เข้าทางคอกแม้ว! นักกฎหมาย ชี้หากพิจารณากม.เลือกตั้งส.ส.ไม่เสร็จใน 180 วัน ต้องใช้สูตรหาร 100

8 ส.ค.2565 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หากรัฐสภาพิจารณาไม่เสร็จสิ้น ภายใน 180 วัน จะใช้สูตรใดคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ว่าบทบัญญัติที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้อำนาจในหมวดที่ 7 ว่าด้วยรัฐสภา ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่รัฐสภาทั้งสอง โดยมาตรา 130 กำหนดให้มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจำนวน 10 ฉบับ ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 130(1) เป็นหนึ่งในสิบฉบับ ถือว่าเป็นกฎหมายสำคัญ โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดช่องทางให้เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ 2 ช่องทาง ตามมาตรา 131 ดังนี้

(1)คณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง

(2)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า จะเห็นว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก ให้กระทำเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ ซึ่งมาตรา 132(1) ได้บัญญัติว่า "การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน” โดยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม” ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วย "มากกว่ากึ่งหนึ่ง" ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา ถ้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอตามมาตรา 131”

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 5 บทบัญญัติใดของกฎหมาย… ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้น…ใช้บังคับมิได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งใหม่ จากเดิมระบบจัดสรรปันส่วนผสม บัตรใบเดียว มาเป็นระบบเลือกตั้งผสม บัตรสองใบ เพิ่ม ส.ส.เขตเป็น 400 คน ลดจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อเหลือ 100 คน ส่งผลให้ต้องแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 มาตรา 128 วิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ครั้งที่ 1)พุทธศักราช 2564 มาตรา 91 บัญญัติคำว่า “เป็นสัดส่วนสัมพันธ์กันโดยตรงกับจำนวนคะแนนรวม” ส่งผลให้การกำหนดวิธีคำนวณคะแนนเสียงที่บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

หากพิจารณาเทียบเคียงรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 หลักเกณฑ์ในคำนวณ ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 100 วรรคสอง ,รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 หลักเกณฑ์ในการคำนวณบัญญัติไว้ในมาตรา 98 ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เนื้อหารายละเอียดมาตราดังกล่าวได้บัญญัติใช้ข้อความลักษณะทำนองเดียวกันมาตรา 91 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแก้ไขใหม่

นักกฎหมายผู้นี้ กล่าวต่อว่า ผลของการแก้ไขระบบเลือกตั้งใหม่รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาจาก2 ช่องทาง มีจำนวน 4 ร่าง ได้แก่

ช่องทางแรก ร่างที่ 1 เสนอโดยคณะรัฐมนตรี ข้อเสนอแนะ คณะกรรมการการเลือกตั้ง องค์กรอิสระ องค์กรหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ เป็นผู้เสนอแนะให้แก้ไข ตามมาตรา มาตรา 131 (1)

ช่องทางหนึ่ง มีการเสนอมา 3 ร่าง ได้แก่ 1)ร่างที่เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาล 2)ร่างที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย 3)ร่างที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล โดยรัฐสภามีมติรับหลักการทั้ง 4 ร่าง และมีมติให้ใช้ร่างที่ 1 เป็นร่างหลักในการพิจารณาในวาระที่ 2 (ร่างของคณะรัฐมนตรี) เป็นร่างที่เสนอแนะจากคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกฤษฎีกาได้ปรับแก้ไขแล้ว (ร่างสูตรคำนวณหาร 100) โดยในการประชุมรัฐสภาจะต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ด้วย

หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 132(1) กำหนดเวลาให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน มาตรานี้ ไม่ได้บัญญัติให้ขยายระยะเวลาได้ กลไกระบบรัฐสภาได้เปิดช่องไว้ หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลารัฐธรรมนูญได้บัญญัติทางแก้ ให้กลับไปใช้ช่องทางมาตรา 131 ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ทั้ง 4 ร่าง ตาม 2 ช่องทางที่เสนอแนะแก้ไข ย้ำ!!!ว่า ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้บังคับใช้ร่างเฉพาะเสนอโดยคณะรัฐมนตรีเท่านั้น แต่ในการประชุมร่วมสองสภาพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว มีมติรับหลักการ 4 ร่างและมีมติให้ใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีที่เสนอแนะโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ระบบรัฐสภา กลไกในการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้แก้ไขเพิ่มได้เพื่อมิให้ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ ระหว่างเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก เปิดช่องกลไกในการแก้ไขไม่แล้วเสร็จ พ้นกำหนดระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวย่อมตกไป(สูตรหาร 500 ในวาระที่หนึ่ง) ตั้งข้อสังเกตว่า ในมาตรา 132(1) หากพ้นกำหนดเวลาให้ไปพิจารณาตามมาตรา 131 ซึ่งไม่ได้บัญญัติเฉพาะเจาะจง

หากเสนอร่างตามมาตรา 131(1)(2) ทั้งสองช่องทางพร้อมกัน รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติลำดับก่อนหลังว่าให้ใช้ร่างใด ต้องย้อนกลับไปพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับการประชุมสภา พ.ศ.2563 ข้อ 101 ในกรณีรัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาให้บรรจุระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา “ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ” ตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาในวาระที่สอง และให้ดำเนินการตามข้อ 102 ต่อไป โดยให้ประธานรัฐสภาส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รัฐสภาเห็นชอบ เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่มีข้อทักท้วงภายใน 10 วันนับแต่วันที่ได้รับ ให้ดำเนินการตามมาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญต่อไป

ดร.ณัฐวุฒิ อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้รัฐธรรมนูญมาตรา 131 ไม่ได้บัญญัติลำดับก่อนหลังของช่องทางเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แต่ให้พิจารณาระเบียบข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ประกอบการพิจารณา หากร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ….พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในวัน 15 สิงหาคม 2565 ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 101 ให้ถือว่า รัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นหลักในการพิจารณาในวาระที่สอง คือ ร่างที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผลทางกฎหมาย สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หาร 500 ตามมติเห็นชอบในวาระหนึ่งที่ผ่านมติเห็นชอบย่อมตกไป โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและระเบียบข้อบังคับประชุมรัฐสภาให้ถือร่างเดิมที่คณะรัฐมนตรีที่เสนอแนะโดย กกต.สูตรหาร 100 นั่นเอง เว้นแต่การประชุมร่วมรัฐสภาจะพิจารณาเสร็จสิ้นก่อน 15 สิงหาคมศกนี้ ถือว่า เป็นกลไกระบบรัฐสภาในการแก้ไขร่างกฎหมายลูก แต่ในอดีตไม่ค่อยเกิดปัญหาเหล่านี้ เพราะพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายสำคัญในการกำหนดทิศทางของประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วุฒิสภา นัดถกรายงานเสนอ กกต. แก้กฎหมายเลือกตั้ง-พรรค ใช้โซเชียลหาเสียง

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ได้นัดประชุมในวันที่ 9 เม.ย. โดยมีวาระพิจารณาที่น่าสนใจ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.

'พิธา' สะดุ้ง 'ผู้ช่วยกรณ์' ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีจำคุกถึง 5 ปี

'ผู้ช่วยกรณ์' เล่าตอนที่่'กรณ์'เป็นหัวหน้าพรรคต้องแบบความรับผิดชอบตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร มีคนอยากลงสมัครหลายคนไม่ผ่านเกณฑ์คัดสรร ชี้กฎหมายเลือกตั้งเขียนไว้โหดมาก 'หัวหน้าพรรค' อาจโดนคดีได้โดยไม่ต้องมีใครแกล้ง จำคุกถึง 5 ปี

ฉลุย! 330 ว่าที่ ส.ส. ไม่มีเรื่องร้องเรียน กกต. รอชงครบ 95% จะประกาศรับรอง

ที่ประชุมคณะกรรมการ​การ​เลือกตั้ง​ (กกต.)​ มีมติรับทราบรายงานผลการตรวจสอบเบื้องต้นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่มีเรื่องร้องเรียนและเชื่อได้ว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตเที่ยงธรรม

นักกฎหมาย ฟันธง 'พิธา' ถือหุ้นสื่อ ขาดคุณสมบัติสมัคร ส.ส.

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณี นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐได้ยื่นคำร้องต่อ กกต.ให้ตรวจสอบ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัว

ดร.ณัฎฐ์ รู้ทันเล่ห์ 'ทักษิณ' เรียกคะแนนโค้งสุดท้าย ท้าชวนน้องสาวกลับมาด้วย

ปมทักษิณกลับบ้าน 'ดร.ณัฎฐ์' มือกฎหมายมหาชนคนดัง สวนทันควัน 'ทักษิณ' เป็นเพียงวาทกรรม เรียกคะแนนเสียงโค้งสุดท้าย