เลขาฯประธานชวนหลั่งน้ำตาอำลา ปชป. เรียกร้องขอความเป็นธรรมเป็นผู้เสียสละ แต่ถูกโพลไร้มาตรฐานเขี่ยให้ไม่ให้ลงสมัคร ไม่มีที่ยืนในพรรค จากนี้ไปจะไปหารังใหม่ที่ชื่อว่ารวมไทยสร้างชาติ
08 ธ.ค.2565 - นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎร และ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จังหวัดตรัง 4 สมัย กล่าวเปิดใจกับผู้สื่อข่าวว่า เป็น ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็น ส.ส.มา 4 สมัย บรรพบุรุษก็อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์ ทุกคนก็รักศรัทธาต่อพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด การตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพราะไม่มีที่ยืน พรรคเขาใช้วิธีทำโพลเลือกผู้สมัครของการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ และประกาศว่าตนเองแพ้โพล ส่วนลึกในใจก็เสียใจเพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ให้กำเนิดตนมา มีท่านนายกฯชวน ท่านนายกกิจ เปรียบเสมือนบิดาทางการเมือง
นายสมบูรณ์กล่าวต่อว่า ก่อนที่จะตัดสินใจลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์เพื่อย้ายไปอยู่พรรคใหม่ ก็ได้ปรึกษาผู้ใหญ่ โดยเฉพาะท่านชวน โดยแจ้งให้ท่านทราบว่าทางพรรคเขาได้ทำโพลและประกาศว่าผมแพ้โพล พูดง่าย ๆ คือ ผมไม่มีที่ยืน ผมจึงเรียนกับท่านชวนไปว่าจะขอลงสู้เพื่อเป็นผู้สมัครของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้พี่น้องประชาชนเป็นผู้ตัดสิน เมื่อทางพรรคส่งได้คนเดียว เมื่อทางพรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งตนเอง ก็จำเป็นที่ต้องไปหาพรรคการเมืองอื่นที่เขายินดีที่จะส่งเป็นผู้สมัคร ซึ่งทั้งนี้ถามว่าตนเองจะตอบกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของเสียงอย่างไรนั้น ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าวันนี้แสดงความจำนงว่าลงสมัครเป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดมาว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ส.ส.เขต จะมี 400 เขตทั่วประเทศ จังหวัดตรังจาก 3 เขตก็จะเพิ่มเป็น 4 เขต ก็จะกลับมาเหมือนกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2544 เมื่อมี 4 เขต ตนเองเป็น ส.ส.อยู่ในเขต 4 ซึ่งเป็น ส.ส.มา 4 สมัย
“ผมแสดงความจำนงเป็นผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อแสดงความจำนงไปแล้ว ทางพรรคแจ้งว่าเนื่องจากในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ถ้าส่งลงไปอาจจะแพ้การเลือกตั้ง ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าใช้หลักอะไรเป็นหลักคิดว่าถ้าส่งลงจะแพ้การเลือกตั้ง เพราะถ้าดูตามคะแนนเดิม ตนเองลงในเขตเลือกตั้งที่ 4 ครั้งแรกปี 2544 ผมได้คะแนน 9 พัน กว่าคะแนน พอปี 2548 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 2 คนได้ที่ 1 คะแนน 59,600 คะแนน พอครั้งที่ 3 เนื่องจากมีการรวมเขต เขต 3,4 มารวมกันผมได้คะแนน 122,000 กว่าคะแนน ถ้าเฉลี่ยได้ประมาณ 6 หมื่นกว่าคะแนน พอครั้งที่ 4 ปี 2554 ผมได้คะแนน 74,387 คะแนน ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เดินเข้าคูหา 100 คน ลงคะแนนให้ผม 90 กว่าคน เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าตนเองเป็นหลุมดำหรือลงเลือกตั้งแล้วผมงแพ้ ถ้าดูตามคะแนนแล้ว ผมเองยังมั่นใจของคะแนนไว้วางใจของพี่น้องประชาชนที่ให้เรา กว่า 7 หมื่น 4 พันคะแนนถือว่าเยอะมาก”
นายสมบูรณ์เล่าอีกว่า เมื่อให้เหตุผลไปแล้ว เขาแจ้งว่า เนื่องจากเขตนี้มีผู้สมัครมากกว่า 1 คน โดยหลักการจริง ๆ ก็ พรรคก็คงต้องใช้ระบบพิจารณาระหว่างตนเองกับผู้สมัครอีกคน เราดูกันว่าความเหมาะสมควรจะเป็นใคร เป็นสมาชิกกันมามากน้อยแค่ไหน การเป็นสมาชิกมันเป็นความจงรักภักดีต่อพรรค ตนเองเป็นสมาชิกมาหลายสิบปีแล้ว พรรคต้องพิจารณาว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาคุณสมบูรณ์แพ้นะ เพราะฉะนั้นครั้งนี้เราจำเป็นต้องหาผู้สมัครใหม่ ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้เอาอย่างนี้ไหม เรามาสำรวจความเห็นของคนในพรรคประชาธิปัตย์ในเขตเลือกตั้งและสมาชิก
นายสมบูรณ์ย้ำว่า ได้แจ้งไปแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการทำโพล พรรคต้องมีวิธีที่พิจารณาที่เป็นธรรมกว่าวิธีการตัดสินด้วยการทำโพล เช่นถ้าทำโพลด้วยหลักวิชาการ ทำโพลอย่างถูกต้อง ตนเองเป็นเป็นนักกีฬา เมื่อผลการแข่งขันออกมาแล้วเรายอมรับได้ แต่ในการทำโพลครั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตเยอะมาก หลังจากที่ประกาศผลตนเองได้ไปสอบถามทำหนังสือถึงท่านหัวหน้าพรรคว่า ขอทราบรายละเอียดของการทำโพล เช่น สถาบันที่ทำโพลคือที่ไหน ตามข่าวแจ้งว่าเป็นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การออกแบบสำรวจสอบถามเรื่องแบบสำรวจมันก็ต้องถูกหลักตามวิชาการ เชื่อถือได้ การกระจายตามประชากรของเขตที่ 4 ของชุมชน ตำบล เป็นอย่างไร สุดท้ายก็ไม่ได้รับคำตอบ หลังจากนั้นไปหาท่านเลขาธิการได้ให้ชื่ออาจารย์ที่ทำโพล ซึ่งหลังจากนั้นได้ติดต่อไปยังอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ที่ได้รับรายชื่อมา แล้วเดินทางไปยังหาดใหญ่ ไปสอบถามว่าในการทำโพลครั้งนี้อาจารย์มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง และได้ทำหนังสือไปยังหัวหน้าอีกฉบับหนึ่ง เรียนให้ทราบว่าหลังจากที่ตนเองไปพบท่านอาจารย์ที่ทำโพลทั้ง 3 ท่านแล้ว สรุปว่า โพลที่ทำโพล ส.ส.ตรังเขต 4 ไม่ใช่ ม.อ.เป็นผู้ทำโพล เป็นเพียงแค่อาจารย์ของ ม.อ.เป็นนักวิชาการอิสระ ที่มารับจ้างทำโพล ด้วยเงินค่าจ้าง 1 แสน 8 หมื่นบาท ตามที่อาจารย์ได้แจ้งมา
“ผมได้ถามว่าเมื่อทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นผู้ทำโพล ไม่ได้รับรองผลโพล ก็คืออาจารย์เป็นผู้รับรองถูกต้องหรือไม่ ผมจึงถามต่อไปว่าวัตถุประสงค์ของการทำโพลครั้งนี้อาจารย์ทราบหรือไม่ว่าทำเอาไปตัดสินว่าใครเป็นผู้สมัคร ทางอาจารย์แจ้งว่าไม่ทราบ เขาคิดว่าเอาไปประกอบการพิจารณา อาจจะมีการพิจารณาหลาย ๆ หลักเกณฑ์ การทำโพลว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ การออกแบบสอบถามมีหลายข้อ ผมถามว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร เรื่องความน่าเชื่อถือ ความยุติธรรมของแบบสอบถามมีการชี้นำหรือไม่ ทางอาจารย์ตอบว่าแต่ละข้อมูลได้มาจากทางพรรค แต่จริง ๆ แล้วอาจารย์ต้องมาวิเคราะห์ว่าข้อมูลนี้มีความเป็นธรรมกับผู้สมัครหรือไม่”
นายสมบูรณ์เปิดใจต่อว่า เมื่อสอบถามการกระจายแบบสอบถามไปยังประชากรอาจารย์ให้ใครลงไปสำรวจ เขาแจ้งว่าให้เครือข่ายเยาวชนในจังหวัดตรัง แบบสอบถาม 6,300 ชุด อาจารย์จัดสรรอย่างไร แบบสอบถามต้องมีตราประทับ ต้องรันนิ่งนัมเบอร์ที่จะออกไปตามอำเภอต่าง ๆ เพื่อให้ได้ 6,300 ชุด ทางอาจารย์แจ้งว่าไม่ทำเลย ไปถ่ายเอกสารทั้งหมดที่เหลือ จึงมองว่านี่เป็นข้อสังเกต ซึ่งไปเจอการถ่ายเอกสารที่ร้านถ่ายเอกสารที่หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลเป็นพันแผ่น เอกสารดังกล่าวเป็นตัวจริงหรือไม่ เขาบอกว่าเป็นแบบสอบถามจริง จึงนำไปแจ้งความว่าเอกสารดังกล่าวอาจจะเอามาเป็นการทุจริตในการทำโพลก็ได้ ไปสอบถามใคร หรือมานั่งเขียนเอาเอง ซึ่งได้ถามว่าอาจารย์ได้ออกไปควบคุมหรือไม่ ทางอาจารย์บอกปฏิเสธว่าไม่ได้ออกไปควบคุม เพราะเชื่อใจ จึงมองว่าการทำโพลไม่โปร่งใส เพราะตนเองเป็น ส.ส.มา 4 สมัยย่อมมีทีมงาน เมื่อไปสอบถามทีมงานในพื้นที่ว่ามีใครได้ใบสำรวจบ้างหรือไม่ คำตอบที่ได้คือไม่มีใครได้ใบสำรวจสักคนเดียว ก็แสดงว่าการสำรวจนี้สำรวจจริงหรือไม่ เป็นการจัดทำเป็นโพยหรือไม่ เมื่อผลออกมาแล้วก็ไม่ได้คำตอบก็รอว่าเขาพิจารณาอย่างไร
“มันเป็นสิ่งที่เจ็บปวดบางเรื่องเราไม่ได้รับความเป็นธรรม ผมเองรักพรรคประชาธิปัตย์มาก มาวันนี้เราเองกลับไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องนี้ ทางท่านหัวหน้าแนะนำให้ตนไปลงบัญชีรายชื่อ ผมก็ขอบคุณท่านหัวหน้า แต่ผมขอลงเขต เพราะก่อนหน้านี้เคยเสียสละไปแล้วในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ตรังเหลือ 3 เขต ทั้งที่เป็นสิทธิของผม ผมก็ทำเพื่อพรรค ไม่ให้พรรคมีการทะเลาะแย่งกัน เพราะการเมืองถ้าทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนจะมาแย่งกันทำไม เราสามารถที่จะทำงานตรงจุดไหนก็ได้ ผมจึงไปขึ้นบัญชีรายชื่อลำดับที่ 35 เป็นที่ทราบคือลำดับไม่ถึง ท่านชวนก็เมตตาให้ไปเป็นเลขาประธานรัฐสภา ผมก็ทำหน้าที่เลขานุการประธานรัฐสภาอย่างดี แล้ววันนี้ทำงานให้พรรคก็ยังทำอยู่ ไม่ว่าจะเจอโควิด หรือ น้ำท่วม งานบุญ งานกุศลต่าง ๆW
นายสมบูรณ์กล่าวว่า ในวันนี้จะไปยื่นไปลาออกกับ กกต. ทั้งนี้ดูพรรคที่ต้องมีนโยบายที่ทำเพื่อพี่น้องประชาชน และโดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นธรรม ผ่านการเมืองมา 20 กว่าปี เห็นนโยบายของพรรคการเมืองไม่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชน ซึ่งจะเห็นข่าวในวันสองวันนี้ ในเรื่องการเลือกปฏิบัติของพรรคการเมืองในกรณีทีเป็นรัฐบาล พรรคนี้ไม่เลือกเราไม่พัฒนา เชื่อว่าพรรคที่เห็นแก่ประชาชนให้ความยุติธรรมต่อประชาชน วันนี้เห็นนโยบายของพรรครวมไทยสร้างชาติก็ตัดสินใจว่าจะไปขอร่วมกับพรรครวมไทยสร้างชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขี้โม้หรือของจริง! 'หมอเหรียญทอง' ท้าเลือก 'รทสช.'
พล.ต.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฏวัฒนะ ในฐานะสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ และคณะทำงานดูแลด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพของคนไทย
สูตรรัฐบาลใหม่ มี 'รทสช.' บนเงื่อนไข 'บิ๊กตู่' วางมือ
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กว่า การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ไปไกลแล้ว
'น้องแรมโบ้' ฉะ 'เหลิม' หลับหูหลับตาวิจารณ์บิ๊กตู่ แนะจิบไวน์อยู่บ้านเงียบๆดีกว่า
เดือด! น้องแรมโบ้ 'ชนะศักดิ์' ฉะ 'เหลิม' ไปมุดหัวอยู่ถ้ำไหน ถึงไม่รู้ว่ารัฐบาลบิ๊กตู่ พาชาติบ้านเมืองฝ่าวิกฤตอะไรมาบ้าง แนะจิบไวน์อยู่บ้านเงียบๆดีกว่า สภาพวันนี้ไม่ต่างกับทารกทางการเมือง เตือนเจ้าของคอก ถ้ายังใช้บริการหาเสียง ระวังเพื่อไทยจะไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น
ปชป. ผนึกตระกูล 'ม่วงศิริ' ชิง ส.ส.ฝั่งธนฯ 'สุวัฒน์' แจงแล้วเหตุทิ้ง พปชร.
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้รับผิดชอบพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งนายสากล นายสาทร นายสารัช และน.ส.วณิชชา ม่วงศิริ
หลานชวน หลีกภัย สวมเสื้อรวมไทยสร้างชาติ ลง สส.ตรัง เขต 1
ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ภายหลังมีกระแสข่าวว่านายถนอมพงษ์ หลีกภัย หลานชาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะลงสมัครส.ส.ตรัง เขต 1 พรรค รทสช.
'พี่หนวดงาม' ขอขมาเคยด่าในสภาฯ 'บิ๊กตู่' จับมือบอกไม่โกรธเคือง เข้าใจการเมือง
นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ อดีตส.ส.อุตรดิตถ์ พรรคเพื่อชาติ ได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิกพรรครทสช.แล้ว โดยได้ขึ้นไปรอข้างบนพรรค เนื่องจากมาไม่ทันช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี