรม หรือร่วมเสวนา ที่จะช่วยสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ดีขึ้นได้” กิตติรัตน์ กล่าว 

สำหรับงานเทศกาลการเรียนรู้กรุงเทพฯ ชาวช่างเอ๊ะ ผู้มาร่วมงานได้พบกับกิจกรรมทั้งดนตรี ศิลปะ ภาพยนตร์ และเวทีเสวนาที่มีไฮไลท์น่าสนใจตลอด 4 วัน อาทิ เอ๊ะ Awards by TK Park รางวัลเชิดชูความสงสัยสำหรับมนุษย์เอ๊ะที่สร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับสังคม เอ๊ะ hibition นำเสนอวิธีเปลี่ยนตัวเองให้เป็นนักอยากรู้  Wonder Walk ในย่านประตูน้ำและบ้านครัว เพื่อค้นหาและตั้งคำถามต่อเรื่องราวต่างๆรอบตัว   Wonder Arts กิจกรรมสนุกๆ ที่พามาเอ๊ะเปิดโลกกับภาพยนตร์ ดนตรี ละคร ศิลปะ Young Wonders กิจกรรมมากมายที่จะชวนเด็กและครอบครัวมาเอ๊ะไปด้วยกัน

อีกเวทีที่ได้รับความสนใจมาก  เอ๊ะ Talk เป็นเวทีจุดประกายความคิดกับมนุษย์เอ๊ะ Wonder Lab สำหรับสายลึก เน้นการร่วมตั้งคำถามและหาคำตอบไปด้วยกันเพื่อส่งเสริมการคิดแบบไม่จำกัด  ในงานสัมมนาสาธารณะ Inquiry-based Learning ปลุกความสงสัย จุดไฟการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาค้นหาว่าทำอย่างไรถึงจะรักษา ‘ความสงสัยใคร่รู้’ และต่อยอดความสงสัยให้กลายเป็นทัศนคติ เกิดการเรียนรู้แบบไม่รู้จบ และ Communities of Wonders รวมชุมชนคนเอ๊ะ 

นอกจากนี้ ตลอดเทศกาลยังมีเครือข่ายการเรียนรู้ที่มาร่วมจัดกิจกรรมเสริมทักษะการเอ๊ะให้กับชุมชนคนทำงานด้านการเรียนรู้ บรรณารักษ์ นักจัดกิจกรรม ผู้ดูแลห้องสมุด  ตลอดจนพื้นที่ของนักสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มาแชร์ไอเดียเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน  ส่วนกรุงเทพฯ จะได้รับการพิจารณารับรองจากยูเนสโกเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือไม่ ต้องติดตามลุ้นผลกันต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป