'ภูมิใจไทย' ยื่นร่างกฎหมาย รื้อ 'คำสั่ง คสช.'

‘ภูมิใจไทย’ ยื่นร่างกฎหมายรื้อคำสั่ง คสช. ลั่นไม่ได้ตำหนิ ชี้บางฉบับมีความจำเป็นในการปกครอง ขอเปลี่ยนชื่อเป็น พ.ร.บ. ให้ดูดีในสายตาต่างชาติ

5 ก.พ. 2567 – เมื่อเวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส. กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยกเลิกประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. … ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับร่าง พ.ร.บ.

นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้เข้าสู่ระบบรัฐสภาไปเมื่อวันที่ 31 ม.ค. และทางพรรคได้ติดตามเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ สืบเนื่องจากนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจ ได้มอบหมายให้นายศุภชัย ใจสมุทร และทีมกฎหมายของพรรคภูมิใจไทยศึกษาว่าประกาศและคำสั่งของ คสช. ที่ผ่านมา มีปัญหาต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและได้รับการร้องเรียนเรื่องสิทธิมนุษยชนจากหลายองค์กร จึงเป็นที่มาในวันนี้

โดยการศึกษาคำประกาศและคำสั่งของ คสช. ที่ผ่านมา มีทั้งหมด 240 เรื่อง มีออกเป็นกฎหมาย 71 ฉบับ ซึ่งคำสั่งของคณะปฏิวัติเทียบเท่ากับ พ.ร.บ. ก็จะต้องทำเป็น พ.ร.บ. ในการยกเลิกเช่นกัน จึงมีการศึกษาว่าเนื้อหามีสาระสำคัญที่ยังใช้บังคับได้มีด้วยกัน 37 เรื่อง จะสามารถนำมาใช้โดยเปลี่ยนเป็นคำสั่งหรือประกาศให้เป็นพ.ร.บ. ส่วนประกาศหรืออย่างอื่นที่ต่ำกว่า พ.ร.บ. สามารถยกเลิกได้โดยการทำเป็นพระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวงอย่างละ 2 ฉบับ ส่วนสิ่งที่ต่ำกว่า พ.ร.บ. ที่เทียบเท่ามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีทั้งหมด 55 เรื่อง

ขณะที่พระราชบัญญัติพ่วง คือการรวมประกาศในคำสั่งที่จะมาแก้ไขด้วยกันซึ่ง 240 ฉบับนั้น มีเรื่องที่ที่จะต้องแก้ไข 71 เรื่อง จึงได้นำเรื่องที่จะต้องแก้ไขมาใช้เป็นท้ายร่างประกาศ ส่วนก่อนหน้านี้ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 25 ที่ผ่านมา เคยมีการทบทวนคล้ายกับการสังคายนากฏหมาย และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2560

“ประเทศไทยในวันนี้มีประกาศคณะปฏิวัติที่บังคับใช้อยู่ตั้งแต่ตอนต้นรวมกว่าพันฉบับ ซึ่งก่อนครบวาระสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 มีการพยายามทำกฏหมายโดยการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงโดยสะดวก แต่คณะกรรมาธิการชุดนี้ดำเนินการไปเพียง 12 ครั้ง ก็ไม่สำเร็จ อย่างไรก็ตาม การพยายามเรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้สนับสนุนในเรื่องของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว และไม่ได้ตำหนิคำประกาศของคณะปฏิวัติแต่อย่างใด บางฉบับก็มีความจำเป็นในการปกครองประเทศ เพียงแค่เปลี่ยนชื่อจากคำประกาศคณะปฏิวัติมาให้เป็นกฎหมาย ชื่อ พ.ร.บ. หรืออย่างอื่น จะดูดีในของชาวต่างชาติที่จะมาลงทุนในประเทศไทย” นายสฤษฏ์พงษ์ ระบุ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' จวก 'เด็จพี่' ฟุ้งซ่าน! 'บี พุทธิพงษ์' วิจารณ์ดิจิทัลวอลเล็ต แค่ความเห็นส่วนตัว

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย ออกมาพูดถึงนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ซึ่งเคยเป็นอดีตผู้สมัคร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไท

'อนุทิน' ย้ำ ภท.หนุนดิจิทัลวอลเล็ตให้เป็นไปตามกฎหมาย ยึดข้อเสนอ 3 หน่วยงาน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย(ภท.) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวทางโทรศัพท์ ถึงกรณีที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ สมาชิกพรรคภูมิใจไทย ออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านโครงการแจกเงินดิจิทัล

ร่างกฎหมายว่าด้วยเศรษฐกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

ปัจจุบันวิถีชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตเป็นอันมาก โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ ของประชาชนได้เข้าสู่การดำเนินการผ่านโลกออนไลน์

'อนุทิน' ไม่กังวลแบงก์ชาติท้วงแจกเงินดิจิทัล ชี้หากไม่ถูกกฎหมาย กฤษฎีกา-สภาพัฒน์ต้องแจ้งมา

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหนังสือเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

'เสี่ยหนู' ขอเช็กปมเก้าอี้ 'ครูแก้ว' หลังถูก ป.ป.ช.ฟันจริยธรรมร้ายแรงก่อน

'อนุทิน' ขอเช็กรายละเอียด ตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี หลัง 'ครูแก้ว' ถูก ป.ป.ช.ชี้จริยธรรมร้ายแรงที่ดินป่าดงพะทาย