'บพท.' จับมือ 'มหาวิทยาลัยกว่างซี' แก้จนในไทย

พิธีลงนามระหว่างบพท.กับ ม.กว่างซี 
"....มหาวิทยาลัยกว่างซี มีปัจจัยหลายด้านคล้ายคลึงประเทศไทย  และเราทราบมาว่า มหาวิทยาลัยกว่างซี เคยเป็นแกนนำ การรวมตัวของมหาวิทยาลัยต่างๆของประเทศจีน และหน่วยงานของรัฐในการประชุมแก้ปัญหาความยากจนระดับชาติมาแล้ว"

การแก้ปัญหาความยากจนของคนไทย เป็นจริงเป็นจังขึ้นเมื่อ 4 ปีที่แล้ว หรือนับตั้่งแต่เริ่มแรกของการตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม หรืออว. ซึ่งเป็นการผนวกรวมงานวิจัยที่เคยอยู่บนหิ้งในมหาวิทยาลัย มาสู่โลกความเป็นจริง และสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาประเทศได้จริง ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการ อว.คนแรก ได้ริเริ่มตั้ง “หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) “ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยคอมมานโด ทะลุทะลวงให้งานวิชาการและงานวิจัย นำไปสู่การพัฒนาหรือแก้ปัญหาด้านต่างๆของประเทศ โดยมีเป้าหมาย “ขจัดความยากจนและยกระดับฐานะทางสังคมของคนกลุ่มนี้ “ภายในปี2570

และการลงมือ เริ่มต้นสร้างกลไกแก้ปัญหาคนจนในประเทศไทย จึงเกิดขึ้น โดยบพท.ได้ใช้ประเทศจีนเป็นต้นแบบ การดำเนินงาน เริ่มจากการสำรวจหาตัวเลขคนจนที่แท้จริงในประเทศไทย “ว่าอยู่ที่ไหน มีจำนวนเท่าไหร่และสาเหตุของความจนว่ามาจากอะไร  ” รวมทั้งมีการสอบทานตัวเลขเพื่อให้ได้ตัวลขที่ถูกต้อง  ตลอดจนการส่งต่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ช่วยเหลือแก้ปัญหา  

ผลการสำรวจ พบว่า  20 จังหวัด ซึ่งดัชนีความก้าวหน้าของคนไทย ปี2562 ระบุว่า  มีรายได้ภาคครัวเรือนต่ำที่สุด  ได้แก่ ปัตตานี อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน ชัยนาท สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์  บุรีรัมย์ นราธิวาส อุบลรายธานี ลำปาง พัทลุง  นครราชสีมา ร้อยเอ็ด พิษณุโลก เลย และยะลา โดยตัวเลขคนจนข้อมูลภาครัฐระบุว่า20จังหวัด มีคนจน 3.3แสนคน แต่บพท.สำรวจกลับเจอตัวเลขคนจนมากถึง  1.08 ล้านคน หรือค่าเฉลี่ย ตัวเลขคนจนของบพท.มากกว่าภาครัฐประมาณ 1เท่าตัว โดยบางพื้นที่ภาครัฐระบุว่ามีคนจน 8,000 คน แต่บพท.สำรวจพบว่ามีกว่า หมื่นคน เป็นต้่น

แม้ว่าที่ผ่านมา จะมีการส่งตัวความช่วยเหลือคนจนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้วิชาการโดยใข้มหาวิทยาลัยเครือข่าย เข้าไปช่วยพัฒนาใน20จังหวัด รวมทั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 7สถาบัน และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (วว.) เข้าไปช่วยแก้ปัญหาความยากจน  โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ถือว่าว่าจะเป็นโมเดล แก้ปัญหา หรือเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่นๆ

มร.Xiao Jian Zhuang รองอธิการบดี ม.กว่างซี สาธารณรัฐประชาชนชนจีน 

แต่นั่นยังไม่เพียงพอ หลังจากดำเนินงานมา 4ปี ล่าสุดบพท. ได้ขมวดงานแก้ปัญหาความยากจนให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายแก้ปัญหาความยากจนให้สำเร็จในปี 2570 ในพื้นที่เป้าหมายอย่างจ.กาฬสินธุ์   โดยทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่างซี   แห่งประเทศจีน โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนกับมหาวิทยาลัยกว่างซี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเปิดประตูเชื่อมโยงองค์ความรู้แก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จแม่นยำ

นายฉัตรชัย  พรหมเลิศ ประธานกรรมการบริหารบพท. กล่าวการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ระหว่าง บพท. กับ มหาวิทยาลัยกว่างซี  นับเป็นจุดเริ่มต้นของการประสานความร่วมมือกันของหน่วยราชการ 2 ประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมร่วมกัน เพื่อนำสู่การแก้ปัญหาความยากจนให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน บนพื้นฐานความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน

“แต่เหตุผลสำคัญที่บพท.เลือกทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่างซี มณฑลกว่างซี เป็นเพราะมณฑลกว่างซี เพราะกว่างสี เป็นเขตปกครองตนเอง ใกล้กับเวียดนาม  ทางออกทะเลของอาเซียน ไทยมีความใกล้เคียงกันมากกับกว่างสีหลายด้าน ทั้งด้านวัฒนธรรมคนจ้วง ที่มีความใกล้เคียงคนไทย หลักคิดความเชื่อค่านิยม ตลอดจนสภาพภูมิประเทศ ขนาดพื้นที่ รวมทั้งขนาดประชากร 60 ล้านคนพอๆกับเรา  อาชีพหลักเขาปลูกอ้อยคิดเป็นพื้นที่ 14% รวมทั้งปลูก มันสำปะหลัง และเกษตรอื่นๆ มีธุรกิจรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนหลายราย ซึ่งภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว บพท. กับมหาวิทยาลัยกว่างสี เราจะนำความรู้ด้านการแก้ปัญหาความยากจนไปใช้ในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ 7 จังหวัด เป็นพื้นที่นำร่อง ได้แก่กาฬสินธุ์ ลำปาง มุกดาหาร ร้อยเอ็ด พัทลุง ปัตตานี และยะลา  ก่อนที่จะขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศต่อไป”

ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา

ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. ชี้แจงเพิ่มเติมว่าสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตั้งมั่นบนเจตนารมณ์ร่วมกันในการเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาความยากจนระหว่างฝ่ายต่างๆ ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด องค์ความรู้ ประสบการณ์ เงื่อนไขความสำเร็จ โครงสร้างพื้นฐาน และกระบวนการในการแก้ไขปัญหาความยากจนระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตลอดจนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่างสถาบันการวิจัย เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือร่วมกันแบบทวิภาคี ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน

ผอ.บพท.กล่าวอีกว่า ขอบเขตความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนระหว่าง บพท. กับ มหาวิทยาลัยกว่างซี ครอบคลุม 4 มิติคือ1.มิติของความร่วมมือกันด้านองค์ความรู้ และบัญชีรายชื่อนวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีที่เหมาะสม ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับปัญหาความยากจน  โดยการทำให้การแก้ปัญหาความยากจนเป็นวาระแห่งชาติ  2.มิติของผลผลิต ห่วงโซ่คุณค่า และกระบวนการในการแก้ปัญหาความยากจน 3. มิติต้นแบบพื้นที่หรือหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาความยากจน อย่างน้อย 1 แห่ง 4. มิติความร่วมมือด้านอื่นๆที่เห็นชอบร่วมกัน

“ที่ประเทศจีนมีหลายมหาวิทยาลัยที่เข้าไปแก้ปัญหาความยากจนประเทศเขา เช่น ก่อนหน้านี้เราเคยไปดูงาน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง  แต่พบว่าบริบทแตกต่างจากไทยมาก แต่สำหรับ มหาวิทยาลัยกว่างซี มีปัจจัยหลายด้านคล้ายคลึงประเทศไทย  และเราทราบมาว่า มหาวิทยาลัยกว่างซี เคยเป็นแกนนำ การรวมตัวของมหาวิทยาลัยต่างๆของประเทศจีน และหน่วยงานของรัฐในการประชุมแก้ปัญหาความยากจนระดับชาติมาแล้ว”ดร.กิตติกล่าว

ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวด้วยว่าการลงนามบันทึกความเข้าใจกับมหาวิทยาลัยกว่างซี แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน นับเป็นปฐมบทของการเปิดประตูเชื่อมโยงองค์ความรู้แก้ปัญหาความยากจนของประชาคมนักวิจัยไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน  ซึ่งความร่วมมือนี้ เราจะได้ประโยชน์จากนโยบายของจีน ได้แก่ 1.โดยการทำให้การแก้ปัญหาความยากจนเป็นวาระแห่งชาติ  2.การทำแผนชี้เป้าคนจน 3.การสร้างอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้คนจนมีรายได้ 4. การออกแบบการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะโมเดล 1เจ้าหน้าที่ 1ครัวเรือน ของจีน ที่รัฐบาลไทยเพิ่งประกาศใช้เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นพี่เลี้ยงสร้างภูมิคุ้มกันให้กับครัวเรือนที่เข้ารับการแก้ปัญหาความยากจน 5.การวัดผลที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับของไทย

“ในเรื่องกาารแก้ปัญหาความยากจนนี้ บพท. มีความคาดหวังและตั้งใจจะต่อยอดขยายผลชุดความรู้จากงานวิจัยแก้จน ออกไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนในประเทศเพื่อนบ้านของเรา” ผอ.บพท.กล่าว.

โค้ดคำพูด

….มหาวิทยาลัยกว่างซี มีปัจจัยหลายด้านคล้ายคลึงประเทศไทย  และเราทราบมาว่า มหาวิทยาลัยกว่างซี เคยเป็นแกนนำ การรวมตัวของมหาวิทยาลัยต่างๆของประเทศจีน และหน่วยงานของรัฐในการประชุมแก้ปัญหาความยากจนระดับชาติมาแล้ว”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อัครเดช' โวนักลงทุนจีนรายใหญ่ด้านพลังงานทางเลือกสนใจลงทุนในไทย

ประธานกมธ.อุตสาหกรรมเผยนักลงทุนจีนรายใหญ่ด้านพลังงานทางเลือกขอเข้าพบ กมธ.แจ้งความประสงค์อยากเข้ามาลงทุนด้านพลังงานทางเลือก ย้ำเป็นโอกาสดีของไทย