ม็อบประชาชนฯ จัดกิจกรรมหนุนแก้ รธน.ค้านยื่นศาลตีความ

'กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ' จัดกิจกรรม 'อยากเลือกตั้ง ส.ส.ร. ชวน สว.ทำเรื่องกล้วยๆ' เคลื่อนขบวนประชิดรั้วสภา เมิน ’ภูมิใจไทย‘ ไม่ร่วมสังฆกรรม แต่ขออย่ายื่น 'ศาล รธน.วินิจฉัย' เพื่อถ่วงเวลา

13 ก.พ. 2568 - ที่สถานีรถไฟฟ้า MRT เตาปูน กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “อยากเลือกตั้ง ส.ส.ร. ชวน สว.ทำเรื่องกล้วยๆ” เพื่อติดตามการประชุมร่วมกันรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ โดยมีการนำกล้วยมาเป็นสัญลักษณ์ในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ ก่อนจะเดินขบวนไปที่อาคารรัฐสภา และได้มีการยื่นกล้วยให้กับพรรคประชาชน พรครคเพื่อไทย และกลุ่ม สว.พันธุ์ใหม่ด้วย

โดยนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ iLaw เปิดเผยว่า วันนี้ได้นัดหมายหลากหลายกลุ่มมาติดตามการประชุมรัฐสภา เพื่อผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งถือเป็นการนัดหมายครั้งแรกของรัฐสภาชุดนี้ และเป็นครั้งแรกที่เราจะได้ฟัง สส. และ สว.อภิปราย ว่าเห็นอย่างไรกับรัฐธรรมรูญฉบับปัจจุบัน และจริงจังหรือไม่ที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เรานัดหมายที่ MRT เตาปูน และเดินเท้าไปยังรัฐสภา ก่อนปักหลักทำกิจกรรมรับฟังเสียงพี่น้องเครือข่ายต่างๆ ที่มาในวันนี้ให้เสียงถึง สว. ในสภา ก่อนที่ช่วงเย็นจะมีการเชิญผู้นำฝ่ายรัฐบาล และผู้นำฝ่ายค้าน และ สว. ให้มารับฟังประชาชน และอธิบายว่าคิดอย่างไรกับการจัดทำรัฐธรรมนูญ และพร้อมแค่ไหนในการเลือกตั้ง ส.ส.ร.รวมถึงวันพรุ่งนี้ (14 ก.พ.) ที่จะมีการลงมติ พวกเราก็จะมาร่วมทำกิจกรรมติตตามด้วยเช่นกัน

“เรายังไม่เคยมีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. ประเทศไทยมีรัฐธรรมมาแล้ว 20 ฉบับ มีคนมาเขียนรัฐธรรมนูญหลาย 10 ชุด แต่ยังไม่เคยมีใครมาจากเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนแม้แต่ครั้งเดียว“ นายยิ่งชีพ กล่าว

ส่วนความคาดหวังในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ นายอันเตลโลว์ ศตายุ กล่าวว่า มาตรา 256 ถือเป็นประตูแรกที่จะเริ่มกระบวนการการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งหวังเป็นอย่างมากที่จะได้เห็นสภาฯ แก้ไขกฎหมายนี้ และสิ่งที่เราต้องการในครั้งนี้ คือ การให้รัฐสภาโหวตผ่านแก้ไขมาตรา 256 และการจัดทำรัฐธรรมนูญไม่ควรจะล่าช้า และอยากให้ทุกอย่างราบรื่นผ่านทุกร่าง และค่อยไปถกเถียงกันในรายละเอียดในวาระที่ 2-3

สำหรับกรณีที่พรรคภูมิใจไทย มีมติไม่ร่วมการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ นายยิ่งชีพ กล่าวว่า พรรคไหนจะไม่เข้าร่วมประชุม หรือโหวตไม่เห็นชอบก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา แต่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการที่จะส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะเคยยื่นแล้ว และได้คำตอบมาแล้วว่าต้องทำประชามติถึง 2 ครั้ง และเราก็จะเดินหน้าในการทำประชาติ และเคยยื่นถามไปแล้วอีกครั้ง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องยื้อเวลาของคนที่ไม่อยากเปิดอภิปราย และลงมติเท่านั้นเอง หากส่งศาลรัฐธรรมนูญก็คงไม่ตอบแล้ว เราก็มาทำแบบนี้กันใหม่ ฉะนั้นอย่าเสียเวลา คงพิจารณา และลงมติดีกว่า

เมื่อถามต่อว่า การที่พรรคไม่ร่วมการพิจารณา อ้างว่ากลัวขัดต่อกฎหมาย และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายยิ่งชีพ ระบุว่า ไม่มีอะไรเสี่ยง และไม่เห็นว่าจะเสี่ยงตรงไหน เพราะศาลรัฐธรรมนูญบอกแล้วว่า รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ได้ แต่ต้องทำประชามติก่อน และหลัง ซึ่งเราจะดำเนินการตามนี้ ส่วนการทำประชามติที่มีข้อถกเถียงกันนั้น มองว่า เป็นเรื่องของคนที่ไม่อยากอภิปราย และลงมติที่ยกแต่เรื่องเดิมๆ มาพูด แต่ในข้อกฎหมายไม่มีอะไรต้องถกเถียง เมื่อผ่านวาระนี้ก็จัดทำประชามติ และเมื่อยกร่างก็ทำประชามติอีกหนึ่งครั้ง ซึ่งถูกต้องตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

นายยิ่งชีพ กล่าวอีกว่า หากการพิจารณาครั้งนี้ถูกคว่ำ เราก็จะไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แน่นอนภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน และทำตามนโยบายที่ตั้งไว้ไม่ได้ ซึ่งไม่ทราบว่าเราจะมาอยู่จุดนี้อีกได้ยังไง และเราก็จะต้องอยู่กับรัฐธรรมนูญของ คสช.ต่อไป

เมื่อถามว่ากังวลหรือไม่ หากพรรคร่วมรัฐบาลอื่นตัดสินใจวอล์กเอ้าท์ในร่างการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนพรรคภูมิใจไทย นายสมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนระดับชาติ (กป.อพช.) กล่าวว่า ตนไม่อยากให้เป็นเกมการเมือง และคิดว่าควรทำตามที่หาเสียงไว้ เพราะเกือบทุกพรรคพูดเรื่องเกี่ยวกับการรัฐธรรมนูญไว้ แต่นี่ล่วงเลยมาหลายปีแล้ว ไม่มีความคืบหน้าอะไรเลย จึงอยากให้พรรคร่วมรัฐบาลคุยกันให้เป็นเอกภาพจนนำไปสู่การผ่านมติในครั้งนี้ด้วย เพราะเป็สเรื่องใหญ่ที่ฝ่ายการเมือง และ สว.เห็นต่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่อยากให้เป็นเรื่องของบางคนหรือบางกลุ่ม และพรรคเพื่อไทยควรคุยกับพรรคภูมิใจไทยให้ชัดเจน

ส่วนความกังวลว่าองค์ประชุมจะล่มหรือไม่นั้น นายสมบูรณ์ กล่าวว่า ก็ต้องไปพิสูจน์กันในช่วงการพิจารณา 1-2 วันนี้ และเราจะต้องจับตากัน ซึ่งเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีต้องทำงานหนัก ตามที่เสนอนโยบายไว้จะไม่เป็นผลเลย ฉะนั้นการแก้รัฐธรรมนูญจะเป็นบทพิสูจน์ใหญ่ของรัฐบาลชุดนี้

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิโรจน์' ซัดสภาเป็นโรงลิเก หลอกต้มประชาชน ส่งศาลตีความเตะถ่วงแก้รธน.

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ อภิปรายว่า วันนี้ต้องเล่าเรื่องเก่าให้เห็นเส้นเรื่องว่า การยื้อแก้รัฐธรรมนูญนั้น ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราจำกันได้ หลังรัฐประหาร ปี 2557 สส.จำนวนมากมายหลายพรรคมีท่าทีแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกลไกของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)

แก้รธน. ส่อระอุอีก 'สว.' บี้ 'ศาลรธน.' ไม่มีเหตุไม่รับคำร้อง ตีความประชามติ

จี้ให้ส่งคำตอบโดยเร็วภายในหนึ่งสัปดาห์ หากจันทร์นี้ รัฐสภาลงมติส่งคำร้องให้ศาลรธน.ตอบมาให้ชัด แก้ 256 ตั้งสภาร่างรธน. โดยไม่ต้องทำประชามติก่อนได้หรือไม่

'เสี่ยหนู' เหน็บ 'ณฐพร' อยากดัง หลุดที่ปรึกษา คงโมโห ยื่นยุบภท.แทรกแซงเลือกสว.

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมาไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.)กล่าวถึงท่าทีของพรรคฯ กรณีที่ นายณฐพร โตประยูร ร้องศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นยุบพรรค ภท.

ตลกร้ายการเมืองไทย! 'ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์' นายกฯ แบกรับ 'เกมของพ่อ'

การเมืองไทยกลับมาร้อนแรงอีกครั้ง หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้องที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร มอบหมายให้ “ชูศักดิ์ ศิรินิล” รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยื่นขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัย ในประเด็นที่ว่า