ทำธุรกิจบวกสิ่งแวดล้อมของ' KBANK' วิธีปรับตัวรับมือ'Climate Change'

เมื่อโลกก้าวสู่ภาวะโลกเดือด สภาพภูมิอากาศ นับวันจะยิ่งร้อน และแปรปรวนมากขึ้นเรื่อยๆส่งผลให้เกิดภัยบัติต่างๆ ถี่มากขึ้น ซึ่งผลกระทบนี้ ไผลม่ได้มีต่อคนสัตว์เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกอีกด้วย  ดังนั้น หากไม่มีการตื่นตัวที่จะแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาโลกร้อน  ปล่อยให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามการคาดการณ์ว่า  หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 3.2 องศาเซลเซียสจะส่งผลกระทบต่อ GDP โลกถึง 18% คิดเป็นมูลค่ากว่า 18,000 พันล้านบาท ส่วนผลกระทบ GDP ประเทศไทยจะอยู่ 44% คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 218 พันล้านบาท หากให้เปรียบเทียบความเสียหายที่เกิดขึ้นก็เหมือนกับช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาที่ส่งผลกระทบต่อ GDP โลกถึง 3%

 ขณะที่  3 ประเทศที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกมีกติกาในการลดคาร์บอนของสินค้าอย่างจริงจัง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา:U.S. Clean Competition Act, ยุโรป:  European Green Deal & CBAM และ จีน:China’s Full-Life Cycle Carbon Footprint Tracking System

 ส่วนประเทศไทย  หากเดินไม่ทันตามกติกาของ3ประเทศมหาอำนาจ  ในฐานะที่เป็นประเทศส่งออก ไทยก็จะได้รับผลกระทบโดยรวมถึง 40-45% หรือคิดเป็นมูลค่าราวๆ 114 พันล้านบาท ซึ่งขณะนี้ไทยได้เริ่มร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ….. ของไทยที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา กำหนดให้ภาคธุรกิจต้องวัดผลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(MRV) มาตรการจำกัดสิทธิผู้ประกอบการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap and Trade) มาตรการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้าภาคอุตสาหกรรม (Carbon Tax) รวมถึงการทำธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะกระทบกับผู้ประกอบธุรกิจในวงกว้าง  

ในด้านสถาบันการเงิน อย่างธนาคารกสิกรไทย(KBANK)  ที่เป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจต่างๆ ได้ตระหนักถึงปัญหาต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อโลก จึงขับเคลื่อนธุรกิจที่ให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนมานานกว่า 10 ปี
“เราให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมมายาวนาน จนตกผลึกในการปรับเปลี่ยนโลกธุรกิจแบบใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือกับยุค Climate Game ด้วยการวางยุทธศาสตร์ KBANK Climate Strategy 2024 ภายใต้แนวคิด Together Transitioning Away พร้อมในการประกาศเป้าหมายสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2030″พิพิธ  เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าว

นอกจากนี้ ในการประชุม COP 28 ที่ผ่านมา ประชาคมโลกบรรลุข้อตกลงที่จะเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะส่งแรงกดดันลงไปสู่ภาคธุรกิจในวงกว้าง และประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Risk)  ด้วยกฎระเบียบทางการค้าที่ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน จะทยอยบังคับใช้เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินค้าส่งออกไทย ดังนั้นเมื่อโลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game ที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทำให้สมการธุรกิจเปลี่ยนไป  มูลค่าของธุรกิจจากรายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิม จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยเชิงลบที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะมีโอกาสเพิ่มขึ้น

” การทำธุรกิจที่ได้ปัจจัยบวกด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักและปรับตัวให้ทันเพื่อรับมือกับเกมนี้ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารกสิกรไทย ปี 2567 ด้วยเป้าหมายสำคัญที่จะพาธุรกิจไทยและเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ สามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและคว้าโอกาสไว้ได้ พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว “กรรมการผู้จัดการฯกล่าว

โดยธนาคารกสิกรไทยได้มีการประกาศที่จะก้าวเข้าสู่ Net Zero ตั้งแต่ปี 2021 ที่ผ่านมา เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ภายในปี 2030 โดยได้มีการวางแผนกลยุทธ์ทั้ง 3 สโคป โดยสโคป 1 และ 2 จะต้องบรรลุเป้าหมายดังกล่าวให้ได้ตามปีที่กำหนด ส่วนในสโคป 3 จะมีการจัดสรรโซลูชั่นทางการเงิน การถ่ายทอดองค์ความรู้ สนับสนุนด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการทำ Business Matching ของเครือข่ายที่อยู่ภายในอีโคซิสเต็มเพื่อช่วยเหลือลูกค้าแต่ละกลุ่มภายในพอร์ตโฟลิโอ สำหรับการ2เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

ดังนั้นการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย Net zero ที่มีการวางแผนดำเนินงานไปตามไทมไลน์ในแต่ละสโคป ประกอบด้วย สโคปที่ 1 จะมีการใช้กลยุทธ์ที่ Green Operation จากการเริ่มปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานของธนาคารเอง และเริ่มมีการพัฒนาระบบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา จึงได้สั่งสมประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำจริง โดยมีผลการทำงานถึงปัจจุบัน ได้แก่ ธนาคารมีการติดตั้ง Solar Rooftop ที่อาคารหลักของธนาคาร 7 แห่ง ครบ 100% และติดตั้งที่สาขาด้วยแล้วซึ่งจะมีจำนวน 78 สาขา ภายในเดือน มิ.ย. 2567 นี้ มีการเปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้ในธุรกิจธนาคารจากรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว183 คัน การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่เกิดขึ้นธนาคารสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ลดได้ 12.74% เมื่อเทียบปีฐาน (2563) มีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลางทางคาร์บอนมาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (2561-2566) และตั้งเป้าหมายเป็น Net Zero ใน Scope 1 & 2 ภายในปี 2573

 ส่วนสโคป 2 มุ่งช่วยลูกค้าด้วยการเงินสีเขียวด้วยกลยุทธ์ที่ 2 Green Finance โดยสนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร ได้แก่ 1.การให้สินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม (Green Loan) และการให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจในการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance)  2.การจัดสรรเงินลงทุนของธนาคารในธุรกิจและสตาร์ตอัพที่สร้างผลกระทบเชิงบวก 3. การนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนทั้งของธนาคารและพันธมิตรระดับโลกเพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนไปสนับสนุนธุรกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) โดยธนาคารส่งมอบเม็ดเงินสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท และคาดว่าจะมียอดรวมเป็น 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 นี้ และจะเป็น 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573 ตามเป้าหมาย

 “ภายใต้กลยุทธ์นี้พบว่า KPI ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพอร์ตโฟลิโอของอุตสาหกรรมหลักที่ธนาคารให้ความสำคัญในการควบคุมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้วางแผนกลยุทธ์รายอุตสาหกรรมไปแล้ว 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ กลุ่มเหมืองถ่านหินประเภทเชื้อเพลิงให้ความร้อน กลุ่มซีเมนต์ และกลุ่มอลูมิเนียม     “พิพิธ กล่าว      

ก้าวไปอีกขั้นในสโคป 3 สำหรับการเปลี่ยนผ่านเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2065  ต้องอาศัยองค์ความรู้และการบูรณาการร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อเชื่อมต่อกันทั้งระบบนิเวศ ผ่านกลยุทธ์ Climate Solutions ในการพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP เป็นแพลต์ฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รวมถึงบริการสลับแบตเตอรี่ผ่านจุดบริการ  ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 367 ราย โดยในปี 2567 คาดว่าจะมีรุ่นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้บริการมากกว่า 10 รุ่น ขยายตู้สลับแบตเตอรี่เป็นกว่า 70 สาขา ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล  และปันไฟ (Punfai) ทการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยี่ได้ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทยที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ

พร้อมกับทำกลยุทธ์ Carbon Ecosystem ที่ได้พัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (REC) ที่ที่ร่วมมือกับ Innopower เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC ได้ นอกจากนี้ยังเตรียมระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต เช่น การเป็นตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต การออกโทเคนคาร์บอนเครดิต เป็นต้น

 “การทำงานด้าน Climate Change ในระดับประเทศให้บรรลุผลได้นั้น ต้องอาศัยพลังจากทุกคนร่วมมือทำสิ่งนี้ไปด้วยกัน จึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง และธนาคารกสิกรไทยพร้อมที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อของภาคธุรกิจลูกค้า ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรแหล่งความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม ตลอดจนภาคการเงินและตลาดทุน บูรณาการศักยภาพ ต่าง ๆ เพื่อส่งมอบเครื่องมือ ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไทยให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นในเศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน” พิพิธ  กล่าวทิ้งท้าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสิกรไทย-อินโนพาวเวอร์ เปิดแพลตฟอร์มขายไฟฟ้าโซลาร์ ของรายย่อย

ธนาคารกสิกรไทย ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการลดก๊าซเรือนกระจก ร่วมกับ อินโนพาวเวอร์ ผู้บุกเบิกนวัตกรรมด้านพลังงาน เปิดตัวแพลตฟอร์มสนับสนุนการขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน

ไทยออยล์ตอกย้ำเส้นทางสู่ความยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนและสังคม

ไทยออยล์ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจ ตามวิสัยทัศน์ “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน” พร้อมสร้างความเชื่อมั่น

KBank ให้สินเชื่อ SLL จำนวน 10,000 ล้านบาท แก่ GC เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน

ธนาคารกสิกรไทย สนับสนุนวงเงินสินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan : SLL) จำนวน 10,000 ล้านบาท