
ต้องยอมรับว่าโลกออนไลน์ในปัจจุบันมีอันตรายทั้งแบบแอบแฝงและแบบโจ่งแจ้ง ซึ่งอันตรายนี้มาทั้งในรูปแบบ การโจมตี ขู่ทำร้าย การใช้ถ้อยคำหยาบคาย การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น การแบล็กเมล์ รวมทั้งการสร้างกลุ่มในโซเชียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ และการหลอกลวง เพื่อทรัพย์สิน เงินทอง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งในประเทศไทยมีมูลค่าความเสียหายจากกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงมูลค่าปีละหลายหมื่นล้าน
ด้วยเหตุนี้ระบบป้องกัน เพื่อรักษาความปลอดภัยการใช้อินเตอร์เน็ต หรือโลกไซเบอร์ จึงมีความจำเป็น ต้องมีบริการวางระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้อินเตอร์เน็ต ให้กับบริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐมากมาย และบริษัท ฟอร์ติเนต ซิเคียวริตี้ เน็ตเวิร์ก ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการวางระบบรักษาความปลอดภัยดังกล่าว
นางสาวภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต ฯ กล่าวว่า ฟอร์ติเน็ต เปิดให้บริการในประเทศมาประมาณ 14-15 ปี ซึ่งสาขาประเทศไทยนับว่าเป็น Hub ของประเทศลาว กัมพูชา เมียนมาร์ โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา การทำงานหลักๆของบริษัท คือ การไซเบอร์ ซิเคียวริตี้ หรือการมุ่งสร้างระบบความปลอดภัยการใช้ไซเบอร์ ซึ่งบริษัทฯมีประสบการณ์มา 20ปี โดยมีบริษัทแม่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา และมีตัวแทนบริษัททั่วโลก และต้องยอมรับว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การป้องกันให้การใช้ไซเบอร์ให้มีความปลอดภัยมีความเข้มข้นมาก เนื่องจาก ทั่วโลกมีการโจมตีทางไซเบอร์เยอะมาก ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบแค่ระดับองค์กรเท่านั้น แต่เป็นผลกระทบระดับมหภาค รวมทั้งองค์กรระดับประเทศ รวมทั้งระดับตัวบุคคลก็หนีไม่พ้นด้วยเช่นกัน

“สิ่งที่เราทำ Product ครอบคลุมเรื่องไซเบอร์ ซิเคียวริตี้ทั้งหมด ที่เป็นภัยทางไซเบอร์ โดยเรามีโปรดักส์เรื่องนี้หลักๆ 50 ตัว แต่ปัจจุบันแตะถึง 60 ตัวแล้ว และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมทุกเรื่องของการใช้งานที่ปลอดภัยทุกแง่มุมการใช้งาน ตั้งแต่องค์กระดับเล็ก ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ไม่ว่าเป็นภาครัฐ หรือเอกชน โดยเรามีลูกค้าในประเทศไทยมากกว่า 4 พันราย รวมทั้งพาร์ทเนอร์ ที่นำผลิตภัณฑ์ของเราไปขายอีกกว่า 1พันราย นับว่าเป็นEco system ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้ในประเทศไทย”
ในฐานะที่เป็นบริษัทเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ฟอร์ติเน็ต จึงได้หันไปร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการทำหลักสูตรการเรียนการสอนด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ นางสาวภัคธภา กล่าวว่า การเซ็นเอ็มโอยูมหาวิทยาลัย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไม่ใช่ไทยประเทศไทยประเทศเดียว แต่ฟอร์ติเน็ตมีความร่วมมือกับสถานศึกษาทั่วโลก เพราะมองเห็นปัญหาความขาดแคลนขอบงบุคลากรด้านไซเบอร์ทั่วโลก จริงๆจำนวนที่ขาดแคลนมหาศาล สำหรับประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้ ประมาณ 1 แสนคน ทั่วโลกมีความต้องการ 4ล้านคน องค์กรต่างๆมีความต้องการบุคลากรส่วนนี้ แต่ยังไม่สามารถหาได้ ทำให้มุ่งเน้นสร้างบุคคลากรไซเบอร์ โดยทางบริษัทมีหลักสูตรที่เรียกว่า NSE หรือ Network securities expert ปัจจุบันมีการเซ็นเอ็มโอยูกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ตั้งแต่เหนือจรดใต้ของประเทศไทย 13 แห่ง และกำลังจะเซ็นเพิ่มอีก 2แห่งในเร็วๆนี้ รวมแล้วประมาณ 15 ราย และคาดว่าจะเพิ่มมาอีกเรื่อยๆ เพราะมหาวิทยาลัยต่างมีความตื่นตัวในเรื่องนี้ การให้การศึกษากับนักศึกษา เมื่อเรียนจบแล้วหางานง่าย มีตลาดรองรับ เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยต่างๆให้ความสำคัญอยู่แล้ว

“หลักสูตรของเราตลาดต้องการมาก เด็กเรียนจบมีตลาดรองรับชัดเจน อย่างที่เราเซอร์เวย์ ไทยขาด 1แสนแราย ทั่วโลกขาด 4ล้าน นับเป็นจำนวนมหาศาลมาก ต้องบอกว่า ฐานเงินเดือนเด็กให้ความสนใจมาก เมื่อขาดคน ก็ทำให้เงินเดือนสูงตาม อัตราสตาร์ท นาจะประมาณ 6-7 หมื่น จริงๆ ถ้าเด็กมีความสามารถไม่จำเป็นต้องเป็นแค่พนักงานในประเทศไทย ถ้าเขามีความสามารถในเรื่องของภาษา ก็สามารถทำงานในต่างประเทศได้ “
เนื้อในของหลักสูตร เป็นเช่นไร นางสาวภัคธภา กล่าวว่า NSE เป็นหลักสูตรเดียวกับที่เราใช้ทั่วโลก การเรียนจะเรียนผ่านทางออนไลน์เป็นหลัก เพราะการเรียนแค่ทฤษฎีในชั้นเรียนไม่เพียงพอที่จะได้ความรู้จริงๆ การเรียนออนไลน์จะทำให้เด็กๆได้เห็นปฎิบัติการ การทำงานเพื่อป้องกันไซเบอร์ให้ปลอดภัยทำยังไง การสอนซึ่งทำโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้นๆ จะผ่านการอบรมจากฟอร์ติเน็ต ซึ่งรูปแบบการอบรม อาจารย์จะเข้ามาอบรมกับทางบริษัทโดยตรงก็ได้ หรือทางบริษัทอาจจะส่งคนไปเทรนด์ให้ถึงมหาวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์ถ่ายทอดสอนเด็กได้
“หลักสูตรเรามีหลายLevel ตั้งแต่1ไปจนถึง 4,5,6,7 แล้วแต่มหาวิทลัยจะต้องการถึงระดับไหน แต่ละระดับก็จะใช้เวลาเรียนไม่เท่ากัน “นางสาวภัคธภากล่าว
ในเรื่องความไม่ปลอดภัยในโลกไซเบอร์ในปัจจุบัน ทำให้การมีความรู้ด้านนี้เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นที่มาของความต้องการบุคลากรด้านไซเบอร์ ระดับสูงมาก นางสาวภัคธภา กล่าวว่า ในทุกๆ ปี อาชญากรไซเบอร์จะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI และ Machine Learning เพื่อเสริมความซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการโจมตี ไซเบอร์ให้มีความรวดเร็วและยากต่อการตรวจจับมากยิ่งขึ้น ทำให้ภาคส่วนต่างๆ จำเป็นต้องรับมือให้ทันท่วงที ทำให้ในปัจจุบันความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจของเราพบว่า 1.บางองค์กรถูกโจมตีทางไซเบอร์มีมูลค่าความเสียหาย 1 ล้านเหรียญ และมีอีกหลายองค์กรที่ต้องใช้เงินถึง 100 ล้านบาท หลังถูกโจมตี ดังนั้น การมีระบบรองรับโจมตี ไม่ต้องใช้เงินไม่ถึง 100 ล้านบาท 2.เราค้นพบว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น แม้จะมีระบบที่ดีมากเพียงใดแต่ถ้าคน ไม่มีความรู้ความเข้าใจ ก็เกิดการรั่วไหลของข้อมูลได้เช่นกัน ก็เลยทำให้ฟอร์ติเน็ต มุ่งเน้นในเรื่องของคนไม่ใช่ระบบเพียงอย่างเดียว

“ถ้าพูดกันถึงว่า ความรู้นี้จะเข้าถึงระดับชาวบ้านได้หรือไม่ ต้องบอกว่า อย่าง NSE 1 เป็นการปูความรู้ระดับพื้นฐานให้กับทุกคน เด็กมัธยมฯ หรือคนสูงวัยก็เรียนได้ มาเรียนได้ เช่น ความรู้เรื่องการเซ็ท พาสเวร์ด ควรทำยังไงให้ปลอดภัย หรือให้ความรู้ว่าเราไม่ควรจดพาสเวิร์ดในโน็ตบุ๊ค เป็นสิ่งไม่ควรทำ หรือการมีอีเมล์ส่งมาบอกถูกรางวัล ให้กดรับ ก็เป็นสิ่งไม่ควรทำ เพราะจะมีการล้วงขโมยข้อมูลของเราได้ ความรู้ที่เราให้จึงเป็นมหภาค ที่ใช้กับชีวิตปกติได้ “นางสาวภัคธภา กล่าว
ล่าสุด ฟอร์ติเน็ต ได้จับมือร่วมกับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงนามบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ที่เข้มข้น และทันสมัยต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อสร้างกำลังคนที่แข็งแกร่ง ‘ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์’ โดยมีความมุ่งหวังให้นักศึกษาสามารถพัฒนาและยกระดับความสามารถของนักศึกษาไทยให้ทัดเทียมระดับสากล
ผศ.ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ในยุคดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่เพียงศาสตร์ด้านเทคนิคเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคงแห่งชาติ และความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และฟอร์ติเน็ต เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผ่านองค์ความรู้ที่ล้ำสมัย ประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติจริง และข้อมูลภัยคุกคามล่าสุดในทุกอุตสาหกรรม
ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า เพื่อเสริมสร้างคุณภาพหลักสูตรและเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ร่วมมือกับฟอร์ติเน็ต ในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพในอนาคตหลังจากจบการศึกษา อาทิ นักวิเคราะห์ศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นักวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นักเผชิญเหตุทางไซเบอร์ นักทดสอบความมั่นคงปลอดภัย นักตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความต้องการสูงในตลาดแรงงานปัจจุบัน และในอนาคต

โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ซึ่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิตได้เปิดรับนักศึกษารอบพอร์ตโฟลิโอรอบแรกไปแล้ว และกำลังเปิดรับรอบโควต้าตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ถึงวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยังเตรียมเสนอหลักสูตรเสริมสำหรับผู้ที่จบการศึกษาสาขาอื่นที่ต้องการเปลี่ยนสายงานมาด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้ได้รับใบรับรอง (Certificate) เพื่อเป็นบัณฑิตในสาขานี้อีกด้วย โดยตั้งเป้าในการสร้างบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานต่อไป
นางสาวภัคธภา กล่าวปิดท้ายว่า ความร่วมมือระหว่าง ฟอร์ติเน็ต และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทักษะให้กับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการนำองค์ความรู้และข้อมูลเชิงลึกที่ใช้งานได้จริง ทั้งจากด้านวิชาการ การปฏิบัติ จากประสบการณ์ที่ฟอร์ติเน็ตสั่งสมมานาน รวมถึงจาก FortiGuard Labs ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยภัยคุกคามระดับโลกของเรา ที่มีการใช้เทคโนโลยี AI และ Machine Learning ในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามที่ซับซ้อนแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่ Ransomware, Phishing ไปจนถึง Advanced Persistent Threats (APTs) เมื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน จะช่วยให้นักศึกษาได้รับข้อมูลล่าสุดจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงเข้าใจแนวทางการรับมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ธปท. - AIS ผนึกกำลังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยไซเบอร์ ดึงศักยภาพคนรุ่นใหม่ พร้อมทำงานเชิงรุก ก้าวสู่ปีแห่งความปลอดภัยไซเบอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผสานความร่วมมือกับ AIS ผู้ให้บริการเครือข่ายดิจิทัลของประเทศ ขับเคลื่อนภารกิจสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์ให้กับประชาชน ผ่านการส่งเสริมทักษะทางดิจิทัลและความรู้เท่าทัน ภัยทางการเงิน
ประชาชนไม่เชื่อมือรัฐบาลแก้ปัญหาปากท้อง
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ปัญหาเร่งด่วนของคนไทย ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,264 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 11 - 14 มีนาคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าปัญหาเร่งด่วนที่อยากให้รัฐบาลแก้ไขมากที่สุด
‘ดัชนีการเมือง’ เดือน ก.พ. คะแนนฝ่ายค้านสูงขึ้น
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,179 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 24-28 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เฉลี่ย 5.02 คะแนน ลดลงจากเดือนมกราคม 2568 ที่ได้ 5.06 คะแนน
ดัชนีการเมือง ม.ค. ดีดตัว ‘อิ๊งค์ - เท้ง’ โดดเด่นในวงการ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมกราคม 2568” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,261 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 27-31 มกราคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมกราคม 2568 เฉลี่ย 5.06 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2567 ที่ได้ 4.97 คะแนน
ดุสิตโพลเผยคะแนนนิยมฯ นายกอิ๊งค์ ลดลง
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนธันวาคม 2567”
ดุสิตโพล เผยภัยหลอกลวงออนไลน์ เป็นปัญหาใหญ่สุดอย่างให้เข้มงวดแก้ไข
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ภัยสังคมที่ประชาชนอยากให้เร่งแก้ไข” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,357 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม 2567