เปิดตัว Leadership Poll โพลผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง

3 ก.พ.2567 -  ที่ห้องประชุม 1-308 อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดตัวโครงการ “Leadership Poll” ภายในงานมีการแถลงข่าวผลสำรวจความคิดเห็นลีดเดอร์ชิพโพลล์ ครั้งที่ 1/2567 โดย รองศาสตราจารย์ ร.ต.อ.ดร.จอมเดช ตรีเมฆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม ในฐานะหัวหน้าลีดเดอร์ชิพโพลล์ นำเสนอผลสำรวจความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. ความคิดเห็นต่อนโยบาย "เงินหมื่นดิจิตอล" ของรัฐบาล 2. ความคิดเห็นต่อโครงการ "แลนด์บริดจ์" ของรัฐบาล 3. ความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน "ซอฟต์พาวเวอร์" ของรัฐบาล 4. ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ 5. ความคิดเห็นต่อความมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งโพลดังกล่าวเป็นการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 543 ตัวอย่างในเดือนมกราคม 2567 จากกลุ่มผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (PURPOSIVE SAMPLING)
 
โดย ผลการสำรวจพบว่า 1.ความคิดเห็นต่อนโยบาย "เงินหมื่นดิจิตอล" ของรัฐบาล
 
62.20 % ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวเห็นควรให้ระงับการดำเนินการ
21.30 % เห็นด้วยกับการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวแต่เห็นควรให้ชะลอการดำเนินการหรือมีการทบทวนการดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้ง
13.00 % เห็นด้วยตามที่รัฐบาลนำเสนอและควรเร่งดำเนินการตามกรอบเวลา
3.50 % ความคิดเห็นอื่นๆ เช่น
- ยังไม่ได้ศึกษามากพอที่จะออกความคิดเห็น
- ไม่แน่ใจ
- ไม่ค่อยสนใจ
 
2. ความคิดเห็นต่อโครงการ "แลนด์บริดจ์" ของรัฐบาล
 
36.70 % เห็นด้วยกับการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวแต่เห็นควรให้ชะลอการดำเนินการหรือมีการทบทวนการดำเนินการอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้ง
29.60 % ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวเห็นควรให้ระงับการดำเนินการ
28.00 % เห็นด้วยตามที่รัฐบาลนำเสนอและควรเร่งดำเนินการตามกรอบเวลา
5.70 % ความคิดเห็นอื่นๆ เช่น
- ไม่ทราบรายละเอียด
- ต้องการข้อมูลที่ศึกษา
- ไม่แน่ใจ
 
 
3. ความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน "ซอฟต์พาวเวอร์" ของรัฐบาล
 
41.10 % เห็นด้วยตามที่รัฐบาลนำเสนอและควรเร่งดำเนินการตามกรอบเวลา
37.30 % เห็นด้วยกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวแต่เห็นควรให้ชะลอการดำเนินการหรือมีการทบทวนการจัดสรรงบประมาณอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้ง
14.50 % ไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวเห็นควรให้ระงับการดำเนินการ
1.40 % ความคิดเห็นอื่นๆ เช่น
- ไม่ทราบรายละเอียด
- เห็นด้วยเป็นบางอย่าง
- ยังเข้าใจไม่ชัดเจน
 
4. ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
 
52.40 % เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา
28.8 % เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
14.5% ไม่เห็นด้วย
4.3% ความคิดเห็นอื่นๆ เช่น
- ไม่เห็นด้วยกับการแก้มาตรา 112
- แก้ไขบางมาตราที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนจริงๆ
- นำรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้และพิจารณาปรับปรุงหลักการในบางมาตรา
 
5. ความคิดเห็นต่อความมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
 
51.20 % ยังคงขาดความมุ่งมั่นในการดำเนินการ
 
34.90 % มีความมุ่งมั่นแต่ยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม
9.40 % มีความมุ่งมั่น
4.50 % ความคิดเห็นอื่นๆ 
- ยังไม่ได้ศึกษามากพอที่จะออกความคิดเห็น
- ไม่ทราบแน่ชัด
- ไม่แน่ใจ ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งยังน้อยเกินกว่าที่จะประเมิน
 
ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ได้จากการสำรวจ
1. เท่าที่ผ่านมายังไม่เห็นอะไรเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร อย่างน้อยนโยบายที่ใช้หาเสียงก็ควรมีการดำเนินการตามที่เคยพูดไว้ยังมองไม่ออกว่าอะไรที่ทำไปแล้ว และอะไรที่ยังไม่ได้ทำก็ควรชี้แจง
 
2. รัฐบาลต้องเคารพกฎหมาย เป็นตัวอย่างของการรักษาความยุติธรรม ไม่ให้อภิสิทธิใครให้อยู่เหนือกฎหมาย
 
3. การพัฒนาประเทศควรใช้สิ่งที่ไทยได้เปรียบเป็นสารตั้งต้นสำคัญ นโยบายสาธารณะที่ดีบางครั้งเกิดจากนวัตกรรมทางกระบวนการ แค่ปรับเปลี่ยนวิธีการก็อาจมีผลดีอย่างมีนัยสำคัญ ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมหาศาล
 
4. รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหา ในเรื่องของยาเสพติด ควบคู่กับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยเร่งด่วน
 
5. รัฐบาลควรลำดับความสำคัญ ความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะการทุจริต การศึกษาและการทำงานของข้าราชการที่ล่าช้าและไม่สอดคล้องกับสภาวะการปัจจุบัน
 
6. รัฐบาลยังคงกังวลเรื่องคะแนนเสียงมากกว่าการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังและจริงใจ
 
7. โครงการแลนด์บริดจ์ ที่ดูไม่ได้รับความสนใจ เพราะต้องขนของจากเรือที่ฝั่งอ่าวไทย ขนขึ้นรถไฟ แล้วขนลงเรืออีกครั้งที่ฝั่งอันดามัน ไม่สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติจริง ควรเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น ที่ไม่ต้องขนของขึ้นๆลงๆ จากเรือ คือให้เรือทั้งลำแล่นผ่านไปได้เลย
 
8. ควรให้ความสนใจปัญหาโครงสร้างทางสังคมและการศึกษาในระดับแรกๆ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อนาคตของประเทศไทยดูแล้วมีแต่ถอยหลังเพราะเยาวชนของชาติไม่มีคุณภาพ คนไทยไม่ชอบใช้เหตุผล ใช่อารมณ์และความชอบส่วนตัวในการตัดสินใจปัญหา สนใจไสยศาสตร์มากกว่าวิทยาศาสตร์
 
9. เข้าใจว่าผู้นำหลายท่านกังวลกับวิกฤติเศรษฐกิจ แต่วิกฤติความขัดแย้งที่เป็นผลเรื้อรังมานับสิบปีก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งหากไม่มีแผนการดำเนินงานดังกล่าว ประชาชนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะตกอยู่ในภาวะ Burnout และเลือกที่จะชะลอการสร้างผลผลิต (Productivity) หรือเลือกที่จะไม่พัฒนาศักยภาพ (Capacity) ซึ่งจะเกิดปัญหาเรื้อรังต่อไปในอนาคต โดยอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศของการเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศ หรือสร้างความภูมิใจร่วมที่คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงได้
 
10. เรื่องการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท รัฐบาลต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่า ประเทศเกิดภาวะที่จะเรียกว่าวิกฤตหรือไม่ อย่างไร ถ้าจะแจก ควรกำหนดกลุ่มผู้เดือดร้อนให้ชัดเจน และเมื่อเป็นเงินกู้ เหตุใดจึงต้องจ่ายเป็นเงินดิจิทัล ทำไมไม่จ่ายเป็นเงินบาท ใครเป็นผู้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราการแลกเปลี่ยน และมีค่าใช้จ่ายในการแปลงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โอกาสมาแล้ว! จี้ประชาธิปัตย์ถอนตัวพ้นรัฐบาล ฟื้นศรัทธาจากประชาชน

“นิพนธ์ บุญญามณี” เสนอประชาธิปัตย์ถอนตัวจากรัฐบาล ยกกรณีรัฐบาลชาติชายเป็นตัวอย่าง ชี้การร่วมอำนาจกับระบอบทักษิณทำพรรคยิ่งเสื่อม แนะถอนตัวคือทางรอด ฟื้นศรัทธาจากประชาชน

สถานการณ์ไทย-กัมพูชา มันมีการเซตอัปขึ้นมา ใครด่าผมคลั่งชาติ ก็ช่างมัน

สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ยังคงเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องติดตามกันต่อไป แม้หลายวันที่ผ่านมาสถานการณ์ที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี จะคลายความตึงเครียดลง หลังกัมพูชามีการปรับกำลังทหารและดำเนินการกลบคูเลตให้กลับคืนสู่

‘เพื่อไทย’ดาหน้าไล่‘หนู’

เพื่อไทยดาหน้าประกาศแยกทางภูมิใจไทย “สุทิน” ชี้ “อนุทิน” แค่อยากรักษาสถานะตัวเอง ใช้วิธีต่อรอง ขู่ จี้ปรับ ครม.เร็วๆ อ้างทำให้นโยบายรัฐบาลเป็นรูปธรรม “วรชัย”

'สุทิน' หนุนปรับครม. จิก 'อนุทิน' แค่รักษาสถานะตัวเอง

“สุทิน คลังแสง” หนุนปรับ ครม. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายเพื่อประชาชน แต่เตือนต้องชั่งน้ำหนักความพร้อมของรัฐบาล ซัด “อนุทิน” โวยเพราะไม่อยากเสียเก้าอี้ ไม่ต่างจากคนอื่นที่พยายามต่อรองเพื่ออยู่รอด

อยู่ก็อึดอัด จะไปก็ไปเถอะ! วรชัยยุส่งอนุทิน ย้ำรัฐบาลฝืนร่วมทางไปก็ไร้ค่า

วรชัย เหมะ อดีต สส.เพื่อไทย ในนามคนร่วมขบวนทักษิณประชดแรง! ชี้ถ้า “อนุทิน” จะไปเป็นฝ่ายค้านก็ไม่เห็นแปลก อยู่ก็อึดอัด อยู่ก็ขัดกันทุกวัน ซัดรัฐบาลทำงานคนละทาง

'เด็จพี่' โผล่โต้เสียงวิจารณ์คดีทักษิณ มองกลุ่มขาประจำชี้นำสังคมเกินเหตุ

“พร้อมพงศ์” โต้กลุ่มวิจารณ์คดีทักษิณ ชี้ใช้ความเห็นส่วนตัวสร้างกระแสก่อนศาลพิพากษา ย้ำกระบวนการยังอยู่ระหว่างไต่สวนพยาน แนะอย่าเร่งสรุปผลคดีล่วงหน้า