6 ส.ค.2567- ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พ.ศ. … จำนวน 1.22 แสนล้านบาท ซึ่งวุฒิสภาจะต้องพิจารณาให้ความเห็นหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วันนับแต่วันที่ร่างพ.ร.บ.มาถึงวุฒิสภา ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 20 ส.ค. ทั้งนี้ มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯและรมว.คลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง และนายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เข้าร่วมประชุมด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเป็นเสียงส่วนใหญ่ให้ยกเว้นข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ไม่ต้องตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญมาพิจารณา แต่ให้ใช้วิธีตั้งคณะกมธ.เต็มสภา เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว 3 วาระรวด
นายเศรษฐา กล่าวชี้แจงหลักการและเหตุผลของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ตอนหนึ่งว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการดำรงชีพ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจควบคู่กับการรักษาระดับการบริโภคและการลงทุนในประเทศ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านโครงการเติมเงินหนึ่งหมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต อันเป็นกรณีที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน โดยไม่สามารถรองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ได้ จึงต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จำนวนไม่เกิน 1.22 แสนล้านบาท
นายเศรษฐา ย้ำว่าประมาณการเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามร่างพ.ร.บ.รายจ่ายเพิ่มเติมงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีดังนี้ คือ 1.ภาษีและรายได้อื่น โดยเป็นแหล่งเงินจากการจัดเก็บรายได้ที่เดิมไม่ได้กำหนดไว้ในประมาณการ จำนวน 1 หมื่นล้านบาท, 2.เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 1.12 แสนล้านบาท โดยภาวะเศรษฐกิจในปี 2567 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.0-3.0 มีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการอุปโภค บริโภค การลงทุน และการกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ ของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก
“ฐานะการคลัง มีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 เมษายน 2567 มีจำนวน 11.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.78 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ปัจจุบันฐานะเงินคงคลัง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 มีจำนวน 3.9 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลจะบริหารเงินคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และบริหารรายรับและรายจ่ายของรัฐให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด” นายกฯ ระบุ
นายเศรษฐา กล่าวอีกว่า สำหรับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เมื่อรวมกับกรอบวงเงินเดิมตามพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 3.48 ล้านล้านบาท จะทำให้ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 มีงบประมาณรายจ่ายรวม 3.60 ล้านล้านบาท จะมีการขาดดุลเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลได้จัดสรรรายจ่ายลงทุนไว้ในงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 9.76 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับรายจ่ายลงทุนตามพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะทำให้มีรายจ่ายลงทุน จำนวน 8.07 แสนล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานทันทีที่นายกฯแถลงหลักการและเหตุผลของร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว ได้เดินทางออกจากรัฐสภาไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อทันที.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายกฯอิ๊งค์' แถลง แจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เริ่ม 25 ก.ย. จะมีเฟสสองและต่อๆไป
ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า
เลขาฯครม. ปัดตอบ นายกฯ ทำมินิฮาร์ท ผิดจริยธรรมหรือไม่ โยนถามสปน.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ปฎิเสธแสดงความเห็นกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรค
'มาดามแพ' นั่งหัวโต๊ะ ประเดิมประชุมครม.นัดแรก เผยเจอม็อบไม่เสียสมาธิ
ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าปฎิบัติหน้าที่ตึกไทยคู่ฟ้า โดยเวลา 09.45 น. นายกฯ เดินลงจา
'หมอเปรม-นันทนา' รุมโวยรัฐมนตรี เทกระทู้สภาสูง
สว. โวย 'รมต.' เท ตอบกระทู้ ถ่ายโอน รพ.สต.-แก้ปัญหาการครอบงำของอีคอมเมิร์ซข้ามชาติ 'หมอเปรม' ซัด 30บาทรักษาทุกที่คือที่ไหน ขณะที่ 'นันทนา' ฉะ 'รมว.พณ.' ไม่สนใจช่วยเอสเอ็มอี
เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน ประธานศาลรธน. 1 ใน 4 ตุลาการ : ความเป็นรมต.ของ 'เศรษฐา' ไม่สิ้นสุดลง
สืบเนื่องจาก ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพา
สว. แห่ลงชื่ออภิปรายนโยบายรัฐบาล 57 คน เวลาเฉลี่ยคนละ 5 นาที
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการลงชื่อของสมาชิกวุฒิสภา เพื่ออภิปรายนโยบายของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ในที่ประชุมรัฐสภาวันที่ 12-13 ก.ย. ว่า พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง