8 ก.ย. 2567 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศเฉพาะผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น เรื่อง “การเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติ” ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,149 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ร้อยละ 57.88 โดยอยากให้ผู้สมัครนำเสนอนโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมในชุมชน ร้อยละ 72.58 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร คือ นโยบายของผู้สมัคร ร้อยละ 67.42 ทั้งนี้ไม่เห็นด้วยหากมองว่าผลการเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่เกี่ยวข้องกับผลการเลือกตั้งระดับชาติ ร้อยละ 52.13
สุดท้ายในการทำงานท้องถิ่นมีความเชื่อมั่นในพรรคประชาชนมากที่สุด ร้อยละ 30.73 รองลงมาคือ เพื่อไทย ร้อยละ 22.38 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลการสำรวจเมื่อวันที่ 9 – 12 กรกฎาคม 2567 พบว่า คะแนนของพรรคประชาชน (ก้าวไกลเดิม) ลดลงเล็กน้อย จากร้อยละ 32.53 เหลือร้อยละ 30.73 ในขณะที่พรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.79 เป็นร้อยละ 22.38
นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมองการเลือกตั้งท้องถิ่นและการเลือกตั้งระดับชาติมีทั้งเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกัน โดยอาจมีความเชื่อมโยงกันทางการเมืองและการสนับสนุนของพรรคและบทบาทของบ้านใหญ่ก็มีผลต่อการเลือกตั้ง ด้านพรรคประชาชนนอกจากมีกระแสในการเลือกตั้งระดับชาติแล้ว ก็ยังมีกระแสในการเลือกตั้งท้องถิ่นเช่นกัน แต่หากพรรคไม่สามารถล้มบ้านใหญ่ได้ก็อาจจะยากในสนามแข่งขัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัญชลี รัตนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัย สวนดุสิต อธิบายว่า การปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยและเป็นการปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมากที่สุด ดังนั้นในการเลือกตั้งท้องถิ่น ประชาชนจึงมักจะเลือกโดยตัดสินใจจากความสัมพันธ์ระดับปัจเจกเป็นอันดับแรก ไม่ใช่กระแสของพรรคการเมืองระดับชาติ โดยเฉพาะการเลือกในระดับสมาชิก ผู้สมัครที่ได้รับเลือกต้องเป็นคนประเภทเรียกง่าย ใช้คล่อง เป็นพี่น้องพวกพ้องที่รู้จักกัน ส่วนการเลือกตั้งผู้นำองค์กรในตำแหน่งนายก มักพิจารณาจากบารมีส่วนบุคคลที่ประชาชนในพื้นที่รู้สึกว่าสามารถพึ่งพาอาศัยได้ในทุกสถานการณ์แบบใจถึง พึ่งได้ ยิ่งสถานการณ์ที่ระบบราชการมีอำนาจเข้มแข็ง แต่อำนาจของประชาชนในการต่อรองหรือแสดงความคิดเห็นมีน้อย ยิ่งทำให้ระบบบ้านใหญ่เติบโตเพราะประชาชนมักต่อรองผ่านอำนาจบารมีของบ้านใหญ่ในพื้นที่เป็นหลัก การทำงานผ่านกระแสพรรคหรือกระแสของการเมืองระดับชาติจึงไม่สามารถฝ่าด่านบ้านใหญ่ได้โดยง่าย แต่ต้องอาศัยการทำงานเชิงความคิดร่วมกับเครือข่ายหรือคนในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจึงเกิดมรรคผลเป็นรูปธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กกต. ตั้งเป้าประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ.68 ร้อยละ 65-70
นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. เปิดเผยถึงแผนเตรียมการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น อบจ. ที่จะครบวาระดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ โดยยืนยันที่จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นในวันเสาร์
ดุสิตโพลชี้ คนไทยหวังโครงการแจกเงิน เป็นของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,246 คน
แค่สีสัน! 'เท้ง’ เสียงแข็งไม่หวั่น ‘ทักษิณ’ ลงช่วยผู้สมัคร นายก อบจ.อุบลฯ หาเสียง
หัวหน้าพรรคปชน.มองทักษิณ เป็นสีสัน เป็นสิ่งที่ดีที่มีคนลงมาช่วยหาเสียง ทำให้พ่อแม่พี่น้องประชาชนให้ความสนใจในการเลือกตั้งมากยิ่งขึ้น
ส้มร่วงอีกสนาม! เลือกตั้ง นายกอบจ.กำแพงเพชร ‘แชมป์เก่า’ ทิ้งขาด เด็กพรรคปชน.
รายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร วันที่ 1 ธ.ค.2567 ซึ่งเปิดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ลงคะแนนตั้งแต่เวลา 08.00 น.
เพื่อไทยฮึกเหิม! เล็งส่งคนชิงนายก อบจ.เพิ่มหลังคว้าชัยสนามเมืองอุดรฯ
'ประเสริฐ' บอก 'เพื่อไทย' มั่นใจขึ้น หลังชนะ 'สนามอุดรฯ' เล็งส่งคนชิงเลือกตั้ง 'นายก อบจ.' เพิ่มอีก
ดุสิตโพล ชี้คนไทยห่วงมาตรการกระตุ้นศก. รัฐบาลอิ๊งค์ สร้างภาระให้ประเทศ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “รัฐบาลแพทองธาร กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ” ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,227 คน สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างกังวลว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแพทองธารอาจก่อให้เกิดภาระหนี้สาธารณะ