'CONNECT'ภาพถ่ายจากภารตะถึงกรุงเทพฯ

ดื่มด่ำกับการเดินทางผ่านภาพถ่ายในนิทรรศการ ‘Connect’ ผลงานของสมัชชา อภัยสุวรรณ ช่างภาพผู้คว่ำหวอดอยู่ในวงการโฆษณาและสารคดีมาหลายสิบปี ศิลปินได้แรงบันดาลใจระหว่างการเดินทางไปอินเดียในฤดูหนาวจากการเดินทางแบบไม่คาดหวังสู่ความสุขในการเก็บภาพมุมเมือง ตลาดยามเช้า วิถีชีวิตของผู้คน และสถาปัตยกรรมที่สวยงามราวต้องมนต์ในหเวลี (Haveli) ก่อนนำมาโชว์ในนิทรรศการภาพถ่ายล่าสุดใน ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568’ หรือ Bangkok Design Week 2025

ชื่อชั้น สมัชชา อภัยสุวรรณ เคยสร้างความประทับใจให้ผู้เข้าชมมาแล้วกับนิทรรศการ “Bangkok Reflection: สะท้อนกรุง” ในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ครั้งก่อน กลับมาปีนี้ยังสื่อสารผ่านภาพถ่ายแบบที่เขาถนัดด้วยการตระเวนเก็บภาพมุมสวยและวิถีชีวิตของผู้คนในชัยปุระที่เขาสัมผัสได้ถึงเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของผู้คนในตลาดเช้า สถานีรถไฟ รวมถึงมิตรภาพระหว่างการเดินทางที่ยากจะลืมเลือน

ไม่ไกลจากชัยปุระ ศิลปินยังตกหลุมรักเมืองเล็ก ๆ ที่เงียบสงบอย่าง Nawalgarh และ Mandawa อยู่ใน ‘เศขาวาฏี’ (Shekhawati) ในรัฐราชสถาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือ เมืองที่มีชื่อเสียงด้านจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามและมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของอินเดีย จนได้รับการยกย่องให้เป็นหอศิลป์กลางแจ้ง (Open Air Art Gallery)  หเวลี (Havelis) เป็นคฤหาสน์ของพ่อค้าผู้มั่งคั่งในอดีต ผนังของหเวลีมักจะตกแต่งด้วยจิตรกรรมฝาผนังสีสันสดใส สื่อเรื่องราวตามความเชื่อทางศาสนา ตำนาน นิทานพื้นบ้าน และวิถีชีวิตของชาวยุโรปในยุคล่าอาณานิคม

สมัชชา อภัยสุวรรณ กล่าวว่า ยอมรับว่าช่วงเวลานั้นไม่ได้อยากไปอินเดีย เลยไม่ได้คาดหวังว่าจะทำงานออกมาในรูปแบบไหน ผมใช้เพียงอารมณ์ความรู้สึกระหว่างการเดินทางไปยังเมืองต่างๆ เราพบเจออะไร เห็นอะไร ก็ถ่ายภาพออกมาตามอารมณ์ที่สัมผัสได้ ณ ช่วงเวลานั้น ผมจะพยายามมองสีสันและองค์ประกอบจากเหตุการณ์​ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตรงหน้า รู้สึกเหมือนไปทำ research เท่าที่เวลาจะพอมี ได้พบเจอกับวิถีชีวิตที่หลากหลายในสังคมที่แตกต่างจากบ้านเรา จุดนี้ทำให้วิธีคิดและวิถีชีวิตของชาวอินเดียมีเอกลักษณ์​อย่างมาก ถึงอย่างนั้นก็สัมผัสได้ถึงการประนีประนอม​ในเรื่องราวต่างๆ ชาวอินเดียมีความยืดหยุ่นสูงมาก

จากการเดินทางแบบไม่คาดหวังจุดประกายให้ศิลปินคัดเลือกภาพถ่ายในความทรงจำนำมาจัดแสดงในนิทรรศการ ‘Connect’ บ่งบอกถึงความเชื่อมโยงในหลากหลายมิติราวกับเราได้ก้าวสู่โลกอีกใบหนึ่ง ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวที่รอการค้นพบผ่านเลนส์ ด้วยเทคนิคการถ่ายภาพและสไตล์การเล่าเรื่องที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางภาพคมชัดราวกับหยุดเวลา บางภาพพร่าเลือนแต่เต็มไปด้วยห้วงอารมณ์ความรู้สึก ทุกภาพล้วนมีเรื่องเล่ามากมายอยู่เบื้องหลัง ปล่อยให้ผู้ชมได้สำรวจ ตั้งคำถาม และตีความได้อย่างอิสระ พร้อมสัมผัสมุมมองของศิลปินและพลังแห่งภาพถ่าย ที่เชื่อมโยงความหลากหลายของผู้คนเข้าด้วยกัน

‘Connect’ จะทำหน้าที่ออกแบบความสุข ความหวัง และพลังบวกให้กับผู้ชม เพื่อให้ผู้คนมองโลกในแง่ดีและเชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ สอดคล้องกับแนวคิด Optimism (บวกด้วยการคิดบวก) ของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 ชมผลงานของสมัชชา อภัยสุวรรณ ได้ที่ชั้น 2 c43: Fashion and Inspiration Space ระหว่างวันที่ 8 -23 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 11.00-19.00 น. (ปิดวันจันทร์) ติดตามความเคลื่อนไหวที่ FB: https://www.facebook.com/charoen43

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ้านครัว'ฟื้นย่านมุสลิมเก่าแก่สู่แหล่งเที่ยวใหม่

‘บ้านครัว’ ชุมชนมุสลิมจามที่ซุกซ่อนอยู่ในย่านราชเทวีมาอย่างยาวนานกว่า 235 ปี ย้อนไปได้ไกลถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์  เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย มีการทอผ้าไหม มีบ้านเรือนไม้ มัสยิดขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีให้พบเห็น เช่น เรือนแม่ทรัพย์ที่มีอายุกว่า 200 ปี

สร้างเมืองน่าอยู่ผ่านศิลปะ'กรุงเทพฯ242'

ผลงานศิลปะจากการร่วมสำรวจเมืองของเหล่าศิลปินและนักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาในฐานะพลเมืองกรุงเทพฯ เปิดให้ชมแล้วในนิทรรศการ "กรุงเทพฯ ๒๔๒" (Bangkok 242 Space of Sharing)   ศิลปินแต่ละคนมอง กทม.ผ่านเลนส์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรม

เปิดพิกัดลับ'Solar Art' ย่านศรีนครินทร์

ครั้งแรกของย่านศรีนครินทร์ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567 (Bangkok Design Week 2024) เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้แก่คนกรุงเทพฯ ผ่าน 4 คอนเซ็ปต์ “คน แสง เวลา อารมณ์” ที่จะเนรมิตพื้นที่ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ และ MMAD – MunMun Art Destination คอมมูนิตี้อาร์ต ให้กลายเป็นพื้นที่งานศิลปะสร้างสรรค์ฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออก ทั้งยัง