หมอยงยุทธ ชี้สังคมไทยเรียนรู้อะไรในเรื่องของ ‘หยก’

18 มิ.ย. 2566 – นพ.ยงยุทธ  วงศ์ภิรมย์ศานติ์  ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในประเด็น  สังคมไทยเรียนรู้อะไรในเรื่องของ”หยก”

ปัญหาการเรียนต่อของ”หยก” เยาวชนไทยอายุ ๑๕ ปี ได้ขยายบานปลายไปในสื่อสังคมต่างๆ  จนเข้าไปอยู่ในวังวนของความรู้สึกที่รุนแรง หวาดกลัว หรือกระทั่งหวาดระแวงการแสดงออกของเยาวชนคนหนุ่มสาวในปัจจุบัน  ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง สังคม และการศึกษา  นับเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ทบทวนเพื่อก้าวต่อไปด้วยกัน   เพราะคนรุ่นนี้จะมาเป็นหลักในการพัฒนาและสืบสานสังคมไทยในอนาคต 

ก่อนอื่นควรมาทำความเข้าใจในพื้นฐาน ๒ ด้านของปัญหานี้ ด้านที่ ๑ คือ ความเห็นต่างทางการเมือง  อันที่จริงเราได้รับบทเรียนมากว่า ๑๐ ปี ว่าการปฎิบัติต่อความเห็นต่าง ว่าเป็นเรื่องของความถูกผิด ดีเลว ทำให้สังคมไทยไม่มีทางออก  จนเกิดความรุนแรงและกลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน  ถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับมาเปิดใจกว้างกับความเห็นต่าง  ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นพลเมือง  ที่มีความปรารถนาดีต่อสังคม  ทำให้เรามีทางเลือก มองเห็นปัญหาและทางออกที่หลากหลาย  แทนความเกลียดชัง ( เพราะไปเห็นว่า ถูกผิดดีเลว )   

ความต่างด้านที่ ๒ คือ เรื่องของวัย  ที่จริงผู้ใหญ่ทุกคนก็เคยผ่านการเป็นวัยรุ่นมาแล้ว  จึงไม่ยากที่จะเข้าใจได้ว่า เป็นวัยที่แสวงหาอัตลักษณ์และความเป็นตัวของตัวเอง จนอาจแสดงออกที่ไม่ถูกใจเราได้  แต่ด้วยการฟังและให้ความสำคัญกับความมีอยู่ของตัวตนและความคิดเห็นของเขา  ก็จะมองข้ามการแสดงออกบางอย่างที่ดูเหมือนรุนแรงไปได้  ในที่สุดเขาก็จะกลับมามีบทบาทในทางสร้างสรรค์   ในทางตรงข้าม ถ้าฝ่ายที่เป็นผู้ใหญ่กว่า  ใช้วิธีไม่ยอมรับและกดดัน  ความข้ดแย้งก็จะไปในทางรุนแรงมากขึ้น

ยิ่งต่างฝ่ายมีสังคมและสื่อสังคมของตนเอง  ก็ทำให้บรรยากาศเต็มไปด้วยความเกลียดชังและข่าวลวงต่างๆ  อย่างที่เราสัมผัสได้ในเวลานี้ 

ก่อนอื่นผมจึงเสนอว่า ในสื่อสังคมเราต้องช่วยกัน ๒ ไม่ (ไม่ผลิตและไม่ส่งต่อ) ๑ เตือน (ด้วยเหตุผล)   เพื่อให้สังคมไทยกลับมาอยู่บนพื้นฐานของการเปิดรับความเห็นต่างโดยไม่เกลียดชัง เพื่อที่จะทำให้สังคมไทยเดินหน้าต่อไปได้

ส่วนการแก้ปัญหากความ”เห็นต่าง” กับเยาวชน  สถานศึกษาควรใช้มาตราการเชิงป้องกัน ด้วยการสื่อสารและสร้างความเข้าใจ ระหว่าง ๓ ฝ่าย (โรงเรียน  ผู้ปกครอง และนักเรียน) ผ่านกลไกต่างๆ เช่น home room  ประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมนร.นศ. ด้วยบรรยากาศของการเปิดรับและเคารพซึ่งกันและกัน

กรณีที่บานปลายไปแล้ว อย่างที่เป็นข่าว  ควรให้สายวิชาชีพ ที่จะทำงานโดยไม่มีอคติทางเมือง เข้ามาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย  สร้างความเข้าใจระหว่าง ๓ ฝ่าย  โดยเฉพาะนักสังคมสงเคราะห์ของกระทรวงพม.  และนักวิชาชีพสุขภาพจิตของกระทรวงสาธารณสุข

สำคัญที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบันคือ ช่วยกันอย่าปล่อยให้สื่อสังคมสร้างความเกลียดชัง  ที่ทำให้สังคมไทยเสี่ยงต่อความรุนแรง  ด้วยการไม่ส่งต่อ และช่วยเตือนการส่งข้อความที่รุนแรง และข่าวลวงด้วยครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลับบ้านแล้ว 'น้องหยก' ประกาศยุติเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง

หยก ธนลภย์ เยาวชนนักเคลื่อนไหวทางการเมือง โพสต์ข้อความในนเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า "ยุติการเป็นนักกิจกรรมทางการเมืองแล้วค่าา อยู่กับที่บ้านเรียบร้อย

กรมสุขภาพจิต ตั้งเป้าดูแลใจผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ลดเครียด ซึมเศร้า

รองโฆษกรบ. เผย กรมสุขภาพจิต วางแผนสนับสนุน ดูแลสุขภาพใจให้ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ตั้งเป้าลดความเครียด ภาวะซึมเศร้า สร้างความเข้มแข็งทางใจ

ตัดตอนผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ฟื้นฟูคืนสู่'บ้าน'

กรณีฆาตกรรม’ป้ากบ’ บัวผัน ตันสุ  ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  โดยกลุ่มเยาวชนคึกคะนอง ซึ่งป้ากบอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” อาศัยฟุตบาทเป็นที่หลับนอน  จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนสำคัญและขยายปัญหาที่เรื้อรังมานานให้ชัดเจน

'วราวุธ' เสียใจเหตุเด็ก ม.2 แทงเพื่อนดับ วอนฟังทางการสรุปก่อน

'วราวุธ' เศร้าเหตุสลด นักเรียน ม.2 โรงเรียนย่านพัฒนาการ แทงเพื่อนเสียชีวิต วอนประชาชนอย่าเพิ่งตัดสิน รอฟังทางการก่อนว่าเป็นเด็กพิเศษหรือไม่