21 ต.ค. 2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีพล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาตั้งกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... จำนวน 14 คน โดยนายสุทนธ์ กล้าการขาย สว. เสนอรายชื่อกมธ.ร่วมกันตามที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญกิจการวุฒิสภา(วิปวุฒิสภา) เห็นชอบ อาทิ พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย นายธวัช สุระบาล พ.ต.อ.กอบ อัจนากิตติ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังเสนอรายชื่อ 14 คนแล้ว มีสว.เสียงข้างน้อยหลายคนอภิปรายคัดค้าน อาทิ นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส นางอังคณา นีละไพจิตร เป็นต้น โดยระบุว่าจำนวน 14 คน เป็นสว.ที่เห็นด้วยกับการใช้เกณฑ์โหวตแบบเสียงข้างมาก 2 ชั้น ซึ่งไม่เป็นการคำนวนถึงตัวแทนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้เกณฑ์โหวตดังกล่าว จึงขออย่าได้ละเลยเสียงของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้นายนรเศรษฐ์ ได้เสนอชื่อ น.ส.นันทนา และนายประภาส ปิ่นตบแต่ง เป็นกมธ.ร่วมกันด้วย
นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย อภิปรายว่า กมธ.ทั้ง 14 คน เป็นสว.ที่เห็นด้วยกับการแก้ไขกลับไปใช้หลักเกณฑ์เสียงข้างมากสองชั้น แต่ความจริงการตั้งกมธ.ร่วมกัน เป็นเรื่องของสัดส่วนต้องมีฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการใช้เกณฑ์ดังกล่าว หากยึดตามการลงมติในวาระที่3ของการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะพบว่ามี 19 คนไม่เห็นด้วย ถ้าคิดตามสัดส่วนฝ่ายไม่เห็นด้วยต้องได้เป็นกมธ.ร่วมกัน อย่างน้อยที่สุด 1คน
น.ส.นันทนา กล่าวว่า ตนมาทราบภายหลังว่าในรายชื่อ 14 คนนั้นมาจากที่ประชุมวิปวุฒิสภาที่ได้กำหนดมา ซึ่งถือเป็นเสียงข้างมาก ไม่มีเสียงข้างน้อยที่ได้แสดงความคิดเห็นไว้ หมายความว่ากมธ.ร่วมกันฝั่งวุฒิสภาไม่เห็นความสำคัญของสัดส่วนวุฒิสภา และไม่เห็นความสำคัญของเสียงข้างน้อยเลย และเชื่อว่าประชาชนที่นั่งฟังการอภิปรายอยู่นั้นกำลังตั้งข้อสงสัยว่าวุฒิสภาแห่งนี้เป็นวุฒิสภาของใคร ไม่ใช่วุฒิสภาของประชาชนหรือ ทุกครั้งที่ลงมติเสียงข้างมากจะชนะทั้งหมด ในหลักประชาธิปไตยเราทำตามเสียงข้างมากแต่ก็เคารพเสียงข้างน้อย ฉะนั้น ในการตั้งกมธ.รวมครั้งนี้ควรเป็นสัดส่วนของเสียงมากและเสียงข้างน้อย สุดท้ายเมื่อตั้งกมธ.ในสัดส่วน 14 ต่อ 14 แล้วลงมติออกมาเป็นเช่นไรก็อธิบายต่อประชาชนได้ว่านี่เป็นสัดส่วนที่มีทั้งเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย ไม่ใช่สัดส่วนที่มาจากเสียงข้างมากเพียงอย่างเดียว
”ที่ท่านพูดว่าประชามติต้องทำให้รัดกุม ท่านพูดจริงๆ หรือแค่ต้องการเอาชนะ แล้วยืดเวลาออกไป หากท่านเห็นความสำคัญของประชาธิปไตยจริง ท่านต้องให้ทุกฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็น และสะท้อนออกมาผ่านกมธ.สุดนี้ที่ควรมีทั้งเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย เพื่อเข้าไปอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่าเราควรทำประชามติชั้นเดียว แต่หากเสียงข้างมากบอกว่าต้องการทำประชามติสองชั้น ก็ให้อภิปรายเหตุผลมา ประชาชนรอฟังอยู่ ดิฉันไม่อยากให้วุฒิสภาถูกนินทาว่ารวบรัดตัดตอน เป็นสภาที่มีใบสั่ง จึงขอวิงวอนให้สมาชิกทุกคนเห็นแก่ภาพลักษณ์ของวุฒิสภาชุดใหม่ที่ท่านเป็นสมาชิกอยู่ว่าสภาแห่งนี้เป็นสภาของประชาธิปไตย จึงควรให้มีกมธ.เสียงข้างน้อยที่จะเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ขอให้ท่านลงมติด้วยความเป็นตัวของตัวเอง และเคารพเสียงของประชาชน ทำให้ภาพลักษณ์ของสภาบิดเบี้ยว ไม่ทำให้ประชาชนไม่ขาดศรัทธากับวุฒิสภา“ น.ส.นันทนา กล่าว
ด้านนายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ สว. กล่าวว่า อยากให้ทำความเข้าใจตรงนี้ว่า การที่วุฒิสภาต้องเสนอชื่อบุคคลเป็นกมธ.ร่วมกันโดยผ่านวิปวุฒิสภานั้น ต้องคำนวณถึงสัดส่วนของผู้แทนของเจ้าของเรื่อง กมธ.เสียงข้างมาก กมธ.เสียงน้างน้อยที่สงวนความเห็นและสมาชิกที่แปรญัตติซึ่งเป็นผลการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพ.ร.บ.ของ สส.เท่านั้น ไม่ได้รวมผู้เห็นชอบกับ สส. ฉะนั้น คนที่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปเป็นกมธ.นั้น ต้องเป็นผู้ที่เห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น
ทำให้น.ส.นันทนา ลุกขึ้นโต้ว่า การที่จะตั้งกมธ.โดยไม่มีสัดส่วนนั้น ตนคิดว่านายพิสิษฐ์เข้าใจผิด ในกลไกระบอบประชาธิปไตยเรามีทั้งเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย แต่เราจะทำตามมติเสียงข้างมากโดยยังเคารพเสียงข้างน้อย เมื่อไหร่ที่บอกว่าไม่ต้องมีสัดส่วนมีแต่พวกของเราเท่านั้น นั่นคือระบอบเผด็จการไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย ขอให้เข้าใจใหม่ และท่านเป็นสว.ที่อยู่ในกลไกระบอบประชาธิปไตย แต่ท่านปฏิเสธในการให้มีสัดส่วนของคนคิดต่างเข้ามา แปลว่าท่านกำลังยืดหลักเผด็จการไม่ใช่ประชาธิปไตย น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง
นายพิสิษฐ์ ใช้สิทธิ์พาดพิงว่า ตนไม่ได้มีความคิดเป็นเผด็จการ และเชื่อว่าสภาแห่งนี้ไม่ได้มีพรรค มีพวก ในสภาแห่งนี้ตนเคารพสิทธิ์ของทุกคน ที่ตนพูดเมื่อสักครู่นั้นเป็นความจริง และการจะเป็นกมธ.นั้นตนมองว่าต้องเป็นคนที่เห็นต่างจาก สส.
พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย ยืนยันว่าให้ใช้รายชื่อ 14 คน ตามที่ผ่านความเห็นชอบของวิปวุฒิสภา และเห็นว่าในคณะกมธ.ร่วมกันก็มีฝ่ายไม่เห็นชอบอยู่แล้ว
ต่อมานายเทวฤทธิ์ เสนอญัตติของดใช้ข้อบังคับชั่วคราว เพื่อขอให้ออกเสียงแบบ 1 คน ต่อ1ตัวเลือก เพื่อให้กมธ.เหล่านั้น เป็นตัวแทนของสว.อย่างแท้จริง
จากนั้นประธานสั่งพักการประชุม เนื่องจากให้เจ้าหน้าที่ทำบัตรออกเสียง เพราะมีสว.ต้องการเป็นกมธ.ร่วมกัน 16 คน ซึ่งเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ 14 คน อย่างไรก็ตาม ในญัตติที่นายเทวฤทธิ์เสนอไว้นั้น ที่ประชุมลงมติตีตกโดยไม่เห็นชอบด้วยเสียง 138 ต่อ 26 งดออกเสียง 5 เสียง
ต่อมาเวลา 15.40 น. นายบุญส่ง น้อยโสภณ รองประธานวุฒิสภา คนที่2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ประกาศผลการนับคะแนน ซึ่งเสียงส่วนใหญ่โหวตเทนชอบตามรายชื่อที่วิปวุฒิสภา มีมติ 14 คน ส่วนตัวแทน สว.เสียงข้างน้อย คือ น.ส.นันทนา ได้เพียง 27 คะแนน และนายประภาส ได้ 25 คะแนน เป็นอันว่ารายชื่อทั้ง 14 คนที่ได้รับเลือกเป็นไปตามที่วิปวุฒิสภาอนุมัติแล้ว
อย่างไรก็ตาม รายชื่อกมธ. ร่วมกัน จำนวน 14 คน ประกอบด้วย 1. พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย 2. นายธวัช สุระบาล 3. พ.ต.อ.กอบ อัจนากิตติ 4. นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร 5. นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล 6. นายอภิชาติ งามกมล
7. นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล 8. พล.ต.ต. ฉัตรวรรษ แสงเพชร 9. นายกมล รอดคล้าย 10. นายชีวะภาพ ชีวะธรรม 11. นายเอนก วีระพจนานันท์ 12. นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ 13. นายพิชาญ พรศิริประทาน และ14. นายสิทธิกร ธงยศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,
ศาลรธน.สั่ง 'สมชาย เล่งหลัก' หยุดปฏิบัติหน้าที่สว.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยในคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต ) ผู้ร้อง ขอให้พิจารณาวินิจฉัยกร
'เพื่อไทย' เดินหน้าเต็มสูบ 'นิรโทษกรรม' งัดข้อประชามติชั้นเดียว
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' จ่อเข็น 'กม.นิรโทษฯ' ถกพร้อมร่างอื่น พ่วงเดินหน้า 'กม.ประชามติ' แนะ 'ประธานสภาฯ-วิป' เร่งหารือแนวทาง 'แก้ รธน.' เหตุ อาจเสียเวลาเปล่า
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
'นิกร' สอน 'ไอติม' อย่ารีบ! ยันคำวินิจฉัยศาล รธน.ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง
'นิกร' ยันคำวินิจฉัยศาลรัธรรมนูญให้ทำประชามติแก้ รธน. 3 ครั้ง หวั่นทำผิดขั้นตอนจากเร็วขึ้นจะกลายเป็นช้าแทน
'ไพบูลย์' เย้ยรัฐบาลไม่มีทางแก้รธน.ทั้งฉบับได้ทัน คาดอยู่ไม่ถึง 1 ปี
นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค พปชร. กล่าวถึงกรณีนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะตีความเป็นกฎหมายการเงิน