เพื่อไทยอัดรัฐบาลสร้างหนี้เพียบดอกเบี้ยพุ่งแถมจัดเก็บภาษีพลาด

กมธ.งบฯ ถกเครียด งบคลัง เจอหนี้เพียบ ค่าดอกเบี้ยพุ่ง เหตุ จัดเก็บพลาด ประเมิน ศก.ผิด

12 มิ.ย. 2565 – นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปิดเผยว่า การประชุม กมธ.งบฯ ได้พิจารณาสัปดาห์แรกจบไปแล้ว เป็นในส่วนของภาพรวมเศรษฐกิจและกระทรวงการคลัง รวมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สิ่งที่พบเจอ ล้วนแต่น่าหนักใจ 1. “หนี้บนพรมพรึบ หนี้ใต้พรมเพียบ” นอกจากหนี้สาธารณะ 4.4 ล้านล้านบาท ที่ถูกสร้างใหม่ขึ้นใน 8 ปี ยังเจอกับหนี้ที่ไม่ถูกบันทึกเป็นหนี้สาธารณะจากมาตรการกึ่งการคลังอีกราว 1 ล้านล้านบาท และพุ่งแรงต่อเนื่องจากมาตรการด้านการเกษตรของรัฐบาล เป็นรายจ่ายก้อนโตทุกๆปี ที่ต้องตั้งงบประมาณจ่ายไปยัง ธกส. เป็นส่วนใหญ่ ที่สำคัญแทบไม่มีข้อมูลเลยว่ารัฐบาลใช้อะไรไปบ้าง ยอดคงค้างเท่าไหร่ ชำระเป็นอย่างไร กมธ.จากพรรคเพื่อไทยได้เรียกขอเอกสารไปทั้งหมด ต้องติดตามกันดูต่อ

1.“ค่าดอกเบี้ยพุ่ง” : การใช้หนี้สาธารณะในส่วนของ สบน. ปีนี้เป็นดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงถึง 192,126 ล้านบาท เกือบ 3 เท่าของการชำระเงินต้น ภาษีประชาชนถูกนำไปใช้หนี้แต่ไปจมอยู่ที่ค่าดอกเบี้ย ยังไม่รวมค่าดอกเบี้ยจากหนี้ใต้พรมอีก นี่คือต้นทุนอันมหาศาลของการกู้เงินและการสร้างหนี้สาธารณะไปเรื่อยๆ ซึ่งในระยะหลังๆเป็นการกู้ที่ไม่สร้างรายได้ให้กับประเทศ

2.“ประเมิน ศก. ฝันหวาน” : ภาพที่เห็นที่ห้อง กมธ.งบฯ นั้นหน่วยงานที่ชี้แจงเสนอภาพที่เต็มด้วยความหวัง ในขณะที่ฝั่ง กมธ. กลับเห็นภาพที่น่าเป็นห่วง เหมือนอยู่กันคนละประเทศ ต้องเจอทั้งเรื่องเงินเฟ้อ ผลจากการต่อสู้เงินเฟ้อของ FED ต้นทุนการผลิตพุ่ง รวมถึงผลกระทบหากไทยต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย การคาดการณ์ GDP สำหรับปี 66 (ซึ่งใช้ทำงบ) ที่ 3.7% ยังคงตัวเลขเดิมตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา แม้จะมีปัจจัยลบใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3.“จัดเก็บพลาด” : ปีงบฯ 65 กรมสรรพาสามิตเก็บภาษีพลาดเป้าทุกเดือนติดต่อกัน ต่ำกว่าเป้าถึง 26,501 ล้านบาท และภาษีสำหรับการระดมทุนทั้งในตลาดหุ้นและตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล มีแนวโน้มเดินหน้าต่อ ทั้งสองภาษีนี้ทำลายตลาดการระดมทุนของประเทศ ในขณะที่ภาษีที่ควรเก็บเช่น ภาษีมรดก กลับไม่คืบหน้า ย่ำอยู่กับที่ราว 200 กว่าล้าน

4.“ธนาคารรัฐ วางบทบาทผิด” : ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งมุ่งสร้างกำไร มุ่งลด NPL เพิ่ม BIS แต่พันธกิจหลักในการเข้าทำในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากทำ เข้าเสี่ยงในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากเสี่ยง กลับไม่ได้ทำ SME bank ที่มีหน้าที่เข้าช่วย SMEs ในช่วงวิกฤตโดยตรง กลับมี NPL ที่ลดลง ที่น่าตกใจสินเชื่อปล่อยใหม่ตั้งแต่ต้นปี 65 แทบไม่มี NPL เลย อีกทั้งเงินให้กู้ยืมต่อรายกลับเพิ่มขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับพันธกิจที่ต้องยอมเสี่ยงเพื่อช่วย SMEs

5. “การคลังชนเพดาน การเงินโดนกดดัน” : ด้านการคลัง งบฉบับนี้ผ่านการเค้นทั้งการประมาณการรายได้ที่สูงเกินจริง จากการคาดการณ์ที่ GDP ที่สูงเกินจริง ซ้ำยังตั้งขาดดุลเกือบเต็มเพดานเพื่อทำให้มีเงินมาใช้จ่าย จนเรียกได้ว่าการคลังชนเพดาน ส่วนนโยบายการเงินก็ถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศให้ในที่สูงอาจต้องฝืนขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งๆ ที่ประเทศไม่มีความพร้อมเลย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' การันตี ภท. ไม่ปรับ ครม. ชี้ 8 รมต. ทำงานคืบหน้า

'อนุทิน' ย้ำรัฐมนตรีภูมิใจไทย 8 คน ไม่มีขยับ ชี้ทุกคนทำงานเต็มที่ผลักดันนโยบายคืบหน้าตลอด นายกฯ ยังไม่ส่งสัญญาณปรับ ครม. พร้อมอุ้ม 'เกรียง' มอบ พช. ดูแลเพิ่มอีกกรม

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ' 23 พ.ค. เจ้าตัวแย้มจ่อลุยการเมือง

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ เพ็ญแข' ครอบครองอาวุธสงคราม 23 พ.ค.นี้ เจ้าตัวเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม จ่อลุยการเมืองหลังพ้นคดี ชี้ ‘ยิ่งลักษณ์’ ควรได้ความเป็นธรรมเหมือนทุกคน

'กูรูการเมือง' ชำแหละ! ปั่นเฟกนิวส์ 'วันนอร์' ไขก๊อกประธานสภา

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า เบื่อกาลวินาศมาถึง อะไรต่อมิอะไรก็วิปริตแปรปรวนไป

'โรม' เขย่ารัฐบาล ทำประชามติ 2 ครั้ง ไม่เปลืองงบฯ ปชช.แบกรับความสูญเสีย

“รังสิมันต์’ มอง ทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว เหตุทำ 3 ครั้ง เปลืองงบ-เสียเวลา เตือน หากทุกฝ่ายกลัวการตีความกฎหมาย คนแบกรับความสูญเสียคือ ปชช.  เรียกร้อง ‘วันนอร์’ รีบบรรจุวาระแก้รธน. เข้าสภาฯ