รัฐสภาไฟเขียวบัตรเลือกตั้ง 2 ใบคนละเบอร์ พร้อมห้ามจัดมหรสพ ด้านครูมานิตย์พยากรณ์ฟื้นสูตรหาร500 รถแจกกล้วยวิ่งเข้าทุกเขตเลือกตั้ง
06 ก.ค.2565 - ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเป็นประธานการประชุม มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจากเมื่อวันที่ 5 ก.ค. โดยเมื่อเปิดประชุมมานายชวนได้สั่งให้ลงมติมาตรา 6/3 ซึ่งเป็นมาตราที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) เสียงข้างน้อยขอสงวนคำแปรญัตติไว้ โดยขอให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ หมายเลขเดียวกันทั้งแบบแบ่งเขตและพรรค ซึ่งผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 150 ไม่เห็นด้วย 341 งดออกเสียง 5 ไม่ออกเสียง 3 เสียง
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมพิจารณาเรียงรายมาตรา จนถึงมาตรา 12 เรื่องข้อห้ามมิให้ผู้สมัครกระทำการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ตนเองหรือผู้อื่นด้วยการสัญญาจะให้ทรัพย์สิน เงินทอง การสัญญาว่าจะให้ การจัดมหรสพงานรื่นเริงต่างๆตามที่ กมธ.เสียงข้างมากเสนอมานั้น มีสมาชิกรัฐสภาอภิปรายอย่างกว้างขวาง
นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายว่า มีความกังวลมาตรฐานการทำงานของ กกต. ขณะนี้เห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นแล้วจากการจะกลับไปใช้สูตร 500 หารจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นการแย่งชิงอำนาจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นขอรักษาอำนาจตนเองไว้ก่อน ไม่สนใจสังคม อยากมีอำนาจทั้งที่เศรษฐกิจแย่ ประชาชนยากจนทุกหย่อมหญ้า แต่ท่านอยากไปต่อ ฝ่ายค้านน่าเป็นห่วงที่สุดนอกจากโดนความพิสดารของรัฐธรรมนูญแล้ว การเลือกตั้งครั้งหน้าไม่รู้จะโดนอะไรอีก ทราบว่าขณะนี้การแบ่งเขตเลือกตั้งเริ่มฮั้วให้บางพรรคแล้ว จังหวัดใดได้ผู้แทนเพิ่มเริ่มมีปัญหา เชื่อว่ากระบวนการแจกกล้วยจะกระจายไปยังเขตเลือกตั้งเป็นคันรถ กกต.รู้ แต่ไม่ปฏิบัติเพราะต้องหาหลักฐาน บางบ้านสะสมเสบียงเป็นพันล้านบาทเตรียมเลือกตั้ง วันนี้เรารบกับ 3ป. ไม่ใช่ปลากัด ปลาดุก ปลาช่อน แต่คืออำนาจเต็ม ขอฝากไปยัง กกต.ที่จะสร้างประชาธิปไตยในแผ่นดินให้ความเป็นธรรมกับบ้านเมือง พวกตนหมดปัญญาแล้ว ต่อให้ยกสองมือ ไม่มีทางชนะ ตนยอมแล้ว
ขณะเดียวกันมีสมาชิกรัฐสภาคนอื่นๆอาทิ นายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. นายขจิตร ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย อภิปรายต้องการให้จัดงานมหรสพในการหาเสียงได้ ไม่ได้ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองหรือผู้สมัคร เพราะมีการกำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายของผู้สมัครและพรรคการเมืองไว้อยู่แล้ว การจัดงานมหรสพเป็นวิธีให้ประชาชนออกมารวมตัวฟังการแถลงนโยบายในหมู่คนจำนวนมากได้ อย่าเอาการได้เปรียบเสียเปรียบจากการฟังปราศรัยมาเกี่ยวข้อง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กมธ.เสียงข้างน้อย ชี้แจงเหตุผลห้ามจัดงานมหรสพว่า เนื่องจากมีความไม่เหมาะสม มีการห้ามจัดงานมหรสพในการเลือกตั้งทุกครั้งอยู่แล้ว เพราะอาจทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างพรรคที่มีเงินจัดมหรสพกับพรรคที่ด้อยกว่า การให้นำการจัดงานมหรสพคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายการเลือกตั้งนั้น ทำได้ยาก เพราะราคามหรสพไม่มีมาตรฐานใดๆ วัดได้ ถ้ารู้จักดาราอาจมาให้ฟรี คิดค่าใช้จ่ายน้อย ถ้าไม่รู้จักอาจคิดราคาแพง พรรคใหญ่อาจจ้างมาราคาแพง แต่บอกค่าใช้จ่ายน้อย เวลาจัดงานมหรสพ ประชาชนสนใจแต่งานมหรสพ ไม่สนใจฟังปราศรัยหาเสียง
ที่สุดที่ประชุมลงมติยืนตาม กมธ. คือ ห้ามมิให้ผู้สมัครกระทำการจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ตนเองหรือผู้อื่นด้วยการสัญญาจะให้ทรัพย์สิน เงินทอง การสัญญาว่าจะให้ การจัดมหรสพงานรื่นเริงต่างๆ ด้วยคะแนน 401ต่อ 78 งดออกเสียง 6 ไม่ลงคะแนน 3 เสียง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อาจารย์ไชยันต์' ฝันรัฐสภาตัดสินเรื่อง 'กาสิโน-พนันออนไลน์' อย่างถูกต้องชอบธรรม!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รัฐสภา ถกแก้ข้อบังคับ 'สว.-รทสช.' รุมค้านเปิดทาง 'คนนอก' ร่วมวงกมธ.แก้รธน.
ที่รัฐสภา ในการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่…) พ.ศ…. เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บั
รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?
ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา
กระตุก ‘กกต.’ ควรมีโครงการอบรมมารยาทผู้ช่วยหาเสียง ไม่ให้การหาเสียงน่าสมเพช
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง 'สิ่งที่ ผู้ช่วยหาเสียง ควรรู้ในการหาเสียง'
‘สมชัย’ สะท้อนเสียงคนจนต่อนโยบายรัฐ บอกสมัย ‘ลุงตู่’ ดีกว่า
สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง คุยกับคนจนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐ
ปธ.'รูทีนตีนตุ๊กแก' ลั่นตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา นิติบัญญัติ-บริหารต้องแยกกัน
'วันนอร์' ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภาฯ ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ต้องแยกฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร ชี้ตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา ลั่นหากต้องการเปลี่ยนเสนอญัตติมาได้