'สันติ' หวังประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นพลเมืองตื่นรู้!

'สันติ' รำพึงวาระครบ 1 เดือนหลังเลือกตั้ง ชี้เริ่มเห็นการต่อสู้อนุนิยมและเสรีนิยม รวมทั้งแนวนโยบายเศรษฐกิจ ระบุหากพลเมืองตื่นรู้ก็จะวิเคราะห์แยกแยะได้

14 มิ.ย.2566 - นายสันติ กีระนันทน์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า 14 มิถุนายน 2566 ครบ 1 เดือนหลังจากวันหย่อนบัตร ผมสังเกตว่า วันนี้เป็นวันแรกที่เมื่อผมส่อง FB แล้ว มีเรื่องการเมืองน้อยลงไปกว่าวันก่อนหน้า ความคืบหน้าที่เป็นทางการคือ กกต. เริ่มรับรอง ส.ส. ซึ่งคงจะสมบูรณ์ครบร้อยละ 95 ในเวลาไม่ช้านี้ กระบวนการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรายงานตัวของ ส.ส. การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ในรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา การเลือกประธาน สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งรูปรอยของการจัดตั้งรัฐบาล หน้าตา ครม.จะเป็นอย่างไร ก็คงจะได้เห็นในไม่ช้านี้ จะเรียกความมั่นใจได้ หรือจะสร้างความสงสัยให้ประชาชน ก็รออีกไม่นาน

นับจากนี้ไปอีก 10 วัน ก็จะถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2566 ครบ 91 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ต้องยอมรับว่า ยังไปไม่ถึงไหน โดยเฉพาะช่วงเวลากว่า 20 ปีมานี้ ที่วุ่นวายและถ่วงรั้งการพัฒนาประเทศ

อย่างไรก็ดี ถึงเวลานี้ หากตัดเหตุการณ์หรือองค์ประกอบที่สร้างความงุนงงออกไป ก็อาจจะทำให้เริ่มเห็นการต่อสู้กันทางอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างอนุรักษ์นิยม (ทั้งเข้มข้น และอนุรักษ์นิยมใหม่ที่เป็นสายกลางมากขึ้น) และเสรีนิยม (ที่สุดโต่ง จนถึงสายกลางของเสรีนิยมที่มีความประนีประนอมตามสมควร) คล้ายๆ กับที่เป็นไปในต่างประเทศ ถึงแม้ว่าบางเสี้ยวส่วนของเสรีนิยม (ที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายประชาธิปไตย) อาจจะแอบแฝงแนวคิดสังคมนิยมมาให้เห็น

นโยบายเศรษฐกิจที่เคยมีแนวคิด "ประชานิยม" เป็นจุดขายหลักในระยะเวลากว่า 20 ปีมานี้ อาจจะเริ่มมีคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ สร้างภาระให้ระบบเศรษฐกิจโดยไม่สร้างผลิตภาพหรือเปล่า เริ่มมีการนำเสนอแนวคิด "สังคมนิยม" ที่มุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำ โดยใช้วิธี Robinhood ซึ่งก็ท้าทายต่อการดำเนินการและผลที่ตามมา

ในขณะที่แนวคิด "ทุนนิยม" หรือ capitalism ที่ถูกเข้าใจผิดว่าเหมือนกับแนวคิด "ทุนสามานย์" ซึ่งไม่ได้มีภาษาอังกฤษบัญญัติไว้ แต่เป็นเพราะมีการดำเนินงานทางเศรษฐกิจที่ทุจริต (corruption) เอื้อประโยชน์ให้ทุนใหญ่ และแย่งความมั่งคั่ง (wealth redistribution) ไปจากคนอื่นอย่างไม่เป็นธรรม และถูกกล่าวอ้างว่าสร้างความเหลื่อมล้ำให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างรุนแรง เลยทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า capitalism หรือทุนนิยม เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี ทั้งที่ capitalism นั้น มุ่งเน้นการแข่งขันที่เป็นธรรม

อุดมการณ์และแนวคิดเหล่านี้ หากประชาชนผู้มีสิทธิมีเสียง จะวิเคราะห์ แยกแยะให้เห็นชัดเจน และเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเป็น "พลเมืองตื่นรู้" (active citizen) ก็จะเป็นพลังสำคัญที่ทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดำรงอยู่ได้ทั้ง 3 สถาบันหลัก (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่ปรากฎในธงไตรรงค์) และเป็นหลักในการพัฒนาประเทศทุกด้านให้เข้มแข็งต่อไปได้ #เพ้อเจ้อรำพึง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯอิ๊งค์ขายฝันประชานิยมปี 2568 แจกเงินหมื่น-ผ่อนบ้าน 4 พัน-ล้วงเงินหวยส่งเด็กเรียนนอก

'นายกฯอิ๊งค์' ร่ายยาวผลงานรัฐบาล 90 วัน เปิดอนาคตปี 68 ครอบคลุมทุกมิติ มาแน่ปีหน้าเงินหมื่นเฟส 2-3 จัดบ้านเพื่อคนไทยผ่อน 4 พันไม่ต้องดาวน์ ผุดไอเดียดึงงบกองสลากส่งเด็กไทยเรียนเมืองนอก คืนชีพ 1 อำเภอ 1 ทุน

เสื้อแดงตาสว่างหรือยัง 'ใบอนุญาต' ประจานทักษิณ-เพื่อไทย!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์เรื่องใบอนุญาต2ใบในการจัดตั้งรัฐบาล โดยตั้งคำถามว่า ทำไมพรรคการเมืองกลับเลือกใช้วิธี “หมอบ สยบยอม เอาใจ” ผู้ออกใบอนุญาตที่ 2

ผ่าแนวคิด 'จักรภพ' อนุรักษ์นิยมแบบใหม่ จะดึงมวลชน-คนรุ่นใหม่ ได้ขนาดไหน

ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่าปรากฎการณ์ที่มวลชน

เฉียบขาด! ชำแหละ ดีลผีเน่ากับโลงพุ เข้าทาง ‘พรรคส้ม’ ตั้งรัฐบาลในอนาคต

ผู้ใช้นามว่า “วินเซนต์” โพสต์แสดงความเห็นทางการเมืองไว้น่าสนใจในหัวข้อ “ความจริง หลายปีที่ผ่านมา..” โดยมีเนื้อหาดังนี้