เปิดรายละเอียด 7 ประเด็น ญัตติซักฟอกรัฐบาล

เปิด 7 ประเด็นญัตติซักฟอกรัฐบาล ดิจิทัลวอลเล็ต-ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังสองมาตรฐานหรือไม่-ปัญหาพลังงาน-หนี้สินครู-จีนเทา-แก้รธน.-ปฏิรูปประเทศ รายชื่ 98 สว. มีทั้งทหารและพลเรือน

22 ม.ค. 2567 – เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 22 ม.ค. ที่รัฐสภา นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา พร้อมด้วย สว. อาทิ นายสมชาย แสวงการ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ว่าที่ร้อยตรีวงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ เข้ายื่นญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 153 พร้อมรายชื่อ สว. ที่ร่วมลงชื่อในญัตติจำนวน 98 คน ยื่นต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา

โดยเนื้อหาในญัตติดังกล่าวระบุว่า คณะรัฐมนตรีภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 10 ก.ย.66 และได้เข้าบริหารราชการแผ่นดิน มาจนถึงบัดนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ประมาณ 4 เดือน รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินแก้ไขปัญหาสำคัญตามนโยบายที่แถลงไว้ รวมถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้แถลงนโยบายไปแล้ว ซึ่งมีทั้งหมด 7 หัวข้อคือ

1.ปัญหาด้านเศรษฐกิจของชาติและปัญหาปากท้องของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการสร้างงานสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่ยั่งยืน การทำให้ประชาชนมีรายได้ และมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และเป็นการแก้ปัญหาความยากจน รัฐบาลมีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างไร รวมถึงสภาพปัญหาการดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ชอบด้วยกฎหมายและไม่สร้างภาระหนี้สินให้กับประชาชนจะดำเนินการได้จริงหรือไม่ รวมถึงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลทำอยู่ไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาจากต้นตอ

2.ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามคำพิพากษาที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรม 2 มาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ช่วยพวกพ้องหาผลประโยชน์ส่วนตัว สร้างมาตรฐานในกระบวนการที่บิดเบี้ยว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ไม่เท่าเทียม การทุจริตคอร์รัปชัน ยาเสพติดและการพนัน รวมไปถึงการแก้ปัญหาปราบปรามขบวนการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ การเปลี่ยน ส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรมอาจเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน รวมถึงแนวทางการปราบปรามผู้มีอิทธิพลการยาเสพติดที่ยังไม่เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม มาตรการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเรียกส่วยหรือการหาผลประโยชน์ทุกกรณีจะแก้ปัญหาจริงจังและเป็นรูปธรรม การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจะทำให้มีประสิทธิภาพอย่างไร

3.ปัญหาด้านพลังงาน ไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างปัญหาของประเทศ และการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟ ก๊าสหุ้งต้ม และน้ำมัน นอกจากนั้นจะแก้ปัญหากลุ่มทุนพลังงาน มีอิทธิพลกับการเมือง ทำให้กลุ่มทุนกำหนดราคาพลังงานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น จนทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระราคาเชื้อเพลิงที่สูงเกินจริง

4.ปัญหาด้านการศึกษาและสังคม ไม่เร่งปฏิรูปการศึกษาเพิกเฉยต่อการพลักดันการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ให้เข้าสู่การพิจารณาของสภา เพื่อให้เป็นกฎหมายบังคับใช้เป็นแม่บทในการพัฒนาการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่เร่งรัดและปล่อยปละละเลยในการแก้ปัญหาการปรับโครงสร้างของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งหลังจากพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้มีผลบังคับใช้เกือบ 1 ปีแล้ว แต่ไม่สามารถปรับโครงสร้างได้ ทำให้เกิดผลเสียต่อการศึกษาอย่างร้ายแรง รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งรัฐบาลยังไม่สามารถทำงานให้เป็นรูปธรรม และแก้ปัญหาผู้สูงวัย ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส และการรักษาพยาบาล การสาธารณสุข

5.ปัญหาด้านการต่างประเทศและการท่องเที่ยว รัฐบาลจะแก้ไขอย่างไรกับผู้กระทำความผิดที่เป็นจีนเทา เพราะจะกระทบกับความสัมพันธ์และความรู้สึกของชาวจีน รวมถึงการวางตัวเป็นกลาง และการเลือกข้างของรัฐบาล กับความขัดแย้งของประเทศต่างๆ จะวางตัวอย่างไรให้เหมาะสม และมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวในการเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย

6.ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการทำประชามติ ต้องมีความชัดเจน เพื่ออธิบายให้ได้ว่ามีความจำเป็นในการดำเนินการอย่างไร โดยชอบด้วยกฎหมาย เกิดประโยชน์ของประชาชน และการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศได้อย่างไร

และ 7.ปัญหาการดำเนินการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่วุฒิสภาได้เสนอแนะเร่งรัดต่อรัฐบาลไปแล้วนั้น รัฐบาลมีนโยบายและแนวทางดำเนินการตามข้อเสนอแนะอย่างไร

ในญัตติ ระบุว่า ปัญหาข้างต้นเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่เร่งด่วน ที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการและแก้ไขปัญหาโดยทันที เพราะส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งไม่บรรลุเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี และรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การยื่นญัตติดังกล่าวเป็นการยื่นเพื่อประโยชน์แก่ในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลยังไม่ดำเนินการหรือดำเนินการล่าช้าในการแก้ไขปัญหาสำคัญตามนโยบายที่ได้แถลงไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สว. ทั้ง 98 คน ที่ร่วมลงชื่อในญัตติดังกล่าวมีทุกสาย ทั้ง สว. ที่มาจากสายทหาร อาทิ พล.อ.อู๊ด เบื้องบน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม พล.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร พล.อ.พิศณุ พุทธวงศ์ ด้าน สว.จากพลเรือน อาทิ นายเสรี สุวรรณภานนท์ นายจเด็จ อินสว่าง นายเฉลิมชัย เฟื่อนคอน นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม นายถวิล เปลี่ยนสี นายสมชาย แสวงการ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายกิตติศักดิ์ รัตนวารหะ ส่วนสายนักธุรกิจ นายเจน นำชัยศิริ สำหรับสายนักวิชาการ นพ.อําพล จินดาวัฒนะ ขณะที่จากข้าราชการ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ เป็นต้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

'แก้วสรร' แพร่บทความปอกเปลือก ทักษิโณมิคส์ บวก X กลายเป็นโครงการแจกเงินดิจิทัล

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง "ทักษิโณมิคส์ + X = โครงการแจกเงินดิจิตอล" มีเนื้อหาดังนี้ เมื่อคราวแรกเริ่มครองอำนาจในปี ๒๕๔๖ ของพรรคทักษิณ ที่พลิกมิติการปกครองไทยด้วยชุดนโยบายการเงินที่โหมอัดฉีดประชานิยมชนิดเข้มข้นต่างๆนานา

'คารม' จวก 'เด็จพี่' ฟุ้งซ่าน! 'บี พุทธิพงษ์' วิจารณ์ดิจิทัลวอลเล็ต แค่ความเห็นส่วนตัว

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ออกมาพูดถึงนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไท