
กรีนพีซ ประเทศไทย รายงานสภาพอากาศของไทยในปี 2567 โดยยึดตามข้อมูลรายงานคุณภาพอากาศโลกประจำปี 2567 ของ IQAir ซึ่งรายงานว่า ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 จาก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุด ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากปี 2566 ที่อยู่ในอันดับที่ 5 นอกจากนี้ ในการจัดอันดับระดับโลกครอบคลุม 138 ประเทศ ภูมิภาค และดินแดนต่างๆ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 45 แสดงถึงคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งไทยอยู่ในอันดับที่ 36
แม้ว่าในปี 2567 ประเทศไทยจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นโดยสามารถปรับตัวขยับขึ้นมา 1 อันดับในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเลื่อนขึ้นถึง 9 อันดับในการจัดอันดับระดับโลกที่ครอบคลุมประเทศ ภูมิภาค และดินแดนต่างๆ แต่เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ PM2.5 เทียบกับค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ไทยยังคงอยู่ในเกณฑ์ระดับสีส้ม ซึ่งบ่งชี้ว่ายังมีผลกระทบต่อสุขภาพที่น่ากังวล โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบาง โดยมีการตรวจพบค่า PM2.5 ที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานที่ WHO กำหนดไว้ถึง 3.96 เท่า
รายงานคุณภาพอากาศโลกประจำปีฉบับที่ 7 ของ IQAir ได้เปิดเผยสถานการณ์ที่น่าวิตกเกี่ยวกับประเทศ อาณาเขต และภูมิภาคที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศรุนแรงที่สุดในปี 2567 สำหรับการศึกษาครั้งนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ด้านคุณภาพอากาศของ IQAir ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก ครอบคลุมพื้นที่ 8,954 แห่ง ในทั้งหมด 138 ประเทศ ดินแดน และภูมิภาค
ข้อค้นพบหลักรายงานคุณภาพอากาศโลก 2567 มีเพียงร้อยละ 17 ของเมืองทั่วโลกเท่านั้น ที่มีคุณภาพอากาศต่ำกว่า หรืออากาศดีกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก , 7 ประเทศที่มีคุณภาพอากาศต่ำกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) (ค่าเฉลี่ยรายปี 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ได้แก่ ออสเตรเลีย, บาฮามาส, บาร์เบโดส, เอสโตเนีย, เกรเนดา, ไอซ์แลนด์ และนิวซีแลนด์ , ทั้งหมด 126 ประเทศและภูมิภาค (คิดเป็นร้อยละ 91.3) จาก 138 แห่ง มีคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีสูงเกินค่าแนะนำของ WHO ที่กำหนดไว้ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร , เมือง Byrnihat ในอินเดีย เป็นเขตเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในปี 2567 มีคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 128.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อินเดีย เป็นที่ตั้งของ 6 ใน 9 เมืองที่มีมลพิษสูงที่สุดในระดับโลก
ข้อค้นพบหลักในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉลี่ยรายปี 2567 ดีขึ้นกว่าปี 2566 แม้ว่าปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดน และสภาพอากาศจากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ยังคงส่งผลกระทบจะยังเป็นปัจจัยสำคัญอยู่ก็ตาม อินโดนีเซียยังคงเป็นประเทศที่มีมลพิษมากที่สุดในภูมิภาค โดยอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลก แม้ว่าระดับ PM2.5 จะลดลงเพียงเล็กน้อย

ส่วนข้อค้นพบหลักในประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับที่ 45 ของโลก และอันดับที่ 6 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปริมาณฝุ่นพิษ PM2.5 เฉลี่ยรายปีที่ 19.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยสูงกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO ถึง 3.96 เท่า
ทั้งนี้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับที่ 42 ของเมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดของโลก มีปริมาณฝุ่นพิษ PM2.5 เฉลี่ยรายปี 18.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
โดยในปี 2567 เดือนมีนาคม – เมษายน เป็นช่วงที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุด โดยจังหวัดเชียงใหม่มีค่าเฉลี่ยฝุ่นพิษ PM2.5 รายเดือนเรียงตามลำดับอยู่ที่ 71.6 และ 76.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินมาตรฐานค่าแนะนำของ WHO มากกว่า 10 เท่าซึ่งหมายถึงระดับมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ
ในประเทศไทยมีการจัดลำดับเมืองที่มีมลพิษใน 6 เมือง เรียงตามลำดับ ปริมาณฝุ่นพิษ PM2.5 เฉลี่ยรายปี ได้แก่ เชียงใหม่ (26.4) แม่ริม (25.2) ขอนแก่น(23.7) นครราชสีมา (21.5) กรุงเทพฯ (18.9) และหาดใหญ่ (14.3)
รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ นักรณรงค์ด้านอาหารและป่าไม้ กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นที่พื้นที่ภาคกลางหรือภาคเหนือ ล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและควบคุมคนตัวเล็ก ๆ เช่น ห้ามใช้ไฟ-เผาเด็ดขาด ห้ามขับรถ ทำงานที่บ้าน แต่ทั้งนี้กลับไม่ลงมาตรการควบคุมไปที่บริษัทเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตและฟอสซิลผู้ก่อมลพิษ ทางออกที่เป็นรูปธรรมของปัญหาฝุ่นพิษคือการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยนโยบายรัฐ และความกล้าหาญของรัฐในการเอาผิดต่อบริษัทอุตสาหกรรม เพื่อไม่ให้ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอยู่เหนือสุขภาพของคนไทย
ปัจจุบันรัฐบาลไทยยังคงแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ที่ปลายเหตุเป็นหลัก โดยมักเน้นมาตรการระยะสั้น เช่น คำสั่งห้ามเผาเด็ดขาด (Zero Burn) ลดใช้ยานพาหนะ โดยมีประกาศให้ขึ้นรถไฟฟ้า-ขสมก. ฟรีเป็นเวลา 7 วัน หรือการประกาศให้ประชาชนลดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง มากกว่าการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา แม้ว่าจะมีการออกมาตรการควบคุม เช่น การจำกัดการเผาพื้นที่เกษตรกรรม การรณรงค์ใช้พลังงานหมุนเวียน และการผลักดันมาตรฐานไอเสียที่เข้มงวดขึ้น แต่การบังคับใช้กฎหมายยังคงหละหลวม ขาดการติดตามผลอย่างจริงจัง ไม่มีแผนระยะยาวแบบบูรณาการทุกภาคส่วน แต่กลับเน้นการควบคุมการก่อมลพิษและผู้ได้รับผลกระทบที่ปลายเหตุ ส่งผลให้ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงเกิดขึ้นซ้ำทุกปี
ภาครัฐมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่ต้นเหตุของแหล่งกำเนิด PM 2.5 อย่างเป็นรูปธรรม โดยควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจน จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ และยกระดับประเด็นนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติอย่างแท้จริง การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาต้องเป็นไปอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ โดยต้องให้ความสำคัญกับผลประโยชน์และสุขภาพของประชาชนเหนือผลประโยชน์ของกลุ่มทุนภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการเข้าถึงอากาศที่สะอาดถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อดีต รมว.กต. อวย 'ทักษิณ' คุย 'อันวาร์' ช่วยให้เห็นแสงสว่างในเมียนมาอย่างไม่เคยมีมาก่อน
อดีตรมว.ต่างประเทศ มอง "อันวาร์-ทักษิณ" พบกันเป็นเรื่องที่น่ายินดีต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในเมียนมา
กต. แถลงผลการหารือ 'อันวาร์-มินอ่องหล่าย' นำไปสู่การฟื้นฟูเมียนมาจากแผ่นดินไหว
นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ถึงการหารือร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างดาโตะ เซอรี อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน
'อันวาร์' โพสต์ภาพ ประชุมร่วม 'ทักษิณ' แลกเปลี่ยนสร้างสันติภาพในเมียนมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายดาโตะ เซอรี อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟสบุ๊กว่า เมื่อ
'กรุงเทพฯ' ครองแชมป์จุดหมายปลายทางยอดนิยม ดันเศรษฐกิจไทยฟื้น
'สงกรานต์' ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก 'กรุงเทพฯ' ครองแชมป์จุดหมายปลายทางยอดนิยม เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแข็งแกร่ง ขึ้นแท่นอันดับ 2 อาเซียน
'ทักษิณ' จ่อคุย 'อันวาร์' จับมืออาเซียน เจรจา 'ทรัมป์' แบบพันธมิตร ไม่ต่อรองกดดัน
'ทักษิณ' เตรียมหยิบวาระอาเชียนรับมือกำแพง 'ภาษีทรัมป์' คุย 'อันวาร์' โอกาสเยือนไทย 17 เม.ย.นี้ ชี้เจรจาสหรัฐแบบพันธมิตร ไม่ต่อรองกดดัน มั่นใจประเทศไม่ลำบาก
‘ดร.อนุสรณ์’ แนะลดผลกระทบภาษีการค้าสหรัฐ ผนึกกำลังอาเซียนต่อรอง
ดร.อนุสรณ์ เสนอแนะลดผลกระทบภาษีตอบโต้การค้า ผนึกกำลังอาเซียนต่อรอง ก่อตั้งและเข้าร่วม North Asia and AEC New Free Trade Zone