“อนาคตไกล” คลายปม “ชาญ พวงเพ็ชร”การสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ 'นายกอบจ.ปทุมธานี' เป็นดุลพินิจของศาล คำชี้ขาดคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ผูกพันองค์กรอื่น
3 ก.ค.2567 - ที่พรรคอนาคตไกล ว่าที่ ดร.ภูษิต มิ่งขวัญ รักษาการเลขาธิการพรรคอนาคตไกล กล่าวว่า กรณีมีความเห็นแตกต่างกันระหว่างนายภูมิธรรม เวชชยชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นตรงข้ามกัน ระหว่างการให้หยุดปฎิบัติหน้าที่โดยอัตโนมัติหรือให้ศาลชี้ขาดกรณีหากนายชาญ พวงเพ็ชร ว่าที่นายก อบจ.ปทุมธานีได้รับรองจาก กกต.แล้ว ตนอธิบายข้อกฎหมายมหาชนให้ความรู้แก่ประชาชนว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผูกพันองค์กรอื่น แต่เป็นแนวทางปฏิบัติการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเท่านั้น มีความแตกต่างจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ มาตรา 211 วรรคท้าย บัญญัติให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญเด็ดขาด ผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระและหน่วยงานของรัฐ
ดังนั้นแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา นายชาญจะปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้ ทั้งกระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ไม่มีอำนาจที่จะไปสั่งให้นายชาญ ว่าที่ นายก อบจ.ปทุมธานี สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะองค์กรที่มีอำนาจ ตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต มาตรา 81 เป็นอำนาจของศาล ทำให้เปิดช่องให้นายชาญตั้งรองนายก อบจ.ปทุมธานี หากศาลมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่
ว่าที่ ดร.ภูษิต รักษาการเลขาธิการพรรคอนาคตไกล กล่าวต่อว่า ในมาตรา 81 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้อง ให้ผู้กล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลพิพากษา แต่ในขณะยื่นฟ้องนายชาญไม่มีสมาชิกภาพเป็นนายก อบจ.ปทุมธานี หากพิจารณาข้อกฎหมาย เป็นการเข้ามาวสู่อำนาจใหม่ในตำแหน่งเดิมในระหว่างพิจารณาคดี กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ แต่เกิดจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีหนังสือเวียนไปยังกระทรวงมหาดไทย หากพิจารณาข้อยกเว้นที่ว่า เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น หมายความว่า บทบัญญัติมาตรานี้ เป็นดุลพินิจของศาล ไม่ใช่ว่า เมื่อเข้ามาให้จะหยุดปฎิบัติหน้าที่โดยอัตโนมัติ
รักษาการเลขาธิการพรรคอนาคตไกล กล่าวว่าขอถาม นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่บอกว่า ให้หยุดโดยอัตโนมัติ กฎหมายเขียนไว้ตรงไหน หากเกิดจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ย่อมไม่ผูกพันศาล และไม่ผูกพันนายชาญว่าที่นายกอบจ.ปทุมธานี ซึ่งถือว่าเป็นดุลพินิจของศาล ทำให้สังคมเข้าใจสับสน ดังนั้น หากให้นายชาญหยุดปฎิบัติหน้าที่ ปปช.ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องเอง เมื่อ กกต.รับรองนายชาญ พวงเพ็ชร เป็นนายก อบจ.ปทุมธานี ใช้ช่องทางยื่นคำร้องให้ศาลอาญาทุจริตฯ มีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่โดยคัดหนังสือที่ กกต.รับรองไปยืนยันและขอให้ศาลวินิจฉัยให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ตามความในมาตรา 81 วรรคหนึ่ง แห่ง พรป.ปปช. เพราะเป็นดุลพินิจเด็ดขาดของศาลว่าจะสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ได้ ให้นายปกรณ์ ไปอ่านกฎหมายให้ละเอียดก่อนให้สัมภาษณ์ จะทำให้สังคมสับสน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นิพิฏฐ์' โพสต์ 'หน้าที่รัฐ' ความต่างระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "หน้าที่รัฐ" ระบุว่า การถือกำเนิดของรัฐ มาจากหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ “
'อ้วน' แล้วแต่ 'เท้ง' เตรียมยื่นสภาฯถกเอ็มโอยู 44
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ในฐานะผู้นำฝ่ายค้า
'เลขาฯกฤษฎีกา' เผย 'คลัง' ไม่ส่งชื่อ ‘กิตติรัตน์‘ ให้ตรวจคุณสมบัติ
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกระทรวงการคลัง ได้มีการส่งชื่อ นายกิตติรั
'อนุทิน' เมิน 'หมอเชิดชัย' เสนอยุบสภา
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์กรณีน.พ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์
ดร.เสรี ถามพรรคการเมืองฝ่าย ‘อนุรักษ์นิยม’ จะรวมกันกี่โมง?
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสารโพสต์เฟซบุ๊กว่า ส้มเลือ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น