'สาธิต' ขีดเส้น 12 พ.ค.จบเรื่องสูตรคำนวณปาร์ตี้ลิสต์

'ปธ.กมธ.กฎหมาย' ลูกขีดเส้นจบปัญหาสูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 12 พ.ค.นี้ ติง กมธ.บกพร่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สะเด็ดน้ำ ดักคอศาลเคยการันตีรัฐธรรมนูญแล้ว

11 พ.ค.2565 - นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุม กมธ.วิสามัญว่า เป็นการพิจารณากฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งขณะนี้ยังเหลืออีกหลายมาตรา โดยวันนี้คงจะพิจารณากันเต็มที่ และจะพยายามให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนวันที่ 12 พ.ค. จะเป็นการพิจารณากฎหมายเรื่องการเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือ เรื่องวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือที่บางคนใช้คำว่าส.ส.พึงมี แต่ทั้งหมดขึ้นต้องอยู่กับการแก้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาที่ต้องยึดโยงมาตรา 91 ว่าที่แก้มามีหลักการอย่างไร ส่วนประเด็นความเห็นต่างก็เป็นสิทธิของ กมธ.วิสามัญที่จะสงวนความเห็น หรือยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ แต่ใน กมธ.วิสามัญมีความชัดเจนอยู่แล้วว่า การพิจารณาวิธีการคำนวณต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่แก้ไขมาแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นการคำนวณโดยเป็นไปตามสัดส่วนที่สัมพันธ์กันกับพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งในจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน คือการเอา 100 ไปหาร

เมื่อถามว่า ตอนนี้ยังมีการถกเถียงกันเรื่องหาร 100 หรือ 500 จะทำให้ต้องขยายกรอบเวลาหรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า ต้องแยกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของความเห็นที่ใครจะมีความเห็นอย่างไรก็ได้ แต่ในส่วนของการร่างกฎหมายต้องเป็นไปตามหลักการและเป็นไปในแนวทางกฎหมาย รวมถึงระเบียบข้อบังคับของรัฐสภา โดยต้องแก้ไขไปตามหลักการ และร่างที่ขอแก้จะต้องเป็นไปตามหลักใหญ่คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาแล้ว ทั้งนี้จะพยายามพิจารณาประเด็นหาร 100 หรือ 500 ให้จบภายในวันที่ 12 พ.ค. เพราะเรามีข้อตกลงกันแล้วว่าการโหวตไม่ต้องนัดล่วงหน้า เพื่อให้การพิจารณาเสร็จตามเป้าหมายตามที่กำหนดไว้คือ วันที่ 22 พ.ค. เราจะเดินหน้าทำให้กฎหมายเสร็จโดยเร็ว เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญของสถานการณ์และนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองหรือไม่หรืออยู่จนครบวาระ หากผ่านวาระ 3 กฎหมายสองฉบับนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้ประชาชนตัดสินในการเลือกตั้งครั้งหน้า

ถามว่า มีกมธ.วิสามัญบางคนเห็นว่าการหารด้วย 100 อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะแก้ไขแค่มาตรา 91 นายสาธิต กล่าวว่า เป็นอีกความเห็นหนึ่ง สำหรับการแก้ไขมาตราเดียวนั้นต้องยอมรับว่าเป็นความบกพร่องของ กมธ.วิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญบางส่วนแก้ไขไม่ครบถ้วน แต่ไม่เป็นเหตุจนถึงต้องไปเปลี่ยนสัดส่วนในการคำนวณ เพราะคำพูดในการแก้ไขมีความชัดเจนแล้ว

ถามต่อว่า ในอนาคตหากมีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายลูกฉบับนี้จนกระทบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องเริ่มกระบวนการแก้ไขใหม่หรือไม่ นายสาธิต กล่าวว่า เป็นเรื่องของอนาคตที่จะต้องไปติดตามว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีความเห็นอย่างไร จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ แต่ในขั้นตอนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมามีการนำร่างที่แก้ไขเสร็จแล้วส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งขั้นตอนนั้นเป็นสิ่งที่บอกว่าเมื่อผ่านมาแล้วไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่พอมายื่นใหม่จะมีปัญหาก็จะต้องมีเหตุผลว่าปัญหาไม่ตรงกับครั้งแรกอย่างไร

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แฉเล่ห์ 'พท.' วางยาแก้ รธน. ล็อกคำถามประชามติครั้งแรก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พรรคเพื่อไทยจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

'รทสช.' ลั่นเห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลทุกประการ!

'รวมไทยสร้างชาติ' ย้ำจุดยืนเดิมที่มั่นคงแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 ยันการทำประชามติ 3 ครั้งใช้งบมาก แต่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยศาลและรัฐธรรมนูญ

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน

พรรคร่วมรัฐบาลเคาะ 'ทำประชามติ' 3 รอบ เข้า ครม. อังคารนี้

'ภูมิธรรม' คอนเฟิร์มทำประชามติ 3 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย ชง ครม. อังคารนี้ คาดทำรอบแรกเดือน ส.ค. ซัดกลุ่มจ้องเคลื่อนไหวห้ามปชช.ใช้สิทธิ์ ปัดหารือหัวหน้าพรรคร่วมเรื่องนิรโทษกรรม

ศาลรธน. ไม่รับคำร้องขอวินิจฉัยอำนาจสภาฯแก้รัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของประธานรัฐสภาที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของรัฐสภา ในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256