นายกฯพอใจบริหารจัดการน้ำชี้ใช้งบคุ้มค่า 2 ปีเพิ่มแหล่งน้ำ 2.6 หมื่นแห่ง

โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ พอใจผลงานบริหารจัดการน้ำของประเทศ ใช้งบกลางคุ้มค่า 2 ปี เพิ่มแหล่งน้ำกว่า 2.6 หมื่นแห่งทั่วประเทศ เก็บน้ำฝนใช้หน้าแล้ง 742 ล้าน.ลบ.ม. ประชาชนได้ประโยชน์ครอบคลุมพื้นที่ 7.5 ล้านไร่

3 เม.ย. 2565 – นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบของประเทศอย่างต่อเนื่องใกล้ชิด พอใจผลการดำเนินงานพัฒนาและบริหารจัดน้ำอย่างเป็นระบบภายใต้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการแก้ไขปัญหาเชิงการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทั้งการบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง ป้องกันน้ำท่วม และคุณภาพน้ำ ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 – 2564) รัฐบาลได้มีการบูรณาการทุกหน่วยงานด้านน้ำโดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการพิจารณาแผนงาน/โครงการของหน่วยงานต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ระบบกระจายน้ำเพื่อสนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภค ตลอดจนการเกษตรครอบคลุมทั้งประเทศ รวม 26,830 แห่ง เช่น การขุดเจาะบ่อบาดาล แหล่งน้ำสำรองเพื่อผลิตน้ำประปา ก่อสร้างฝายและสระเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ขุดลอกคลอง และกำจัดวัชพืช เป็นต้น

นายธนกรกล่าวว่า สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ภายใต้งบกลาง ปี 2563 มีทั้งสิ้น 20,795 แห่ง ซึ่งทุกแห่งได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น เกิดประโยชน์กับประชาชนและเกิดการจ้างแรงงานกว่า 184,000 ราย ส่วนงบกลาง ปี 2564 มีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำรวม 6,035 แห่ง เน้นรองรับสถานการณ์ฝนตกน้อย และความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้นจากการอพยพกลับภูมิลำเนาเดิมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 เพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรม ล่าสุดดำเนินการแล้วเสร็จ 3,642 แห่ง และอยู่ระหว่างดำเนินการ 2,441 แห่ง ซึ่งรัฐบาลโดย สทนช. มีการติดตามความก้าวหน้าและเร่งดำเนินการเพื่อให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ คาดว่าหากโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จ จะสามารถทำให้เก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนเพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้งได้รวม 742 ล้าน ลบ.ม. อีกทั้งยังสามารถนำน้ำบาดาลมาใช้ได้ถึง 91 ล้าน ลบ.ม. และมีน้ำดิบผลิตประปาได้อีก 62 ล้าน ลบ.ม. ส่งผลให้เกิดประโยชน์โดยตรงกับประชาชนถึง 3.65 ล้านครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7.5 ล้านไร่

“นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ยังได้มีมติอนุมัติงบกลางฯ เพื่อพัฒนาโครงการรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 รวม 2,525 แห่ง ซึ่งคาดว่าหากดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถช่วยป้องกันและลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งได้ รวมทั้งเพิ่มการลงทุนภาครัฐและจ้างแรงงานคนในท้องถิ่นด้วย” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว ///

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลมเกลียว! 'ธรรมนัส'จับมือ'อนุชา' จัดการปัญหาน้ำช่วยชาวนาชัยนาท

“ธรรมนัส ควงอนุชา”  ฟังเสียงชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง เล็งสร้างอาคารบังคับน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา เพิ่มน้ำต้นทุน ช่วยพื้นที่เกษตรกว่า 1 หมื่นไร่

เบรกหัวทิ่ม! ครม.สัญจรอีสาน หยุดรัฐนายทุนทำลายสวล.เขมือบทรัพยากรประเทศ

เครือข่ายทรัพย์ฯอีสาน  ยกขบวน จี้นายกฯและครม.สัญจร หยุดโครงการทำลายสิ่งแวดล้อม ผันน้ำโขง เลย ชี มูน และเหมืองแร่โปแตช สับเละรัฐบาลละเมิดสิทธิชาวบ้าน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตทรัพยากร สะท้อนชัดล้มเหลวบริหารจัดการน้ำ  

'สมศักดิ์' สำรวจสุดสายแม่น้ำชี ต่อยอดโครงการบริหารจัดการน้ำ

“สมศักดิ์” ควง สทนช. นั่งเฮลิคอปเตอร์ยาว ดูแม่น้ำชี จากอุบล-เลย-หนองบัวลำภู 643 กิโลเมตร เล็ง ต่อยอดโครงการบริหารจัดการน้ำ เผย ปี 68-70 มี 26 โครงการ

สทนช.ยืนยันดำเนินงานตามภารกิจลดความซ้ำซ้อนสร้างความมั่นคงด้านน้ำ

สทนช. ย้ำดำเนินภารกิจภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561 ยืนยันไม่ได้รวบอำนาจ แต่บูรณาการหน่วยงานด้านน้ำให้มีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว ลดความซ้ำซ้อน สร้างความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมแจงระบบ Thai Water Plan (TWP) ช่วยขับเคลื่อนภารกิจการแก้ไขปัญหาด้านน้ำของประเทศในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน

รัฐบาลวางแผนดันไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปสุดท้ายของโลก

'เศรษฐา'ย้ำต้องบริหารจัดการน้ำรอบด้าน พร้อมตั้งเป้าให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปสุดท้ายของโลก ด้าน ส.อ.ท. เปิด 8 ข้อเสนอนายก เร่งสรุปแอคชั่นแพลนใน 1-2 สัปดาห์ ก่อนพัฒนาแผนทำงานร่วมกัน

ชาวนาลุ่มน้ำชีเดือดร้อน น้ำท่วมนาข้าวเสียหายหนัก ชี้บริหารจัดการน้ำผิดพลาดต้องรับผิดชอบ

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดร้อยเอ็ด-ยโสธร ร่วมตั้งข้อสังเกตถึงสถานการณ์ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรว่าเกิดจากชลประทานบริหารจัดการน้ำผิดพลาด ทั้งๆที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนแล้ว และน้ำก็ไม่น่าจะท่วม ในขณะที่ชาวบ้านลุ่มน้ำชีลงทุนทำนาปี