อังกฤษหนุนวิจัยไทยมอบทุน319 ล้านปอนด์ยกระดับวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี-นวัตกรรม

มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย

ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ประเทศไทยยังให้ความสำคัญกับงานวิจัยไม่มาก ปัจจุบันมีงบประมาณเพื่อการวิจัย ประมาณ 1% ของจีดีพี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2% ของจีดีพี ในปี 2570 ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งการที่มีการสนับสนุนการวิจัยไม่มากเท่าที่ควร  ส่งผลต่อยกระดับ ความสามารถแข่งขันของประเทศ ในปัจจุบันและอนาคต

ดังนั้น จึงเป็นการดี ที่นอกจากจะมีทุนส่งเสริมวิจัยในประเทศแล้ว ยังได้ทุนอุดหนุนจากประเทศด้วย ก็จะทำให้การวิจัยไทยรุดหน้าดียิ่งขึ้น   ล่าสุด ทางร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ผนึกกำลังร่วมสร้างขีดความสามารถ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างไทย – สหราชอาณาจักร เพื่อเป้าหมายนำพาทั้งสองประเทศไปสู่ความสำเร็จด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ผ่าน “กองทุนความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมระหว่างประเทศ “International Science Partnerships Fund หรือ ISPF)”  เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับประเทศไทยผ่าน Delivery partners ของสหราชอาณาจักร และประเทศไทย

สำหรับกองทุน  ISPF ได้รวมกับกองทุน  Newton Fund, Global Research Challenge Fund (GCRF) และ Fund for International Collaboration (FIC) เข้าด้วยกัน ถือเป็นโอกาสที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรมอบให้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศไทย โดยในปัจจุบันจะมีหน่วยบริหารและจัดการทุนทั้ง 9 แห่ง (Program Management Unit: PMU) ซึ่งเป็น delivery partners ของฝั่งไทย ซึ่ง PMU ทั้ง 9 แห่งนี้มีการทำงานที่สอดคล้องกับโปรแกรมภายใต้ทุน ISPF ที่จะเป็นพันธมิตรในการส่งมอบผลงานวิจัยของไทยอีกด้วย

 โดย Department for Science, Research and Technology (DSIT) สหราชอาณาจักร จัดสรรงบประมาณ 319 ล้านปอนด์ ตั้งแต่ปี 2022 – 2025 เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยอังกฤษได้ทำงานร่วมกับประเทศพันธมิตรทั่วโลก ภายใต้ 4 ประเด็นมุ่งเน้นหลักของสหราชอาณาจักร ได้แก่ ความเสี่ยงของโลก (Resilient Planet) การทรานส์ฟอร์มเทคโนโลยี (Transformative Technologies)สุขภาพมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของพรรณพืช – สัตว์ (Healthy People, Animals and Plants) และการสร้างบุคลากรแห่งอนาคต (Tomorrow’s Talent) เพื่อมุ่งพัฒนาและสามารถส่งมอบองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) กล่าวว่า ในภาพรวมของการวิจัยด้านวิทยาศตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทย ที่มีการดูแลภายใต้สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ กองทุนส่งเสริมทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ได้รวบรวมงบประมาณต่างๆ ในการวิจัยของประเทศมาไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นในการพัฒนาต่อยอดและการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศโดยตรงทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ประธาน กสว.  กล่าวต่อว่า ประเทศไทยไม่เพียงแต่เป็นประตูสู่อาเซียน แต่ไทยยังมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ อาทิ ความหลากหลายทางชีวภาพ เราหวังว่าไทยจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งด้านพลังงานยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพิ่มการบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ไทยเป็นผู้นำด้านการแพทย์ อุตสาหกรรม วัสดุศาสตร์ และการเกษตร ดังนั้นนับว่าเป็นโอกาสที่ในการร่วมมือกับสหราชอาณาจักรในด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมมาต่อเนื่องกว่า 6 ทศวรรษ โดยผลงานล่าสุด คือ ความร่วมมือภายใต้กองทุน Newton Fund ระหว่างปี 2557 – 2562 ด้วยการลงทุนในสหราชอาณาจักรจำนวน 46 ล้านปอนด์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศไทย Newton Fund ไม่เพียงแต่เป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญสำหรับนักวิจัยและบุคลากรด้านนวัตกรรมในสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เพื่อยกระดับทักษะและเสริมทักษะความรู้ การศึกษาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงเงินทุนเพื่อพัฒนาระดับนานาชาติ

ด้านรศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหลักในการยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนทุนวิจัยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้เกิดความคุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลพร้อมทั้งสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยการจัดทำแผนปีพ.ศ. 2566- 2570 เพื่อเป็นเครื่องมือกำหนดเป้าหมายการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและพร้อมสำหรับโลกอนาคต ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าให้กับคนไทย ประกอบด้วย4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล

1. การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่าและสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และความพร้อมในอนาคต  2. การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก 3. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมที่ล้ำหน้า เพื่อโอกาสและความพร้อมในอนาคต และ 4. การพัฒนากำลังคนและสถาบันวิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อการก้าวกระโดด

 ผู้อำนวยการ สกสว.  กล่าวอีกว่า สำหรับงบประมาณ ววน. อยู่ที่ประมาณ  15,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งในปีนี้พยายามจะให้รัฐลงทุนเพิ่มขึ้นโดยมีการส่งเรื่องให้พิจารณาไปที่ประมาณ 19,000 ล้านบาท โดยภาคเอกชนมีสัดส่วนการลงทุนสูงกว่าภาครัฐอยู่ที่ประมาณ 70% ซึ่งก็ตั้งเป้าไว้ว่าจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุน R&D เพิ่มขึ้น 2% ภายในปี 2570 และงานวิจัยไทยที่ถูกจัดทำขึ้นกว่า 70% ถูกนำไปใช้งานจริงเพียงแต่อยู่ในชุมชนซึ่งเป็นวงแคบ ดังนั้นหากจะให้เกิดอิมแพคคือการขยายผลได้ทั่วประเทศไทย ดังนั้นก็จะปรับเปลี่ยนเป็นการนำผลงานที่วิจัยเสร็จแล้วมาใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิด Ecosystem ซึ่งงบในปีนี้ก็จะช่วยสนับสนุน  และการสนับสนุนนักวิจัยไทยที่ขณะนี้มีประมาณ 27 คนต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งได้มีการวางเป้าภายใน 5  ปีนี้จะเพิ่มบุคลากรให้ถึง 30 คนต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งถือว่ายังน้อยอยู่เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ประมาณ 40 คน แต่ทั้งนี้ต้องดูปัจจัยด้านการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ซึ่งในบางประเทศมีการลงทุนอยู่ที่ 2-3 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดก็มีถึง 4 % แต่ประเทศไทยยังอยู่ที่ 1% ดังนั้นจึงต้องวางกรอบทิศทางที่จะไปให้ถึง 2% ซึ่งประเทศอังกฤษก็อยู่ที่ระดับ 2-3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีในการร่วมมือกันครั้งนี้

“จึงมั่นใจว่าการทำงานร่วมกันภายใต้กองทุน ISPF ในครั้งนี้ ที่นอกจากจะทุนของอังกฤษก็มีทุนของทางไทยเข้าร่วมสนับสนุนด้วย จะนำความร่วมมือที่แข็งแกร่ง ส่งเสริมการเสริมสร้างขีดความสามารถ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดทิศทาง หรือการแลกเปลี่ยนทางด้านความรู้ด้านวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของทั้งสองประเทศ ซึ่งนักวิชาการไทยก็จะได้ประโยชน์ในการต่อยอดทางด้านวิชาการ เทคโนโลยี วิจัยได้อย่างก้าวกระโดดมากขึ้น โดยโครงการที่จะได้ร่วมมือกันเร็วๆ นี้ คือ ด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการรับมือกับภัยพิบัติทางภูมิอากาศ ที่จะร่วมศักยภาพของนักวิจัยเก่งๆในการทำงานร่วมกัน   เพื่อสิ่งเหล่านี้จะนำพาทั้งสองประเทศไปสู่ความสำเร็จด้านเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อตอบสนองต่อประเด็นฉุกเฉินทั่วโลกได้อย่างแน่นอน” ผู้อำนวยการ สกสว.  กล่าว

ด้าน มาร์ค กูดดิ้ง เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวว่า สหราชอาณาจักรและไทยมีประวัติความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ก่อนจะมีทุน Newton Fund นักวิจัยชาวไทยจำนวนมากเคยศึกษาที่สหราชอาณาจักรและกลับมามีความร่วมมือกับองค์กรและนักวิจัยของสหราชอาณาจักร ในการพัฒนางานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ต่อประเด็นด้านการพัฒนาระดับประเทศและระดับชาติ หวังว่าทุน ISPF จะเป็นหมุดหมายสำคัญด้านความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างสหราชอาณาจักรและไทยต่อไป

โดยไทยมีความร่วมมือกับสหราชอาณาจักรภายใต้ ISPF แล้ว 6 โปรแกรม ได้แก่ 1. International Interdisciplinary Research Projects 2. International Writing Workshops 3. Leaders in Innovation Fellowships (LIF) 4. Transforming Systems Through Partnerships (TSP) 5. MRC SEA One Health and Pandemic Preparedness และ 6. STFC UK-ASEAN Research Infrastructure Partnership นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่คาดว่าจะมีความร่วมมือเพิ่มเติมอีก ได้แก่ 1. International Fellowship Programme 2. Networking award + Parallel activity for alumni 3. Global Health Policy Workshop 4. International career development programme 5. BBSRC/NERC – Sustainable Aquaculture 6. Global Challenges Research 7. Translational Research Partnership 8. Future Research and Policy Change 9. Early Academic Fellowship scheme for Women in Research and Innovation และ 10. Research Partnership

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

5 งานอาร์ตจัดเต็มที่หอศิลป์ร่วมสมัยฯ

ใครอยากเพลิดเพลินใจกับงานศิลปะที่คัดมาแล้วว่าสุดเจ๋ง!  ต้องแวะไปที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินอาร์ตสเปซที่ตอบโจทย์ทั้งสายอาร์ตและมือสมัครเล่นหัดดูงานศิลปะใจกลางเกาะรัตน์โกสินทร์ ซึ่งเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ ชวนมาเสพอาร์ตยาวๆ

เริ่มแล้ว!! ประชุมระดับชาติ PM2.5 ครั้งแรกของประเทศ “สสส.–สกสว.–ศวอ.–มช.–สภาลมหายใจเชียงใหม่” สานพลัง 60 ภาคี เปิดเวทีถกประเด็น “อากาศสะอาด”

ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ

'ชูวิทย์' พร้อมลูกสาวบินไปอังกฤษ รักษาโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย

นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตนักการเมืองชื่อดัง ได้เดินทางไปรักษาโรคมะเร็งตับระยะสุดท้ายที่ประเทศอังกฤษ ก่อนจะเดินทางไปพักรักษาตัวต่อยังโรงพยาบาลที่ประเทศสก็อตแลนด์

‘เอลนีโญ’ลากยาว 3 ปี เตือนไทยรับมือแล้ง

ปรากฏการณ์เอลนีโญในมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มขึ้นแล้ว หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์ลานีญาลากยาวมาอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า จะเกิดความแห้งแล้งมากกว่าปกติ และอาจก่อให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนหลายพื้นที่

สกสว. จับมือ World Bank ถ่ายทอดความรู้ผลักดันการพัฒนานวัตกรรมให้เอกชนไทย

นายกฯ ส่งเสริมความร่วมมือ สกสว. กับ World Bank ถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด ผลักดันการพัฒนานวัตกรรม เสริมสร้างศักยภาพของภาคเอกชนไทย