เที่ยวสุพรรณบุรี เมืองสร้างสรรค์ดนตรี แห่งแรกของไทย

ตักบาตรยามเช้า เคล้าคลอเสียงดนตรีพื้นบ้าน 

สุพรรณบุรี เป็นเมืองเก่าแก่ เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์  มนต์เสน่ห์ของศิลปะ วัฒนธรรม และยังเป็นเมืองแห่งเสียงดนตรี   ด้วยท้องทุ่งนา  ประเพณีพื้นบ้าน เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการแต่งเพลงของศิลปินหลายคน โดยทั้ง ลูกทุ่ง ลูกกรุง ที่มีชื่อเสียงระดับตำนาน อย่าง สุรพล สมบัติเจริญและพุ่มพวง ดวงจันทร์ ราชินีเพลงลูกทุ่งของไทย ที่นี่จึงเป็นแหล่งบ่มเพาะศิลปินดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ  โดยเฉพาะในแนวเพลงลูกทุ่ง

การเดินทางมาเยือนสุพรรณในทริปนี้เป็นมากกว่าการท่องเที่ยวทั่วไป เพราะนอกจากจะได้เดินทางไปยังแลนด์มาร์คของจังหวัดแล้ว ยังได้เปิดประสบการณ์สัมผัสเรื่องราวแห่งเสียงดนตรีที่เป็นรากฐานความเข้มแข็งในการอนุรักษ์และสืบสานดนตรีของเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรีหน่วยงานและภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนสุพรรณบุรีเมืองสร้างสรรค์ดนตรีขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) แห่งแรกของไทย

หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลย์

เริ่มทริปเสริมศิริมงคล มากราบสักการะหลวงพ่อโต ที่วัดป่าเเลไลย์วรวิหาร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งเปิดให้เข้าสักการะได้แล้ว หลังจากที่มีการบูรณะองค์หลวงพ่อโตไปเมื่อปีที่แล้ว หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ สร้างจากปูนปั้นปิดทอง มีความสูงกว่า 23 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตามศิลปะแบบอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นผลงานของสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง แต่เมื่อพระหัตถ์ขวาเกิดความเสียหาย ช่างในยุคนั้นจึงได้สร้างวิหารครอบองค์พระไว้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี

วิหารหลังนี้ช่างในอดีตได้ออกแบบอย่างชาญฉลาด โดยผนังด้านหนึ่งถูกสร้างให้ชิดกับพระหัตถ์ขวาและด้านหลังองค์พระ เพื่อเสริมความแข็งแรง ส่วนด้านพระหัตถ์ซ้ายเว้นพื้นที่ว่างไว้ เพื่อเพิ่มความมั่นคงของโครงสร้างวิหาร หลังจากทำการสักการะ ยังสามารถร่วมห่มผ้าหลวงพ่อโต ซึ่งเป็นพิธีสิริมงคลที่หากใครได้มาเยือนจะต้องห้ามพลาด

หม้อมีนม เครื่องปั้นดินเผาโบราณ

ไปต่อที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี สถานที่รวบรวมเรื่องราวที่จะทำให้เราได้รู้จักสุพรรณบุรีมากยิ่งขึ้น ที่นี่เป็นการจัดแสดงนิทรรศการแบบถาวร โดยผสมผสานระหว่างการจัดแสดงโบราณวัตถุและสื่อประเภทต่างๆ อย่างหุ่นจำลอง สื่อวิดีโอ ดนตรี ฯลฯ เพื่อให้การเข้าชมครบรสและได้ความรู้  เริ่มที่ชั้น 1 แบ่งเป็น 3 ห้อง ได้แก่ ห้องเมืองสุพรรณ จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญ อาทิ  ศิลาจารึกหลักที่ 1  สมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารึกลานทอง สมัยอยุธยา พบที่วัดส่องคบ จ.ชัยนาทและหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ที่กล่าวถึงสุพรรณบุรีในอดีต เป็นต้น และโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีและโบราณสถาน ในจังหวัด อาทิ หม้อสาขา หม้อมีนม และเครื่องปั้นดินเผาในแบบต่างๆ

พระพุทธรูปปางนาคปรก

เดินต่อยังห้องเมืองยุทธหัตถี ที่ได้ทำหุ่นจำลองและการฉายวิดีโอ การทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระมหาอุปราชา ปี 2135 และห้องคนสุพรรณ เป็นห้องที่ทำให้รู้สึกทั้งขนลุกและสัมผัสได้ถึงความมีชีวิตชีวาของเรื่องราวกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสุพรรณ เพราะห้องนี้จะทำการจำลองบ้านเรือนที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชาติพันธุ์และทำหุ่นจำลองรูปพรรณสัณฐานด้วย มีทั้งไทยกะเหรี่ยง ไทยญวน ไทยพวน ไทยจีน ไทยเขมร ไทยทรงดำ ลาวครั่ง ไทยเวียง

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

ขึ้นมาชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องบุคคลสำคัญ อาทิ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ( ปุ่น ปุณณสิริ) พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) เป็นต้น ส่วนห้องศาสนศิลป์สุพรรณบุรี จัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ มีไฮไลท์ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะลพบุรี สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 รูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ศิลปะลพบุรี สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 และยังมีพระพิมพ์ถ้ำเสือ พระพิมพ์สมัยลพบุรี พระพิมพ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เดินเชื่อมไปยังห้องเตาเผาบ้านบางปูน แหล่งค้นพบภาชนะดินเผาที่มีลวดลายลงบนภาชนะ ที่ห้องวรรณกรรมเมืองสุพรรณ สัมผัสที่มาของวรรณกรรมยอดฮิตเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน และโคลงนิราศสุพรรณ ประพันธ์โดยสุนทรภู่

บ้านเรือนและหุ่นจำลองแบบสมจริง ของชาติพันธุ์ในสุพรรณ

มาถึงห้องเพลงพื้นบ้านเมืองสุพรรณ ที่จะสะท้อนภาพได้ชัดเจนของการเมืองแห่งดนตรี โดยภายในห้องจะมีการจัดแสดงเรื่องประวัติของศิลปินลูกทุ่งชาวสุพรรณทั้งพุ่มพวง ดวงจันทร์, สายัณห์ สัญญา, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ศรเพชร ศรสุพรรณ, สุรพล สมบัติเจริญ, ก้าน แก้วสุพรรณ ซึ่งการจัดแสดงแผ่นเสียง เทป ซีดี ของเหล่าศิลปิน และที่ยังมีหูฟังให้ฟังเพลงของศิลปินดื่มด่ำไปเสียงขับร้องอันทรงพลังอีกด้วย ส่วนห้องสุพรรณวันนี้ ได้จัดแสดงการพัฒนาเมืองสุพรรณที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม อาหาร และแหล่งท่องเที่ยวมากมาย

ชาวไทยเชื้อสายจีน ที่ประกอบอาชีพในอดีต

ชวนเข้าวัดอีกแห่งที่ วัดประตูสาร ไฮไลท์ของวัดแห่งนี้คือ ภาพจิตรกรรมฝาพนังที่ได้บอกเรื่องราวในอดีตของเมืองสุพรรณที่มีความผูกพันธ์ด้านดนตรี โดยเฉพาะปี่พาทย์ ซึ่งในภาพเขียนจะเป็นการตั้งวงล้อมเล่นดนตรีเครื่องสาย และภาพการละเล่นเต้นรำ วาดขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ในปี 2397  และยังเป็นจุดกำเนิดของเพลงค้างคาวกินกล้วย ของมนตรี ตราโมท ศิลปินที่เกิดและเติบโตที่นี่

เหล่าศิลปินผู้มีชื่อเสียงแห่งเมืองสุพรรณ

และในย่านวัดประตูสารยังมีวงปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียง อย่าง วงประคองศิลป์ สุพรรณบุรี โดยมีผู้ก่อตั้งคือ ครูประคอง วิสุทธิวงษ์ ผู้มีแนวคิดในการสร้างระนาดมอญขึ้นมาใช้สำหรับวงปี่พาทย์มอญ ซึ่งรางระนาดมอญ เป็นรางและต่อหัวและท้าย คล้ายๆกับข้องมอญ ด้านหัวทำเป็นรูปหงส์ ด้านท้ายทำเป็นหางหงส์เหมือนกับเรือสุพรรณหงส์เอาผืนระนาดเอก ผืนระนาดทุมขึงกับราง ในยุคนั้นจะเรียกระนาดแบบนี้ว่าระนาดรางหงส์ แต่ปัจจุบัน ทั้งร่าง 4 รางนี้ไม่ได้อยู่ที่คณะครูประคอง วิสุทธิวงษ์ และยังออกแบบย่อส่วนของฆ้องมอญลงมา โดยรูปแบบเหมือนฆ้องมอญมีหน้าพระ และหางแมงป่องเหมือนกันแต่ย่อความสูงลงมา รูปทรงเหมือนรางระนาดของไทยและมีหน้าพระ หางแมงป่องคล้ายกับของมอญ ปัจจุบันรางระนาดหงสายังใช้บรรเลงขับกล่อมตามงานทั่วไป ซึ่งเป็นสมบัติของปี่พาทย์มอญคณะประคองศิลป์ที่ได้สืบถอดต่อโดยธนู วิสุทธิวงษ์  เจ้าของคณะประคองศิลป์

ฟังเพลงเพราะๆ จากศิลปินในตำนาน

เช้าอีกวันที่สุพรรณ เรามาตักบาตรนาวาภิกขาจาร ที่ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วย วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร โดยเป็นการใส่บาตรทางน้ำ มีการจัดขบวนพระสงฆ์ เรือลำแรกจะเป็นเรือสำหรับองค์พระพุทธรูปตามมาด้วยเรือของพระสงฆ์ 8 ลำ บรรยากาศยามการใส่บาตรของที่นี่ถูกขับกล่อมไปด้วยการบรรเลงดนตรีจิตอาสาจังหวะสนุกสนาน มีเสียงขับกลอนประกอบเข้าจังหวะ และการแสดงเพลงพื้นบ้าน ช่วยสร้างสีสันยามเช้าให้สดใสมากๆ

หุ่นจำลองประกอบเพลงพื้นบ้าน

จุดหมายสุดท้ายที่บ้านดนตรี by ครูเอียด มีครูเอียด กณวรรธน์ สุทธิประภา ผู้เป็นเจ้าของและศรัทธาในการต่อยอดดนตรีไทยจากธุรกิจขายเครื่องดนตรีไทยของครอบครัว ทำให้คลุคลีเรียนรู้เรื่องดนตรีไทยจนชำนาญ  และเป็นเครือข่ายที่ร่วมผลักดันให้สุพรรณได้เป็นเมืองแห่งดนตรีจากองค์การ ยูเนสโก้อีกด้วย ครูเอียดได้เปิดบ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ดนตรีไทยสำหรับเด็กและเยาวชนที่สนใจเรียน ซึ่งมีนักเรียนกว่า 80 คน แต่ละคนก็จะถูกบ่มเพาะให้รู้การเล่นดนตรีไทย ส่วนประกอบของดนตรี ที่จะกลายเป็นความสามารถและมีใจในการสืบถอด และที่นี่ยังเปิดเป็นตบสดขนาดเล็กๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ปกครองได้พักผ่อนมีของอร่อยๆทาน โดยจะเปิดทุกวันวันเสาร์ต้นเดือน

แผ่นเสียงของศิลปินพุ่มพวง ดวงจันทร์

มุมมองการมาเยือนสุพรรณบุรีครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงเมืองแห่งเสียงดนตรี แต่คือหัวใจของการอนุรักษ์ดนตรีทุกแขนง นับเป็นอีกแห่งที่ควรค่าแก่การมาเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์ด้านดนตรี และดื่มด่ำไปกับแหล่งท่องเที่ยวอันงดงาม.

ภาพจิตรกรรมคนในอดีตร้องเล่นตำรำ
ฆ้องมอญมีหน้าพระและหางแมงป่อง
ตักบาตรทางน้ำ รับพรยามเช้า
การแสดงดนตรีพื้นบ้านสุพรรณ
นักเรียนดนตรีไทยที่บ้านครูเอียด
บรรยากาศตลาดที่บ้านดนตรี by ครูเอียด
น้องๆ โชว์ความสามารถเล่นดนตรีไทยให้ชม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กองทุนกีฬา'บุกสุพรรณบุรี ติดตาม-รับฟังปัญหา ส.กีฬาจังหวัดภาคกลาง

“กองทุนกีฬา” เดินสายต่อเนื่อง ครั้งที่ 3 ลงพื้นที่สุพรรณบุรี (ภาค 2) เร่งติดตาม-รับฟังปัญหา ส.กีฬาจังหวัด ภาคกลาง เพื่อร่วมกันแก้ไข เข้าถึง เข้าใจ ให้คำแนะนำ การใช้เงินให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ มุ่งหวังเห็นผลสำเร็จ

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชนบ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี

นายทนงศักดิ์ ล้อชูสกุล ผอ.สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) พร้อมนายระเบียบ ปทุมสูตร นายกเทศมนตรีตำบลสระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ลงพื้นที่โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชนบ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ประจำปี 2565(งบกลาง)

ป.ป.ช. ฟัน '2 บิ๊กนักการเมืองท้องถิ่น' ร่ำรวยผิดปกติ

นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด นางเรณู พลเสน

บ้านมั่นคงคนสุพรรณบุรี บ้านที่มากกว่าคำว่าบ้าน พัฒนาเมืองน่าอยู่ชุมชนเข้มแข็ง

สถานที่ท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี ถ้ามาแล้วไม่ควรพลาด!!! นั่นก็คือ "ตลาดสามชุก" นับว่าเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มีของกินอร่อย

นายกฯ ชมเปาะ 'วราวุธ' เก่ง ดูแลตัวเองได้ หลังเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณฯขอฝากด้วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ สักการะพระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ (หลวงพ่ออู่ทอง) ที่วัดเขาทำเทียม ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง โดยเมื่อมาถึงนายกฯได้ทักทายชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวไทยทรงดำ -ลาวเวียง -ลาวครั่ง ที่สวมชุดเรือธรรมพื้นถิ่นมาต้อนรับ