'สุระ' แนะเปิดกว้างที่มา 'สสร.' ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมร่างรธน.

26 ธ.ค. 2566 - นายสุระ เตชะทัต เลขาธิการพรรคพลังบูรพา กล่าวถึงการทำประชามติ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ในเรื่องของการทำประชามติ เพื่อสอบถามประชาชนก่อน ส่วนตัวเห็นด้วย เพราะประชาชนถือเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง ส่วนรายละเอียดเนื้อหา ที่จะมีการแก้ไขในเรื่องใดบ้าง คงเป็นหน้าที่ของ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(สสร.) ที่จะร่าง เชื่อว่า คงจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพ เพื่อออกแบบรัฐธรรมนูญให้ออกมาดีที่สุด

ในส่วนของที่มาของ สสร. ในขณะนี้ เท่าที่ตามข่าว ยังมีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน จะมีจำนวนเท่าไหร่ จะมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดหรือไม่ หรือเลือกตั้งบางส่วน สรรหา แต่งตั้งอีกบางส่วน ตรงนี้คงเป็นหน้าที่ๆต้องไปพิจารณาร่วมกัน อย่างไรก็ดี ที่มาของสสร. สมมุติจะมีการเลือกตั้ง ตัวแทนจากทุกจังหวัดมา แต่ขณะเดียวกัน อยากเปิดโอกาสให้ กลุ่มผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ นักวิชาการด้านการเมือง การปกครอง สังคม เศรษฐกิจ ที่อาจจะไม่มีฐานเสียงมากนัก แต่มีแนวคิดที่ดี ให้มีโอกาสได้เข้ามาร่วมร่างรัฐธรรมนูญด้วย ในตรงนี้ คงต้องไปหารือกัน จะออกแบบที่มาสสร.กันอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม.ไฟเขียวทำประชามติแก้รธน. 3 ครั้ง ครั้งแรกใช้งบ 3.2 พันล้าน

นายนิกร จำนง โฆษกคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในรัฐธรรนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้ได้เข้ามารายงานข้อสรุปของคณะกรรมการฯ

'ทนายบอน' ลากไส้พวกร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ อาศัย สรร. เป็นช่องทางแสวงหาอำนาจโดยอ้างประชาชน

นายณัฐนันท์ กัลยาศิริ หรือ ทนายบอน อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่ารัฐธรรมนูญถ้าจะแก้เพื่อประชาชน แก้เป็นรายมาตราครับ

'ธนกร' หนุนส่งศาลรธน.วินิจฉัย อำนาจหน้าที่รัฐสภาแก้ไขรธน.

นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวภายหลังรัฐสภาร่วมลงมติเห็นชอบให้รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา

'รัฐสภา' มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอำนาจรัฐสภา ปมจัดทำรธน.ฉบับใหม่

“รัฐสภา” มีมติส่งศาลรธน.ตีความอำนาจตัวเอง ปมแก้รธน.ฉบับใหม่ ด้าน“วันนอร์”แจงยิบ ยึดตาม”ชวน”เคยวินิจฉัยร่างของ”สมพงษ์”มาแล้ว ชี้เป็นหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาวินิจฉัยเพื่อไปต่อแล้วไม่ล้ม ไม่เสียของ

'อดิศร' ซัดแรงมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร จะแก้รัฐธรรมนูญ ยังให้ศาลวินิจฉัยอำนาจประชาชน

นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยกกันและถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้

'เอกนัฏ' พร้อมหนุนญัตติเพื่อไทย ถามศาลรธน. บรรจุวาระแก้รธน. แต่ต้องไม่แตะหมวด 1,2

"เอกนัฏ" หนุนถามศาล รธน. แต่ขอเพื่อไทยวางหลักประกัน ไม่แตะหมวด 1-2 แก้รายมาตรา ป้องรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ใช่ผลพลอย รปห. ชี้ หากแก้เกือบทั้งฉบับ จะเสียของดี