'สามารถ' เสนอแนวทางจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ปมที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เพื่อหลีกเลี้ยงวงวจอุบาทว์
20 ก.ย.2566 - นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า รัฐบาลมีนโยบายจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ถ้ากล้าเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ขอเสนอให้ปรับเปลี่ยนกระบวนการเลือกตั้ง สส. และ สว. ดังนี้
กระบวนการการเข้าสู่อำนาจของตัวแทนประชาชน หรือ สส. ต้องยอมรับความจริงว่า กระบวนการเข้าสู่อำนาจของตัวแทนประชาชนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีปัญหา
1.ไม่ได้คนดีเป็นที่ประจักษ์ ประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น ถ้าไปใช้สิทธิ นอกจากกาไม่เลือกผู้ใดแล้ว ก็ต้องเลือกตัวแทนจากพรรคการเมืองภายใต้บงการของกลุ่มทุน หรือเลือกตามกระแสนิยมที่ถูกสร้างขึ้น มีการใช้เงิน อามิสสินจ้างต่างๆมากมาย
เมื่อได้รับเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ ส่วนใหญ่ก็เข้าไปใช้อำนาจที่ได้มาจากประชาชนเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนเจ้าของพรรค หรือทำตามผู้ชี้นำบงการ แทนที่จะทุ่มเททำงานให้ประชาชนและบ้านเมืองอย่างแท้จริง
2.ปัญหาจากข้อ 1 มีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute Majority) หรือจากพรรคการเมืองหลายพรรคมารวมกันเป็นรัฐบาลผสม (Coalition Government) เมื่อลงทุนในการเลือกตั้งไปมาก รัฐมนตรีที่รับผิดชอบแต่ละกระทรวงก็มักจะเข้าไปถอนทุนคืน ด้วยการทุจริตคอรัปชั่น หรือทำนโยบายที่สุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายของบ้านเมือง เพื่อเปิดช่องให้มีการทุจริตเชิงนโยบาย
ในที่สุดจะเป็นเงื่อนไขนำไปสู่ข้ออ้างก่อการรัฐประหารล้มล้างระบอบการปกรรองประชาธิปไตย วนเวียนเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ซ้ำซาก
ข้อเสนอกระบวนการเข้าสู่อำนาจของตัวแทนประชาชน หรือ สส.แทนกระบวนการเลือกตั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับผิดชอบดำเนินการ ดังนี้
1.กำหนดจำนวน สส.ที่พึงมีทั้งประเทศ
2.กำหนดจำนวน สส.ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยเฉลี่ยตามจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด
3.เมื่อเฉลี่ยจำนวน สส.แล้ว จังหวัดใดมี สส.มากกว่า 1 คน ให้แบ่งเขตเลือกตั้ง โดยใช้ตำบลเป็นพื้นที่หลัก
4.ให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็น สส.ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด ไปยื่นสมัคร ณ ตำบลที่ตนมีภูมิลำเนา โดยจะลงสมัครในนามพรรคหรือสมัครอิสระก็ได้
5.จัดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละตำบลเลือกผู้สมัครในตำบลที่ตนมีภูมิลำเนา ผู้ได้รับเลือกตั้งคือ ผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดและได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
6.จัดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้ง เลือกผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากแต่ละตำบลในเขตเลือกตั้ง เพื่อให้ได้ผู้ที่จะเป็น สส.ซึ่งคือผู้ที่ได้คะแนนเสียงสูงสุด และมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น
ภายหลังการเลือกตั้ง ในการจัดตั้งรัฐบาล ให้ผู้ที่สามารถรวบรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ
วุฒิสภา ให้มีวุฒิสมาชิก จำนวน 200 คน ทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
สมาชิกวุฒิสภา มาจากตัวแทนของกลุ่มอาชีพที่ได้รับการคัดเลือกตามกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติไว้ และ/หรือมาจากพระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิอีกส่วนหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สว.สมชาย' เดือด! กกต.มีไว้ทำไม เปรียบเป็นอวัยวะส่วนเกิน
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊กว่า องค์กรอิสระบางแห่งมีหน้าที่ แต่ไม่ทำงาน เหมือนมีไส้ติ่งที่ไร้ประโยชน์ เปรียบเ
กกต. เปิดสถิติร้องทุจริตเลือกตั้ง สส. ยื่นศาล 2 สำนวน ยังลุ้นอีก 77 เรื่อง
กกต. เปิดสถิติร้องเรียนเลือกตั้ง สส. ปี 66 จำนวน 365 เรื่อง เทียบกับปี 62 แล้วลดลง เผยสั่งไม่รับ 159 คำร้อง ยื่นศาล 2 สำนวน ยังลุ้นอีก 77 เรื่อง
ร้อง ป.ป.ช. ฟันจริยธรรมร้ายแรง 'เศรษฐา - สส.เพื่อไทย'
นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ได้เดินทางมายื่นคำร้องให้ตรวจสอบนายกรัฐมนตรีและ สส.เพื่อไทย หลังหลุดปากพูดต่อหน้าที่ประชุม สส. เพื่อไทย
โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา 12 ธ.ค.66
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เป็นปีที่ 8 ในรัชกาลปัจจุบัน มีเนื้อหาว่า
'สมชัย' บอกคนเดียวก็ร้อง ป.ป.ช.ฟัน 'เศรษฐา' ปมตั๋วผู้กำกับได้!
'สมชัย' ชี้เรื่องปมตั๋วเพื่อไทยแต่งตั้งผู้กำกับอาจเป็นเรื่องใหญ่ กระทบทั้งเก้าอี้นายกฯ และ สส. เพราะผิดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา ชี้ช่องคนเดียวก็ร้อง ป.ป.ช.ฟันตกเก้าอี้ได้
มติเอกฉันท์ ศาล รธน. ตีตกคำร้อง 'เรืองไกร' ปมรัฐบาลแถลงนโยบายไม่แจงที่มารายได้
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ว่า การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีโดยผู้ถูกร้องต่อรัฐสภา มิได้ชี้แจงแหล่งที่มาของรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินนโยบาย