ตัดตอนผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ฟื้นฟูคืนสู่'บ้าน'

กรณีฆาตกรรม’ป้ากบ’ บัวผัน ตันสุ  ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  โดยกลุ่มเยาวชนคึกคะนอง ซึ่งป้ากบอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” อาศัยฟุตบาทเป็นที่หลับนอน  จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนสำคัญและขยายปัญหาที่เรื้อรังมานานให้ชัดเจน  โดยเฉพาะมุมมองของคนในสังคมที่มีต่อคนไร้บ้านและผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่สาธารณะที่มักถูกว่า ไม่ใช่คนปกติ เป็นคนอันตราย

ผลการแจงนับคนไร้บ้านทั้งประเทศไทยในปี 2566 จากความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย มูลนิธิอิสรชน และมูลนิธิกระจกเงา มีข้อมูลที่น่าสนใจ  พบคนไร้บ้านทั้งในพื้นที่สาธารณะและศูนย์พักคนไร้บ้านแบบเปิดของภาคประชาสังคมรวม 2,499 คน

7 จังหวัดที่มีคนไร้บ้านมากที่สุดของประเทศ อันดับ 1  กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,271 คน ชลบุรี  106 คน รองลงมาเชียงใหม่ ขอนแก่น กาญจนบุรี นครราชสีมา และสงขลา ตามลำดับ คนไร้บ้านส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยกลางคนมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ โดยพบช่วงวัยกลางคนมากถึงร้อยละ 56.8 ถือเป็นตัวเลขที่เกินครึ่งของจำนวนคนไร้บ้านที่พบทั้งหมด  คนไร้บ้านสูงอายุมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20.1 ของคนไร้บ้านในทุกช่วงอายุ

กลุ่มคนเร่ร่อนไร้บ้านจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนในพื้นที่สาธารณะ 19% ที่ยากต่อการเข้าถึงบริการสาธารณสุข กลุ่มคนเหล่านี้รัฐต้องมีระบบกลไกในการรักษาดูแล  รวมถึงศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นคนไร้บ้านอย่างจริงจัง

มีความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนผ่านพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “ การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่ง”  ระหว่างกรมสุขภาพจิต กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  และมูลนิธิกระจกเงา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนข้างถนน สืบค้นประวัติ ครอบครัว ภูมิลำเนาเดิมของคนไร้บ้าน เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูดูแลกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านเหล่านี้ ปลายทางหวังจะส่งคืนพวกเขากลับบ้าน

นพ.ศิริศักดิ์ ธิติดิลกรัตน์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากผลดำเนินงานและงานวิจัย พบว่า ยังมีผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนไร้ที่พึ่งขาดโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุข มีหลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนพัฒนาระบบเฝ้าระวังช่วยให้สามารถระบุตัวตนผู้ป่วยเร่ร่อนในที่สาธารณะได้ และนำสู่กระบวนการบำบัดรักษา รวมถึงการตามหาญาติหรือส่งกลับสู่บ้านได้  ถ้าทุกหน่วยงานได้ประสานและดำเนินงานร่วมกันจะดำเนินงานได้คล่องตัว ประสานและแลกเปลี่ยนข้อมูลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างไร้รอยต่อ เกิดประโยชน์ต่อระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชของไทย ทั้งผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วยจิตเวช ปัจจุบันมี 20 โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต บำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวช และรพ.ทั่วไปที่รับรักษาในทุกจังหวัด ซึ่งจำนวนมากขึ้น เมื่ออาการทุเลาแล้วต้องผ่องถ่ายให้ พม. ดูแลต่อ

สุชาดา หมื่นกล้า รองอธิบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กล่าวว่า การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งต้องบูรณาการ 5 หน่วยงาน ปัจจุบันมีคนป่วยจิตเวชเร่ร่อนเพิ่มมากขึ้น  ต้องช่วยกันขับเคลื่อนงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน สถานสงเคราะห์มีไม่มาก ไม่สามารถรองรับกลุ่มคนป่วยจิตเวชเร่ร่อนจำนวนมากได้  คนในชุมชนต้องช่วยกันดูแล คนในชุมชน ถ้าช่วยไม่ได้ ประสานภาครัฐ เราอยากเห็นการประสานงานนำคนไร้บ้านหรือ ผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ได้ออกไปอยู่ในชุมชน มูลนิธิกระจกเงาเป็นอีกแรงร่วมตามหาญาติ เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้กลับไปอยู่ในชุมชน

พิสิฐ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่า  สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งและสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีทั้งหญิง-ชาย   มีผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งเข้ามาฟื้นฟูหลังบำบัดรักษา รวมจำนวน 1,300 คน ถามว่าล้นมั้ย ล้น   การบูรณาการความร่วมมือนี้จะเน้นสืบค้นผู้รับบริการอยู่ที่ไหน วันนี้จำเป็นจะต้องสร้างให้เขากลับเป็นคนปกติเพื่อกลับไปอยู่กับครอบครัว แต่ในระดับพื้นที่ ครอบครัว ชุมชน ต้องยอมรับ  กลุ่มคนเหล่านี้ถูกผลัก  ออกมาจากครอบครัว ไม่ใช่ไม่รัก แต่หวาดกลัวที่จะอยู่ร่วมกับผู้ป่วยจิตเวชเกรงจะถูกทำร้าย เพราะมีข่าวลูกป่วยจิตเวชทำร้ายพ่อแม่ ผู้ป่วยจิตเวชทำร้ายประชาขน MOU นี้ เป็นจุดเริ่มต้นทำงานร่วมกัน จะต้องสาวลึกให้พวกเขากลับไปอยู่กับครอบครัวได้  

ด้าน สิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า มูลนิธิฯ ทำงานติดตามคนหายและการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อน ซึ่งสองเรื่องนี้มีปัญหาหนักและเกี่ยวพันกัน เช่น คนป่วยจิตเวชเร่ร่อน ส่วนใหญ่พบว่ามาจากคนป่วยจิตเวชหายออกจากบ้าน  ส่วนน้อยมากที่แปรสภาพจากคนเร่ร่อนไร้บ้าน พบหลายเคส คนหายจากจ.สมุทรปราการไปพบที่ จ.กาญจนบุรี การให้ความช่วยเหลือพวกเขาออกจากข้างถนน เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ตัดวงจรคนไร้บ้าน ยิ่งมีระบบและกลไกที่มีประสิทธิภาพเข้าสู่การรักษา เขามีโอกาสกลับคืนสู่ครอบครัวได้เร็วมากเท่านั้น  MOU เป็นเรื่องสำคัญจะสร้างโอกาสกลับคืนสู่บ้านให้คนป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งและทำให้มนุษย์คนหนึ่งได้รับการรักษาที่รวดเร็วตามสิทธิที่ควรได้รับ

การส่งผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนกลับคืนครอบครัวหรือชุมชน มีข้อกังวล หน.โครงการผู้ป่วยข้างถนน กล่าวว่า หากผู้ป่วยไม่ยอมรับการป่วยจิตเวชของตัวเอง  หากไม่กินยาต่อเนื่อง ไม่เกิน 2 เดือน จะกลับสู่อาการเดิม ถัดมาสภาพแวดล้อมในชุมชนเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก เช่น จำหน่ายเหล้า  ขายยาเสพติด หรือมีเพื่อนผู้ป่วยจิตเวชที่ยังเสพยาอยู่ เมื่อกลับบ้าน ไปหาเพื่อน กลับสู่ผู้ป่วยจิตเวชาจากยาเสพติด อีกเรื่องศักยภาพการดูแลของครอบครัวสำคัญ บางรายมีฐานะก็ยังยาก เพราะไม่ใช้เงินในการดูแลอย่างเดียว ต้องใช้เวลาและการดูแลที่ต่อเนื่อง พบว่า ผู้ป่วยจิตเวชที่ออกมาเร่ร่อนหรือกลับสู่วงจรป่วยซ้ำ มาจากครอบครัวยากจน  ต้องทำงานหาเงิน ไม่มีเวลาดูแล การแก้ปัญหารัฐและสังคมต้องสนับสนุนให้ครอบครัวมีศักยภาพมากขึ้น เช่น การมีศูนย์ฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นคนไร้บ้าน รับฝากแบบ Day Care

“ เมื่อฟื้นฟูดูแลแล้ว พอกลับชุมชน จะถูกเรียกว่า “ผีบ้า” ไม่มีใครอยากสุงสิง ยุ่งเกี่ยว บางคนกลับไปกินเหล้า ไม่กินยา ดูแลตัวเอง กลับไปป่วย จำเป็นต้องมีพื้นที่รองรับการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ในฐานะมนุษย์ที่ยืนด้วยศักดิ์ศรีของตนเองได้ สังคมขาดสิ่งนี้ ที่มูลนิธิฯ มีผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนอาการรุนแรง เราพาสู่กระบวนการรักษาดูแลตัวเอง สัมภาษณ์เชิงลึกเขาออกจากบ้านเพื่อดูแลตัวเอง  หนีจากพ่อที่กดดัน พอสิ้นสุดการรักษา เราให้งานคัดแยกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิก ผ่านโครงการจ้างวานข้า มีรายได้ 500 บาทต่อวัน ทำงาน 6 ชั่วโมงต่อวัน มีรายได้ พึ่งพาตัวเอง และจัดการเรื่องห้องเช่า มีกระบวนการเยี่ยมห้อง ดูแลเรื่องยา ไม่ให้เขากลับสู่วงจรเร่ร่อนและผู้ป่วยจิตเวช สังคมต้องช่วยประคอง “สิทธิพล กล่าว

ด้าน นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย คณะกรรมการกำกับทิศทางการสร้างเสริมสุขภาวะคนไร้บ้านและคนจนเมือง สสส. กล่าวว่า  การทำงานของ พรบ.สุขภาพจิต ส่งผลให้มีผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งค้างที่สถานสงเคราะห์มากขึ้นๆ ทั้งที่บทบาทหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวชปกติ กลายเป็นต้องดูแลผู้ป่วยจิตเวชมากถึง 80% ของคนที่ต้องดูแลในสถานสงเคราะห์ทั้งหมก  เราไม่ค่อยเห็นผู้ป่วยจิตเวชคลุ้มคลั่งเดินตามถนน แต่ปัญหาสังคมจะปล่อยให้ปัญหาเป็นเช่นนี้จริงหรือ ผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนมาจากครอบครัว หลุดหายออกจากบ้านด้วยสาเหตุต่างๆ และกลุ่มผู้ป่วยค้างที่ รพ.จิตเวชทั่วประเทศ ทุกวันนี้คนหายแจ้งโรงพักน้อยกว่ามูลนิธิกระจกเงา ภายใต้ MOU นี้ เราค้นหาผู้ป่วยจิตเวชที่มีโอกาสจะกลายเป็นจิตเวชเร่ร่อน หาทางป้องกันแต่ต้นเหตุ  ครอบครัวอาจไม่มีศักยภาพดูแล กรมสุขภาพจิตเคยทดลองระบบชุมชนดูแลผู้ป่วยจิตเวช มีต้นแบบในหลายพื้นที่  สกัดผู้ป่วยจิตเวชก่อนเป็นคนไร้บ้าน

การดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้ที่พึ่งหากได้รับการสนับสนุนจากสังคมและให้โอกาสจะทำให้พวกเขาตั้งหลักชีวิตได้อีกครั้ง

ภาพโดยมูลนิธิกระจกเงา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย

วิจัยพบสังคมไทยเหลื่อมล้ำทุกมิติ สื่อสารในครอบครัวลดช่องว่างได้

ผลสำรวจเด็กและเยาวชนไทยปลอดภัยจากความรุนแรงออนไลน์ รั้งท้ายโลกเป็นอันดับที่ 29 เหนือกว่าอุรุกวัยเพียงประเทศเดียวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบ 30 ประเทศทั่วโลกเมื่อปี 2022

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ