Soft Power'กำฟ้าไทยพวน' กระตุ้นเศรษฐกิจ

บ้านทุ่งโฮ้ง ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จะ.แพร่  เป็นหมู่บ้านของชาวไทยพวนที่ถูกกวาดต้อนและอพยพมาจากแขวงเมืองเชียงขวางประเทศลาว เมื่อราวพ.ศ. 2360-2380 มาตั้งถิ่นฐานจนถึงปัจจุบัน โดยมีประเพณี กำฟ้า หมายถึง การนับถือสักการบูชาฟ้า การแสดงกตเวทิตาต่อฟ้าที่ได้คุ้มครองให้มีอายุยืนยาว ให้อยู่ดี กินดี มีฝนตกตามฤดูกาล มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ โดยชาวไทยพวนทุกคนจะหยุดทำงานและจะมีกิจกรรมร่วมกัน คือ การ ทำบุญตักรบาตรในตอนเช้า การละเล่นในตอนกลางคืน และพบปะสังสรรค์ระหว่างเครือญาติด้วยกัน ซึ่งจะจัดเป็นงานประเพณีสุดยิ่งใหญ่ในวันขึ้น 3 เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์อันทรงคุณค่าที่จะแสดงถึงวิถีไทย ประเพณีท้องถิ่นของไทย

กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.)  ได้คัดเลือกประเพณีกำฟ้าไทยพวน จ.แพร่ ให้เป็น 1 ใน 6 เทศกาลประเพณี เพื่อยกระดับสู่งานระดับชาติและนานาชาติ เนื่องจากเป็นประเพณีที่มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ เชิดชูคุณธรรมเรื่องความกตัญญู ความดีงาม เป็นการสักการบูชาฟ้า และรำลึกถึงบรรพบุรุษชาวไทยพวน 

ปีนี้งานประเพณีกำฟ้าไทยพวน จ.แพร่ จัดระหว่างวันที่  7-12 ก.พ. ที่ผ่านมา  ภายใต้คอนเซ็ปต์  “ถนนสายตุง ฮุ่งเฮืองไทยพวน”  ชวนแต่งหม้อห้อม ชมตุงหม้อห้อม 1,500 ตุง บวงสรวงเจ้าชมพู เจ้าเมืองพวน ตื่นตาตื่นใจกับขบวนแห่วิถีชีวิตไทยพวนของ 9 ชุมชน  โดยมีนายสุรพล เกียรติไชยากร ที่ปรึกษา รมว.วธ. เป็นประธานเปิด พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ.  คำพัน อั่นลาวัน เอกอัครราชทูตลาว ประจำไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ลานหน้าโรงเรียนบ้านทุ่งโฮ้ง (อภิวังวิทยาลัย) และลานข้างสนามกีฬาเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่

นายสุรพล เกียรติไชยากร กล่าวว่า การจัดงานเทศกาลประเพณีเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่สำคัญของ วธ. ที่จะขับเคลื่อน Soft Power สร้างเสน่ห์วิถีไทย ครองใจคนทั้งโลก ตามนโยบายรัฐบาล โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับงานวัฒนธรรมเดิมให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และส่งเสริมคุณค่าเทศกาลประเพณีของชาติและงานด้านวัฒนธรรมอื่นๆ ให้เป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก สร้างงานสร้างรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทยในเวทีนานาชาติ 

ด้านนายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ปัจจุบันบ้านทุ่งโฮ้ง มี 7 หมู่บ้าน มีประชากรกว่า 6,000 คน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายชาติพันธุ์ไทยพวน มีอัตลักษณ์ด้านภาษา การแต่งกาย วิถีชีวิต อาหารการกิน ประเพณี และวัฒนธรรมที่โดดเด่น นอกจากนี้ ชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง มีความเชื่อเรื่องพิธีกำฟ้า ซึ่งเป็นการสักการบูชาฟ้า ที่บันดาลให้พืชผลไร่นา ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ และสักการบูชาฟ้าที่ปกปักษ์รักษาเจ้าชมพู เจ้าเมืองพวน บรรพบุรุษของชาวไทยพวน จึงสร้างอนุสาวรีย์เจ้าชมพู ที่บ้านทุ่งโฮ้ง แห่งนี้ ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์เจ้าชมพูแห่งเดียวในไทย และจัดประเพณีกำฟ้าเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นประเพณีที่โดดเด่นของจังหวัด ทั้งยังมีภูมิปัญญาการทำผ้าหม้อห้อม ที่ผลิต จำหน่าย และส่งออกไปทั่วประเทศและต่างประเทศอีกด้วย

สำหรับบรรยากาศในงานเทศกาลประเพณีเต็มไปด้วยสีสันสุดคึกคักงดงามตั้งแต่ริมถนนเข้างานตลอดสองข้างทางที่ประดับไปด้วยตุงหม้อห้อมนับพัน เมื่อมาถึงจะพบกับการนำเสนอความเป็นอัตลักษณ์ และการจำลองชุมขน อาทิ ชุมชนร่มโพธิ์ทอง ที่ได้จัดจำลองงานประเพณีทำบุญกิ๋นสลาก และการบรรเลงดนตรีพื้นบ้าน มาต่อชุมชนสามัคคี ที่มีการจำลองบรรยากาศท่องเที่ยวชุมชน ทำสะพานไม้เป็นจุดถ่ายรูป พร้อมกับโชว์การทำข้าวแตน ซุ้มใกล้ๆ ที่ชุมชนทุ่งเจริญ จัดเต็มด้วยการสาธิตภูมิปัญญาการทอผ้าหม้อห้อม และจำหน่ายสินค้าผ้าหม้อห้อม ส่วนซุ้มชุมชนนพเก้าสาธิตการฝัดข้าว และตำข้าว รวมถึงสาธิตการสานเครื่องมือเครื่องใช้ และการตีเหล็ก และชุมชนหมู่ที่ 2 จำลองวิถีชีวิตการทำข้าวแตน คั่วข้าวตอก และคนข้าวเหนียวแดง อาหารพื้นถิ่นของที่นี่

     นอกจากนี้บนเวทีกลางยังมีการแสดงพื้นบ้านจากเหล่ากิจกรรมการประกวด ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หม้อห้อม สินค้าสำคัญจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของตำบลทุ่งโฮ้ง อาทิ การประกวดอาหารพื้นเมือง, การประกวดนาฏศิลป์ฟ้อนแอ่น, แฟชั่นโชว์ผ้าหม้อห้อมต่อยอดภูมิปัญญาสู่สากล การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมที่ตระการตา ตลอดจนการประกวดเทพีกำฟ้า หนุนเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไทยพวนให้สืบทอดไปสูคนรุ่นหลังต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

เที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี ชิล ชิม ช้อป ครบครัน

24 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

เที่ยวมิวเซียม ยลวัง ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์242ปี

เปิดงาน”ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” อย่างยิ่งใหญ่และอลังการ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบ 242 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  งานนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน

บวงสรวงเทพยดางาน'ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์'

19 เม.ย.2567 - เวลา 08.19 น.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเทพยดางาน “ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” โดยมี พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง