กรมสุขภาพจิต ประสานรร.ผลิตแพทย์ แก้ปัญหาสุขภาพจิต 'นักศึกษาแพทย์ 'พบมีความเครียด กดดันหลายอย่าง

2 ก.พ. 2567- กรมสุขภาพจิตจัดประชุมการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตในนิสิต/นักศึกษาแพทย์ และวิชาชีพแพทย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มแพทย์ โดยเฉพาะการป้องกันการฆ่าตัวตาย พร้อมมุ่งเป้าบูรณาการประเมินดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมหลายหน่วยงาน อาทิเช่น แพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย โรงเรียนแพทย์ทั้ง 23 แห่ง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


นพ. พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายในนิสิตนักศึกษาแพทย์ถึงแม้จะไม่มีข้อมูลสถิติแน่ชัดแต่ก็มีข่าวออกมาเรื่อยๆ เนื่องจากนิสิตนักศึกษาแพทย์จะมีปัญหากดดันหลายเรื่อง เช่น การปรับตัวต่อการเรียน การปรับตัวต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ การปรับตัวต่อรุ่นพี่และอาจารย์ ซึ่งกรมสุขภาพจิต ได้ร่วมมือกับคณะแพทย์ศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนานวัตกรรมระบบ DMIND ในระบบหมอพร้อม เพื่อให้คำปรึกษาผู้ประสบปัญหาโรคซึมเศร้า โดยคัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ในแอปพลิเคชั่นหมอพร้อม แม่นยำ เข้าถึงง่าย ใช้สะดวก ช่วยลดภาระ ซึ่งการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพจิตนิสิต นักศึกษาแพทย์ และแพทย์ ต้องใช้ข้อเสนอแนะจากภาคเครือข่ายและมีการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อค้นหา เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและการป้องกันฆ่าตัวตาย โดยใช้ทั้งระบบปกติและระบบออนไลน์ รวมทั้งจำแนกความรุนแรงเพื่อวางแผนการดูแลรักษา ติดตามเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ระบบเพื่อนช่วยเพื่อน พัฒนาอาจารย์เพื่อช่วยเหลือเด็ก รวมทั้งพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลการฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตายของนิสิต ต่อด้วย DMIND นักศึกษาแพทย์ รวมทั้งวิชาชีพมีความสำคัญเพื่อให้เกิดแผนร่วมกันในการดูแลปัญหานี้

นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เนื่องจากอัตราการฆ่าตัวตายประชาชนอายุ 20-59 ปี สูงขึ้นจากปี 2563 คือ 9.34 ต่อแสน เป็น 9.78 ต่อแสน ในปี 2566 จากการวิเคราะห์เหตุปัจจัยการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2566 พบว่า ประมาณร้อยละ 30 ป่วยโรคทางกายเรื้อรัง และโรคจิตเวชร้อยละ 21.1 ใช้แอลกอฮอล์ ร้อยละ 13.7 ถูกทำร้าย เพียง 1 ใน 4 ของคนใกล้ชิดได้รับสัญญาณเตือนก่อนฆ่าตัวตาย โดยพบเป็นคำพูดหรือส่งข้อความมากที่สุด นิสิตนักศึกษาแพทย์ และแพทย์ เป็นวิชาชีพสำคัญในการดูแลคนเจ็บป่วยที่เผชิญกับความเครียด ความกดดัน และความคาดหวังจากการปฏิบัติงานสูง โดยในระยะสั้นกรมสุขภาพจิตจะร่วมมือกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์ฯ พัฒนาศักยภาพให้นิสิต/นักศึกษาแพทย์ เพื่อให้การดูแลโดยเพื่อน และร่วมมือกับโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และวิศวะ แพทย์ จุฬา คัดกรองซึมเศร้าฆ่าตัวตายในนักศึกษาแพทย์ ร่วมมือกับแพทยสมาคมฯ หาทุนวิจัยให้สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์ทำวิจัยปัญหาสุขภาพจิตในนิสิต/นักศึกษาแพทย์และจะมีการวางแผนระยะยาวต่อไป


นพ. ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การฆ่าตัวตายในวิชาชีพแพทย์ รวมถึงนักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน แพทย์ประจำบ้าน ข้อมูลที่เก็บได้มีน้อยกว่าความเป็นจริงมาก แต่ในกรณีที่เกิดขึ้น ศึกษาจนพบว่า พฤติกรรมการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น เมื่อมีปัจจัยเสี่ยง มีปัจจัยกระตุ้น ด่านกั้นล้มเหลว และปัจจัยปกป้องอ่อนแอ จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเกิดจากประสบปัญหาชีวิตหรือมีเหตุการณ์วิกฤติที่คิดว่าพ่ายแพ้ ล้มเหลว อาการทางจิตกำเริบ พิษจากสารเสพติด ข่าวการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีข้อเสนอแนวคิดว่าควรมีการ 1. เฝ้าระวังสังเกตสัญญาณเตือน 2. เข้าหาพูดคุยและรับฟัง 3. ประเมินสถานการณ์วิกฤติเร่งด่วนและตอบสนองอย่างฉับไว 4. ให้ความช่วยเหลือทันทีและส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สปสช.ยังค้างจ่ายเงินโรงเรียนแพทย์ร่วม 1,000 ล้านบาท แจงยิบติดค้างรพ.ละเท่าไหร่

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) กล่าวถึงกรณี รองเลขาฯ สปสช.ชี้แจงค้างจ่ายเงินโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ รวม 369 ล้านบาท ว่าเกิดจากการเรียกเก็บค่าชดเชย ที่ติดรหัส C และติดรหัส DENY นั้น ไม่ครบถ้วน

กรมสุขภาพจิต ตั้งเป้าดูแลใจผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ลดเครียด ซึมเศร้า

รองโฆษกรบ. เผย กรมสุขภาพจิต วางแผนสนับสนุน ดูแลสุขภาพใจให้ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ตั้งเป้าลดความเครียด ภาวะซึมเศร้า สร้างความเข้มแข็งทางใจ

ตัดตอนผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ฟื้นฟูคืนสู่'บ้าน'

กรณีฆาตกรรม’ป้ากบ’ บัวผัน ตันสุ  ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  โดยกลุ่มเยาวชนคึกคะนอง ซึ่งป้ากบอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” อาศัยฟุตบาทเป็นที่หลับนอน  จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนสำคัญและขยายปัญหาที่เรื้อรังมานานให้ชัดเจน

สธ.ขยายบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ.-รพท.ครบทุกจังหวัด

สธ.ขยายบริการผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ./รพท.ครบทุกจังหวัด นำร่องศูนย์ธัญญารักษ์จังหวัด ครบทุกเขต พร้อมผลิตบุคลากรเติมเต็มระบบบริการ

อัดวัคซีนใจทุกสถานประกอบการ ผลักดันตรวจสุขภาพจิตประจำปี

การสร้างสุข-ลดทุกข์วัยทำงานในสถานประกอบการเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสถานที่ทำงานคือบ้านหลังที่ 2 (Second House) ยิ่งทักษะเดิมของแรงงานไม่สอดรับกระบวนการผลิตแบบใหม่