‘นิกร’ เตรียมหารือ ‘ก้าวไกล’ ปมแก้รัฐธรรมนูญ ต้นเดือนพ.ย.

กมธ.การเมือง วุฒิฯ ประชุมร่วมอนุกก.ประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ‘นิกร’เตรียมหารือ ‘ก้าวไกล’ ต้นเดือนพ.ย. ก่อนเดินสายฟังความเห็นทั่วประเทศ ย้ำคำถามต้องง่าย-ชัดเจน มอง ปชช.ต้องรู้สึกเป็นเจ้าของรธน.

30 ต.ค.2566-ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

นายนิกร จำนง ประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า วันนี้มาร่วมประชุมเพื่อนำคำถามที่ตั้งเป็นตุ๊กตามาให้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา และขอให้ร่วมกันตั้งคำถาม เพื่อไปถามสว.ทั้งหมด เนื่องจากสว.มีส่วนในการลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อจะได้ทราบแนวทางว่าถ้าส่งมาแล้วจะรับหรือไม่ โดยหลังจากนี้ต้องรอเปิดสมัยประชุมสภา จะได้ส่งคำถามไปให้ จากนั้นจะรวบรวมสรุปออกมา และในวันที่ 2 พ.ย.นี้ จะหารือกับนายพริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกมธ.การพัฒนาการเมืองฯ ซึ่งจะมีเนื้อหาในลักษณะเดียวกัน แต่ความเห็นของทั้งทางวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร น้ำหนักจะต่างกัน และอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องไปพูดคุยคือพรรคก้าวไกล เพราะพรรคก้าวไกลไม่เห็นด้วยกับหลักการนี้ เพื่อฟังความเห็นตรงที่ไม่เห็นด้วย และหาแนวทางคลี่คลาย

นอกจากนี้ในวันที่ 8 พ.ย.นี้ จะมีการรับฟังเยาวชนคนรุ่นใหม่ นักเรียนนักศึกษา ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นการทำเป็นโฟกัสกรุ๊ป โดยจะมีนายภูมิธรรม เวชยชัย ประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญ ร่วมรับฟังด้วย หลังจากนั้นจะเดินสายรับฟังความเห็นแต่ละภาค รับฟังเกษตรกร และชาวชนบทที่ภาคอีสาน จ.สกลนคร หลังจากนั้นจะภาคเหนือที่ จ.เชียงใหม่ ฟังความเห็นเมืองท่องเที่ยวและชาติพันธุ์ จากนั้น จะไปภาคตะวันออกในมุมมองของกลุ่มผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรรม สุดท้ายวันที่ 7 ธ.ค.66 จะลงไปฟังความเห็นพี่น้องชาวมุสลิม และเขตชายแดนที่ภาคใต้ ซึ่งไม่ได้ความคิดเห็นครบทั้งหมดแล้วก็จะมีการสรุปในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ธ.ค. และคงได้ข้อสรุปจากคณะใหญ่ในช่วงปลายสัปดาห์ และต้นปี 2567 ก็จะเสนอให้รัฐบาลได้

     “สำหรับคำถามที่จะถามประชาชนต้องเป็นคำถามที่ง่ายๆ และชัดเจน แต่คำถามที่ว่าก็คงไม่ได้บอกว่าแก้มาตราไหน เพราะไม่ใช่หน้าที่ อย่างไรก็ตาม คำถามในมุมประชาชน จะถามว่าท่านจะแก้หรือไม่ แก้ในส่วนไหน จะได้เอาเหตุผลในการแก้มารวบรวมตรงนี้ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของคณะกรรมการฯ แต่เป็นหน้าที่ของส.ส.ร.ที่จะทำ ส่วนที่เป็นประเด็นที่ ส.ส.ร.มาจากไหน ก็ไม่ใช่เรื่องที่คณะกรรมการชุดนี้จะเคาะ เพราะเป็นเรื่องที่คณะกมธ.ที่จะตั้งในวาระที่ 1 จะต้องเป็นคนคิด”

นายนิกรกล่าวว่า การพูดคุยกับสว.ที่บางคนไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และควรแก้บางมาตรานั้น นายนิกร กล่าวว่า ฝ่ายการเมือง และฝ่ายรัฐบาลที่เลือกจะแก้ทั้งฉบับโดยเว้นหมวด 1 และ 2 เราอยากให้รัฐธรรมนูญชุดนี้เป็นของประชาชน การแก้เพียงรายมาตราไม่ได้มาจากประชาชน ดังนั้น การมีส.ส.ร.คือการให้มีรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของ นี่คือความแตกต่างไม่ใช่แก้ไม่ได้ เพราะหลักการไม่ใช่หลักการในตัวมาตรา แต่เป็นหลักของรัฐธรรมนูญที่ควรจะมาจากไหน ซึ่งส่วนนี้จะต้องทำความเข้าใจ เราไม่ใช่จะแก้ 200-300 มาตรา แต่ถ้าเราแก้หลายจุดมาตราจะเคลื่อน แต่ถ้าแก้เป็นรายมาตรา มาตราจะล็อกแก้ยาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รองปธ.กมธ.ต่างประเทศสภาฯ ชี้น่ากังวล ‘บัวแก้ว’ สุญญากาศ หนุน ‘นพดล’ เหมาะ

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร  ลาออกจาก รมว.ต่างประเทศว่า เป็นเรื่องน่ากังวลมาก เพราะสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมาเวลานี้ กระทบกับประเทศไทยอย่างมาก

ก้าวไกล เดือดแทน ‘หมอชลน่าน’ ทุ่มเทเหนื่อยสุด โดนคนทิ้งพรรคเสียบเก้าอี้

‘ณัฐชา’ มอง ปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 ‘เพื่อไทย’ ยังรักษาคาแรคเตอร์ ‘สมบัติผลัดกันชม’ เก้าอี้ รมต. เหมือนเดิม สงสัย ทำไมเอาคนทิ้งพรรคอย่าง ’สมศักดิ์‘ แทน ’หมอชลน่าน‘ เหตุเหนื่อยสุดแบกรับสถานการณ์ช่วงเลือกตั้ง-จัดตั้งรัฐบาล

แฉเล่ห์ 'พท.' วางยาแก้ รธน. ล็อกคำถามประชามติครั้งแรก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พรรคเพื่อไทยจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

'รังสิมันต์'แนะ 3แนวทางแก้ปัญหาเมียนมา!

กมธ.ความมั่นคงเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องถกสถานการณ์เมียนมา 'โรม' ชี้ปัญหาในเมียนมาก็เป็นปัญหาของไทย เหตุคนหนีอพยพข้ามแดน ลั่นไทยอยู่ในฐานะที่น่าไว้วางใจที่สุด ควรเป็นตัวกลางในการเจรจา

'ชัยธวัช'ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญขยายเวลาสู้คดียุบพรรคเพิ่มอีกรอบ!

'ชัยธวัช' ลุ้นศาล รธน.ขยายเวลาสู้คดียุบพรรค มองเป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงต้องหาพยาน-หลักฐาน สู้อย่างเต็มที่ เชื่อปรากฎการณ์งูเห่าน้อยกว่า 'อนาคตใหม่' เหตุสถานการณ์ต่างกัน