'ปริญญา' ชี้เป้าจับตา 'กกต.' ยุบเพื่อไทยมาตรฐานเดียวยื่นก้าวไกลหรือไม่   

แฟ้มภาพ

‘ปริญญา’ มองการตีความคำว่า ‘ชี้นำ-ครอบงำ’ กว้าง อยู่ที่ ‘กกต.-ศาลรธน.’ ตัดสิน หลังคำร้อง ‘ยุบเพื่อไทย’ ถูกรับไว้ จับตาเดินตามแนวก้าวไกลหรือไม่

20 ต.ค.2567 – รศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงกรณีที่เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้พิจารณา 6 คำร้องที่มีผู้ร้องขอให้ กกต. พิจารณาสั่งยุบพรรคเพื่อไทย และ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการครอบงำ ชี้นำ และ 6 พรรคการเมืองยินยอมให้นายทักษิณ ครอบงำ ชี้นำ โดยเห็นว่า คำร้องมีมูล และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน

 รศ. ดร. ปริญญา กล่าวว่า ข้อเท็จจริงคือภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง เย็นวันนั้นนายทักษิณชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เรียกพรรคร่วมรัฐบาลประชุมกันที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ซึ่งเข้าใจว่าเพื่อให้รวดเร็ว และให้ได้ข้อสรุปว่า นายกรัฐมนตรีคนต่อไปจะเป็นใคร เพื่อไม่ให้เกิดการพลิกขึ้น แต่ปัญหาคือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 (พ.ร.ป.) ในมาตรา 28 ไม่เคยมีมาก่อน 

รศ.ดร.ปริญญา ตั้งคำถามว่า การที่นายทักษิณเรียกประชุมนั้น จะถือเป็นการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำหรือไม่ กกต. รับคำร้องแล้ว ข้อต่อไปต้องดูว่า กกต. จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแบบเดียวกับตอนที่ยื่นพรรคก้าวไกล หรือจะใช้มาตรา 93 ที่ต้องมีการไต่สวนเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยได้ชี้แจงก่อน โดยหลักที่ควรจะเปิดโอกาสให้ชี้แจงก่อน ในการต่อสู้ต้องสู้ว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้ถูกครอบงำ ควบคุม หรือชี้นำ 

“คำว่าควบคุม ครอบงำ อาจจะพิสูจน์ง่าย แต่ ชี้นำ คำมันกว้าง อยู่ที่ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า ที่นายทักษิณเชิญมาประชุมเข้าข่ายเป็นการชี้นำหรือไม่ หากเข้าข่ายการเมืองก็ต้องดูต่อไปว่าถึงขนาดที่ทำให้พรรคการเมือง กับสมาชิกพรรค ขาดอิสระเลยหรือไม่ หากใช่ก็จะกลายเป็นปัญหา” รศ. ดร. ปริญญา กล่าว

รศ. ดร. ปริญญา กล่าวต่อว่า ต้องรอฟังกันต่อไปว่า กกต. รับคำร้องแล้ว จะมีคำสั่งให้พรรคเพื่อไทยและพรรคอื่นๆ มาชี้แจงเมื่อไหร่

ส่วนที่มีการยื่นคำร้องขอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้นายทักษิณ ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกการกระทำที่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ อันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 หากมีการพิจารณาก่อน จะเป็นเป็นการเพิ่มน้ำหนักในคดีที่ กกต.หรือไม่ รศ. ดร. ปริญญา ระบุว่า การใช้กฎหมายคนละช่องทาง เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามรัฐมาตรา 49 ที่ระบุแค่ว่าให้หยุดการกระทำ ไม่ได้ขอให้ไปยุบพรรค ซึ่งคำร้องมุ่งไปที่นายทักษิณและพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ส่วนคำร้องที่ กกต.ไม่ได้ร้องนายทักษิณ เพราะไม่ใช่สมาชิกพรรค ต้องดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะดำเนินการต่ออย่างไร หากวินิจฉัยว่าเข้าข่ายล้มล้างการปกครองจริง ทาง กกต.จะต้องทำคำร้องใหม่ในการยุบพรรค ตนไม่สามารถทราบได้ว่า คำร้องไหนจะพิจารณาตัดสินก่อนหรือหลัง 

“หากเป็นเรื่องของการถูกร้องในเรื่องการล้มล้างระบบการปกครอง ต้องรอฟังว่าศาลจะกำหนดขั้นตอนในการไต่สวนอย่างไร และในส่วนของ กกต.ในชั้นคำร้องยุบพรรค ให้เราฟังก่อนว่า กกต. จะยื่นตรงหรือไต่สวนก่อน ส่วนตัวเชื่อว่าต้องไต่สวนก่อน เพื่อให้มีข้อเท็จจริงมากกว่านี้“ รศ. ดร. ปริญญา กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' สวน 'หมอเชิดชัย' เป็นแค่ผู้เล่นฟุตบอล อย่าคิดแทนเจ้าของทีม

นายคารม พลพรกลาง “รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และในฐานะสมาชิกพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่นายแพทย์เชิดชัย ตันติศิริน

'นายกฯอิ๊งค์' ฟังทางนี้! แก้ด่วนบุคลิก 3 เรื่อง ให้สมวุฒิภาวะผู้นำ

นายวันชัย สอนศิริ อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง "บุคลิกของนายกฯอุ๊งอิ๊ง" โดยระบุว่า คนที่เขาเกลียดคงไม่ต้องพูดถึงหรอก อะไรๆ เขาก็ด่านายกฯ อุ๊งอิ๊ง

'หมอเชิดชัย' เรียกแขก 'MOU 44 – ม็อบสนธิ' ไม่ระคายผิวรัฐบาล

“นพ.เชิดชัย” มอง ปม 'MOU44' ควรโยนหารือที่ประชุม 'เพื่อไทย' เพื่อเปิด 'เวที ม.152' ถาม 'สนธิ' อยากปลุกม็อบ ถ้าล้มรัฐบาลได้ จะเอาใครเป็นนายกฯ