'นิด้าโพล' เผยผลเลือกตั้งกทม. ส่งผลคะแนนนิยมของรัฐบาล

29 พ.ค. 2565 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผลกระทบของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ต่อการเมืองระดับชาติ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,322 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับผลกระทบของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ต่อการเมืองระดับชาติ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample)ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อการที่ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ77.76 ระบุว่า ไม่แปลกใจเลย เพราะ เป็นคนเก่ง มีคุณสมบัติเพียบพร้อม มีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน และลงพื้นที่รับฟังเสียงจากประชาชนอย่างสม่ำเสมอ จึงได้รับความไว้วางใจจากคนกรุงเทพฯ รองลงมา ร้อยละ 8.85 ระบุว่า ไม่ค่อยแปลกใจ เพราะ มีภาวะผู้นำ มีความเป็นกลางสามารถทำงานได้กับทุกฝ่าย ขณะที่บางส่วนระบุว่า คนกรุงเทพฯ ต้องการการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 7.34 ระบุว่า แปลกใจมาก เพราะ ผลงานในการพัฒนา กทม. ของ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยังไม่มี แต่กลับได้รับคะแนนเสียงเป็นจำนวนมาก ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่คิดว่าคะแนนเสียงที่ได้รับจะถล่มทลายทิ้งห่างคู่แข่งมากขนาดนี้ และร้อยละ 6.05 ระบุว่า ค่อนข้างแปลกใจ เพราะ ลงสมัครในนามอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง แต่กลับชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย

ท้ายที่สุดเมื่อถามประชาชนถึงผลกระทบต่อการเมืองในระดับชาติจากการที่ ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.88 ระบุว่า คาดว่าจะส่งผลในทางลบต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 32.53 ระบุว่า จะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อคะแนนนิยมของรัฐบาล ร้อยละ 15.96 ระบุว่า เป็นแค่การเลือกตั้งในจังหวัดหนึ่งเท่านั้น ร้อยละ 9.53 ระบุว่า อาจมีการยุบสภาเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ ร้อยละ 8.40 ระบุว่า จะส่งผลต่อการเลือกตั้ง ส.ส. ในกรุงเทพฯ เท่านั้น ร้อยละ 6.43 ระบุว่า สังคมไทยจะเผชิญกับความขัดแย้งหรือการแบ่งฝ่ายทางการเมืองมากขึ้น ร้อยละ 6.35 ระบุว่า สังคมไทยได้ก้าวข้ามความขัดแย้งหรือการแบ่งฝ่ายทางการเมืองแล้ว ร้อยละ 4.99
ระบุว่า พรรค/กลุ่มการเมือง ฝ่ายค้านจะเกาะกระแส ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในการต่อต้านรัฐบาล ร้อยละ 3.33 ระบุว่า รัฐบาลจะอยู่ยาวเพื่อหาทางสร้างคะแนนนิยมเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 2.12 ระบุว่า บางพรรคอาจถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลเพื่อเอาตัวรอด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซูเปอร์โพลตอกย้ำ คะแนนนิยม ‘ก้าวไกล’ เหนือกว่า ‘เพื่อไทย’ 1 เท่าตัว

พรรคก้าวไกลมีคะแนนสูงกว่าเพื่อไทยอยู่ประมาณหนึ่งเท่าตัว แต่พรรคก้าวไกลก็ยังจะไม่มีคะแนนนิยมมากพอที่จะชนะการเลือกตั้งจนตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ถ้ายังทำงานการเมืองแบบนี้ต่อไป

หรือจะเหนื่อยฟรี! โพลชี้ ‘ทักษิณ’ เคลื่อนไหว ไม่มีผลต่อคะแนนนิยม ‘เพื่อไทย’ ครั้งหน้าก็ยังแพ้

ถามถึงความเป็นไปได้ที่พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.98 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย

'ซูเปอร์โพล' การันตี 'ทักษิณ' เป็นผู้มีบารมี ปชช.วอนแก้ปากท้อง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง จับกระแสโพล ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

'นิด้าโพล' ชี้ คนไทย ไม่เห็นด้วยนโยบาย ยาบ้า 5 เม็ด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยาบ้า 5 เม็ด กับผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้