ดร.ณัฏฐ์ มือกม.มหาชน ฟันเปรี้ยง 'ประชามติชั้นเดียว' เจอด่านหิน! เป้าแก้รธน.ทั้งฉบับไม่ง่าย

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชนฟันธง แก้ไข พรบ.ประชามติชั้นเดียว เครื่องมือแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เจอด่านหิน สว.ลากตั้ง ชี้โอกาสยกเครื่องใหม่รัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่ง่ายแล้ว
 
13 ต.ค.2567 - สืบเนื่องจากตามที่ร่างพระราชบัญญัติประชามติ ในการแก้ไขหลักการประชามติชั้นเดียว ไม่ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ทำให้ร่างดังกล่าวย้อนกลับมาพิจารณาของ สส.อีกครั้ง 
 
ต่อมาวันที่ 9 ต.ค.ที่ผ่านมา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้หยิบร่างดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง โดยยืนยันหลักการเดิมในร่าง พรบ.ประชามติ โดยมติเห็นชอบ 348 เสียง พรรคภูมิใจไทย งดออกเสียง 65 เสียง ส่งผลต่อนัยยะทางการเมือง อย่างไร เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเป็นนโยบายเรือธงที่พรรคเพื่อไทยนำไปหาเสียงไว้นั้น 
 
ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฎฐ์ นักกฎหมายมหาชน ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นดังกล่าวว่า ก่อนอื่นขอน้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ พระมหากษัตริย์ ในหลวงรัชกาลที่ 9....ตนมองว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาล ควรจะไปแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปากท้องพี่น้องประชาชนก่อน แม้รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 มาจาก คสช.อ้างว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่พูดไม่หมดว่า ไม่เป็นประชาธิปไตยในรูปแบบหรือในเนื้อหาอย่างไร เพราะอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ  มาจากการจัดทำประชามติของประชาชน เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่ใช้อำนาจอธิปไตยในการออกเสียงเห็นด้วย ทั้งยังเห็นด้วยกับคำถามพ่วงท้ายแล้วนำไปปรับแก้รัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล 
 
ส่วน พรบ.ประชามติ ฉบับล่าสุด เกิดขึ้นในปี 2564 เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการออกเสียงประชามติ เพิ่มองค์ประกอบ “จำนวนกึ่งหนึ่ง” และ “เสียงส่วนใหญ่” ที่เรียกว่า “เสียงข้างมากสองชั้น” แต่รัฐบาลแพทองธาร ต้องการแก้ไขให้เป็น "เสียงข้างมากธรรมดา” เพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมทั้งฉบับให้ง่ายขึ้น เพราะระบบสองชั้น หากผู้ออกเสียงมาใช้สิทธิออกเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง การรออกเสียงประชามติย่อมเสียไป 
           
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่าข้อกฎหมาย เสียงข้างมากสองชั้น ปรากฏตาม พระราชบัญญัติประชามติ พ.ศ.2564 มาตรา 11  บัญญัติว่า “การออกเสียงที่จะถือว่ามีข้อยุติในเรื่องที่จัดทำประชามติ ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องที่ทำประชามตินั้น”
 
วิธีการที่รัฐบางแพทองธาร คุมเสียงข้างมากในสภา จะใช้วิธีการแก้ไขในมาตรานี้และมาตราที่เกี่ยวข้องก่อนแล้ว ต้องบอกก่อนว่า ที่ให้สัมภาษณ์ เป็นการให้ความรู้กฎหมายมหาชนแก่ประชาชน เพราะรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ประชาชนหรือผู้ใฝ่รู้ จะได้ติดอาวุธทางปัญญา หากผ่านการแก้ไขตามร่าง พรบ.ประชามติ จะนำเป็นสารตั้งต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะต้องจัดทำประชามติ สอบถามประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยว่า จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในการแก้ไข โดยใช้เสียงข้างมากธรรมดาหรือที่เรียกกันว่า เสียงส่วนใหญ่
 
เมื่อผ่านวาระ 3 จะต้องย้อนกลับมานำร่างที่ผ่านการพิจารณาของสภาร่วม มาสอบถามประชาชนอีกครั้งก่อนทูลเกล้าฯ ขั้นตอน เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 256 แต่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐาน ว่า จะต้องจัดทำประชามติ ก่อนและหลังผ่านร่าง จะต้องสอบถามประชาชนเจ้าของอำนาจก่อนประกาศใช้
 
นักกฎหมายมหาชน ผู้นี้ระบุว่า ร่าง พรบ.ประชามติ หากไม่ผ่านการพิจารณาของ สว. ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ตกไป  ร่างดังกล่าวย้อนกลับไปที่ สส. เพื่อพิจารณาใหม่ เมื่อผ่านความเห็นชอบจาก สส.แล้ว กระบวนการหลังจากนี้ ต้องตั้งกรรมาธิการ(กมธ.) ร่วมกันทั้ง สส.และ สว.เพื่อพิจารณร่างประชามติและส่งกลับให้ทั้งสองสภาลงมติอีกครั้ง หากสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบกับร่างใหม่ ที่ กมธ.ร่างฯ เสนอร่าง พรบ.ประชามติ จะถูกยับยั้งไว้ เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน สส.อาจลงมติยืนยันร่างเดิมที่เคยไม่เห็นชอบหรือร่างใหม่ที่ กมธ..เสนอก็ได้  
 
ดร.ณัฐวุฒิ วิเคราะห์ว่าหากพิจารณาถึงเกมในสภา การเมืองสามก๊ก ฝ่ายอนุรักษ์นิยมและสว.สายสีน้ำเงิน มีจำนวนมากกว่า สว.อิสระ ส่วนในสภา สส. ให้จับข้อสังเกตว่า พรรคภูมิใจไทย งดออกเสียง แม้ครูใหญ่เนวินและนายใหญ่บ้านจันทร์ส่องหล้า จะจูบปากกัน ดังที่ว่าไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในทางการเมือง 
 
แต่เมื่อผลประโยชน์ทางการเมืองยังไม่ลงตัว และนโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย ฝ่ายรัฐบาลและพรรคประชาชน ฝ่ายค้านที่ทนายธีรยุทธ สุวรรณเกสร นำไปเป็นส่วนหนึ่งในการยื่นคำร้องให้หยุดการล้มล้างการปกครองก็ตาม แต่ด่านหิน ในการแก้ไข ร่าง พรบ.ประชามติ ที่อยู่ สว.ลากตั้ง โอกาสผ่านการพิจารณาของ สว.ยาก 
 
"หากครูใหญ่เนวิน อ่านเกมขาด ยังไม่จำเป็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ มองปัญหาปากท้อง แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร เจอนักร้องเรียนรายวัน ไม่เป็นอันบริหารงาน โดยยังไม่แสดงฝีไม้ลายมือในการบริหารประเทศ
 
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าการปกครองประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ในการใช้อำนาจอธิปไตยผ่านการจัดทำประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักที่ว่า อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ที่เขียนไว้ในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม(ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2475 ส่วนการจัดทำประชามติ  เป็นการใช้อำนาจประชาธิปไตยโดยตรงจากประชาชนเจ้าของประเทศ และการจัดทำประชามติ เกิดขึ้นครั้งแรก ในรัฐธรรมนูญ 2550 และครั้งที่สอง รัฐธรรมนูญ 2560
 
แต่รัฐธรรมนูญฉบับสนามม้า เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2517 และรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2540 เกิดจากการร่างของประชาชน ไม่ใช่คณะรัฐประหาร แต่ไม่ผ่านการจัดทำประชามติของประชาชน หากมองการออกแบบ พรบ.ประชามติ ในมาตรา 11 สร้างหลักเกณฑ์ในการจัดทำประชามติในรูปแบบสองชั้น เพราะในการจัดทำประชามติในหลักการเดิม ประชาชนผู้ออกเสียงจะต้องออกมาใช้สิทธิไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งและชั้นสอง ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ เพื่อให้แก้ไขรัฐธรรมนูญยาก 
 
ดังนั้น แม้ สว.ชุดใหม่ แม้จะมาจากการเลือกแบบพิสดาร แต่ไม่ได้หมายความว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นเรื่องง่าย เพราะเงื่อนไขในการออกเสียงประชามติ ผูกด้วยเงื่อน ถึง 2 ชั้น ใน พรบ.ประชามติ ทำให้เรื่องง่ายและมัดด้วยข้อกฎหมาย ก่อนที่จะไปแก้ไขรัฐธรรมทั้งฉบับ
 
นักกฎหมายมหาชน ระบุว่า ทั้งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้รัฐบาลเสียงข้างมากและพรรคประชาชนฝ่ายค้านเอาด้วย แต่รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ในวาระสาม การพิจารณาของสภาร่วม สส.และสว. จะต้องใช้เสียงข้างมาก โดยมี สว.ไม่น้อยหนึ่งในสาม หรือ 67 คน เป็นด่านหิน หากพรรคภูมิใจและ สว.ค่ายสีน้ำเงิน ไม่เอาด้วย ทั้งร่าง พรบ.ประชามติ และร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะล้มไม่เป็นท่า นโยบายขายฝันแก้รัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ไม่ต่างจากที่ว่านำยางพาราไปขายบนดาวอังคาร   

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อภิสิทธิ์-อดีตนายกรัฐมนตรี มอง 'จุดเสี่ยง' รัฐบาลเพื่อไทย ระเบิดการเมือง วางไว้เองหลายลูก

แม้ขณะนี้จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นทางด้านการเมือง

‘หนู’ ลั่นฟังแค่ ‘อิ๊งค์’ ยันร่วมรัฐบาลเป็นไฟต์บังคับ ‘ทักษิณ’ พูดไม่นำพา

"อนุทิน" ลั่น! รับสัญญาณจากนายกฯ อิ๊งค์เท่านั้น ยันที่ "ทักษิณ" พูดไม่ได้หมายถึงรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย "ท่านทักษิณพูดถึงพรรคที่ไม่เข้าร่วมประชุม ผมก็ไม่นำพาไปฟังอะไรมาก"

‘เกาะกูด’ สงครามที่ ‘ทักษิณ’ ไม่มีทางชนะ จับตาจะถอยอย่างไร ไม่ให้ตัวเองเสียหน้า และ ‘ฮุนเซน’ เสียใจ

ประเด็นเรื่องเกาะกูดเป็นของไทยหรือไม่ นั้น ได้ข้อยุติจากคุณทักษิณเมื่อวานนั้น ว่ารัฐบาลไทยก็เห็นด้วย ว่าเป็นของคนไทย แต่จะเห็น

'อนุทิน' ยันไม่ใส่ใจคำพูด 'ทักษิณ' โชว์ห้าวตะเพิดพรรคร่วมฯ ขอฟังแค่นายกฯอิ๊งค์

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวผ่านรายการข่าวเที่ยง ทางไทยพีบีเอส ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในการสัมมนาพรรคเพื่อ

ไม่ต้องปิดบังอีกต่อไป! สื่ออาวุโส ชี้อำนาจเด็ดขาดนำมาซึ่งการฉ้อฉลแบบเบ็ดเสร็จ

นายเทพชัย หย่อง สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่าไม่ต้องอ้อมค้อม ไปต้องปิดบังอีกต่อไป ใครใหญ่ที่สุดตอน