เมื่อความฉลาดทางปัญญาไม่เพียงพออีกต่อไปในยุคนี้

โครงการทุนการศึกษาของมูลนิธิเอเอฟเอส หรือโครงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงวัฒนธรรม ทีเริ่มแรกกำเนิดในประเทศไทยเมื่อพ.ศ.2505 หรือ 62ปีที่แล้ว ต่อมาพ.ศ.2513 ได้เปลี่ยนเอเอฟเอสประเทศไทยเปลี่ยนเป็น “องค์การนานาชาติ” (AFS International Organization) ให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอื่น ๆ ด้วย อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนกับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา ละติน-อเมริกา ยุโรป และอีกหลายประเทศ ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ จากนั้นเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น “AFS International Intercultural Programs

จุดแข็งของโครงการเอเอสเอฟ ยังคงเป็นเรื่องที่นักศึกษาแลกเปลี่ยนจะได้รับประสบการณ์อันมีค่ายิ่งในชีวิต จากการได้ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนประเทศต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการใหญ่ เอเอฟเอส ประเทศไทย จึงได้ออกบทความที่จะชี้ให้เห็นว่าโลกปัจจุบันนั้นไร้ขอบเขต และมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   ความฉลาดทางสติปัญญาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอการดำรงอยู่ แต่ต้องมีความฉลาดทางอารมณ์และ”การรู้เขารู้เราทางวัฒนธรรม “มาช่วยขับเคลื่อนยืนหยัดด้วย

เนื้อหาบทความมีดังนี้  ปัจจุบันสังคมไทยและสังคมโลกต่างมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และความคิด ทำอย่างไรที่เราสามารถใช้ชีวิตภายใต้ความหลากหลายเหล่านี้ได้อย่างมีความสุข สามารถติดต่อและทำงานร่วมกันได้อย่างมืออาชีพ การสื่อสารถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งและหัวใจสำคัญในการเชื่อมโยงความแตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกัน แต่ไม่ว่าจะสื่อสารภาษาเดียวกันหรือต่างกัน ก็จะมีอุปสรรคบางอย่างที่เข้ามาทำให้มีปัญหาในการทำงานร่วมกัน เกิดความไม่เข้าใจระหว่างกัน และนำมาสู่ความขัดแย้งหรือพลาดโอกาสสำคัญ ความฉลาดทางวัฒนธรรมจึงเป็นทักษะหนึ่งให้เราใช้ชีวิตบนโลกใบนี้อย่างมีความสุข

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ

หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับคำว่าความฉลาดทางปัญญา (Intelligence Quotient: IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient: EQ) กันมาแล้ว เนื่องจากเป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จทั้งด้านการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิต แต่นอกจาก IQ และ EQ แล้ว อีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมที่ผู้คนต่างวัฒนธรรมสามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างง่ายดาย นั่นคือก็ ความฉลาดทางวัฒนธรรม (Cultural Quotient: CQ)

ในสังคมการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาทางธุรกิจ การประสานงานระหว่างหน่วยงาน การดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ หรือการติดต่อกับลูกค้า เราต้องพบปะผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างความคิด ต่างวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งต่างเชื้อชาติ ดังนั้นทักษะความฉลาดทางวัฒนธรรมจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงาน โดยนิตรสาร Forbes ยังได้กล่าวถึงความสำคัญของความฉลาดทางวัฒนธรรมในสังคมการทำงานว่าทักษะนี้จะมีส่วนช่วยพัฒนาให้เราสามารถสื่อสารและร่วมงานกับผู้คนหลากหลายวัฒนธรรมได้อย่างราบรื่น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรามีศักยภาพในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ อันเนื่องมาจากความสามารถในการบูรณาการข้อมูลและมุมมองที่หลากหลายได้นั่นเอง

ดังนั้น เราจึงสามารถเริ่มต้นพัฒนาทักษะความฉลาดทางวัฒนธรรมด้วยตัวเองได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากการเปิดใจ ใฝ่เรียนรู้ และปรับตัว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ

เปิดใจ ยอมรับในความหลากหลายของผู้คนที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยม ความคิด ตลอดจนลักษณะการสื่อสารและการแสดงออกทางพฤติกรรมที่ต่างกันไปตามแต่ละบริบททางสังคมและวัฒนธรรม เช่น เมื่อต้องปฏิสัมพันธ์กับความที่มีความแตกต่างให้เริ่มเปิดใจที่จะทำความเข้าใจ รับฟัง ไม่ปิดกั้นหรือสร้างกำแพงที่จะเป็นอุปสรรคให้เข้าถึงความเข้าใจในความแตกต่างได้

ใฝ่เรียนรู้ ทำความเข้าใจลักษณะการสื่อสาร การแสดงออก นิสัย รวมถึงสไตล์การทำงานของแต่ละวัฒนธรรม ผ่านการสังเกต ตั้งคำถาม และหาคำตอบจากผู้ใกล้ชิดหรือมีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้นๆ ก็ยิ่งช่วยทำให้เข้าใจรูปแบบการแสดงออกของผู้คนจากวัฒนธรรมนั้นๆ ได้มากขึ้น เช่น เมื่อเจอคนที่นิสัยแตกต่างจากเรา ควรจะแสวงหาความรู้เพื่อเข้าใจพฤติกรรมที่แตกต่างจากเรา ตั้งคำถามว่าวัฒนธรรมหรือสังคมที่เขาอยู่ส่งผลต่อพฤติกรรมหรือนิสัยของเขาหรือไม่ อย่างน้อยจะทำให้เรามีความรู้และความเข้าใจในความแตกต่างได้

ปรับตัว ทั้งความคิด การสื่อสาร การแสดงออกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวัฒนธรรมนั้นๆ เพื่อให้การประสานงานและการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้อย่างราบรื่น เราไม่สามารถเป็นศูนย์กลางของสิ่งที่อยู่รอบตัวเราได้เสมอไป ความสามารถในการปรับตัวจึงเป็นทักษะสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความหลากหลายได้ แต่ละสังคมต่างก็มีบริบทที่แตกต่างกันไป อยู่บ้านเราอาจจะทำอะไรก็ได้ แต่เมื่ออยู่ที่ทำงานเราก็ควรต้องปรับตัว อยู่ประเทศไทยเราอาจจะทำอะไรก็ได้ แต่เมื่ออยู่ต่างประเทศเราก็ควรต้องปรับตัว

ดังนั้น เปิดใจ ใฝ่เรียนรู้ และปรับตัว จะเป็นสะพานที่พาเราออกจาก Comfort zone ไปสู่พื้นที่ที่มีความหลากหลายได้อย่างมีความสุข การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะความฉลาดทางวัฒนธรรม จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการเปิดประตูสู่ความสำเร็จสำหรับคนทุกช่วงวัย

เอเอฟเอส ประเทศไทย เป็นองค์กรซึ่งดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเยาวชนไทยกับนานาชาติกว่า 60ประเทศทั่วโลก เป็นระยะเวลา 61 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม ทั้งโครงการแลกเปลี่ยนระยะ 1 ปี โครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้น โครงการค่ายภาษาและวัฒนธรรม โครงการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมรูปแบบออนไลน์ และโครงการอุปถัมภ์นักเรียนต่างชาติที่ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการเป็นพลเมืองโลกที่มีคุณค่าและมีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ

——————–

ใต้ภาพ

ผศ.ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ ผู้อำนวยการใหญ่ เอเอฟเอส ประเทศไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กวีซีไรต์'เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์' วาดกวีในดวงใจ

แฟนคลับกวีซีไรต์ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ที่เคยประทับใจกับการแสดงภาพวาดลายเส้นทิวทัศน์ ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพเขียนครั้งแรกในชีวิตของศิลปินผู้นี้เมื่อปลายปี 2565   อยากชวนมาชมนิทรรศการใหม่ล่าสุด “ชีวิตสร้างด้วยกวีนิพนธ์” ของ เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ จัดแสดงภาพวาดลายเส้นที่มี

'หมอธีระวัฒน์' เทียบผลกระทบวัคซีน 'แอสตร้า' กับ วัคซีนตัดต่อพันธุกรรม เท่ากับเด็กประถม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์พิเศษสาขาประสาทวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'ดร.ธรณ์' เฉลย ฝนตกลงมาแล้ว จะช่วย 'ปะการังฟอกขาว' ได้แค่ไหน

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า