40องค์กรรวมพลัง“FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย”

2เมษายนของทุกปี วันตรวจสอบข่าวลวงโลก 40กว่าองค์กรทั้งในและนอกประเทศรวมพลังจัดงาน ถ่ายทอดสด“FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย” สสส. ปลื้มนวัตกรรม“โคแฟค” ขยายผลสู่ระดับภูมิภาค ปีที่3ปั้นพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ ร่วมใช้งานกว่า480,000ครั้ง เล็งดึงกลุ่มผู้ผลิตสื่อ ร่วมรับผิดชอบสังคม-สร้างความเป็นธรรม-ทะลายกำแพงความเหลื่อมล้ำ มุ่งสร้างสังคมสุขภาวะ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับ โคแฟค ประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามันเพื่อเสรีภาพ(FNF) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาองค์กรของผู้บริโภค สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) และภาคีเครือข่ายตรวจสอบข่าวลวงกว่า40องค์กรจัดงานถ่ายทอดสดวาระพิเศษ“FactCollabTHภาคีขับเคลื่อนข่าวจริงประเทศไทย”เนื่องในวาระวันตรวจสอบข่าวลวงโลกปี2565 เมื่อวันที่2เมษายน2565ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯจัดขึ้นในเมืองไทยเป็นปีที่2ภายใต้สถานการณ์โควิด จึงไม่สามารถจัดงานเต็มรูปแบบได้ วิทยากรจากต่างประเทศทำกิจกรรมออนไลน์ผ่านZoom

ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์

ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวทางZoomมาจากเชียงใหม่ว่า ในวันที่2เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันตรวจสอบข่าวลวงโลก(International Fact-Checking Day) สสส. ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพลเมืองดิจิทัลรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งในปี 2563 สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมกลไกโคแฟค (Collaborative Fact Checking : Cofact) ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งเว็บไซต์ cofact.org และไลน์ @cofact โดยมีฐานข้อมูลด้านสุขภาพกว่า 5,400 ข่าว พร้อมขยายผลกลไกการเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อบนฐานวัฒนธรรมการใช้สื่อของพลเมืองดิจิทัลไปสู่ชุมชน และสถานศึกษา เกิดเป็นชุมชนโคแฟคที่ประชาชนเป็นผู้ตรวจสอบข่าวลวง(Fact Checker) และให้ความสนใจใช้ข้อมูลการตรวจสอบข่าว ในช่องทางต่างๆกว่า480,000ครั้งซึ่งมีเครือข่ายร่วมกันสอดส่อง เฝ้าระวัง และสกัดกั้นข่าวลวงที่สะท้อนความสำเร็จในการขับเคลื่อนการต่อต้าน ป้องกัน และรับมือกับปัญหาข่าวลวงในระดับประเทศ

“การจัดงานFactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย ครั้งนี้ สสส. ได้รับความร่วมมือจากองค์กรสื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมขับเคลื่อนกลไกป้องกันและตรวจสอบข่าวลวง เพื่อพัฒนาความน่าเชื่อถือของสื่อมวลชน ที่มีความสำคัญต่อการผลิตข้อมูลที่ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่สังคมสุขภาวะ ถือเป็นการยกระดับการตรวจสอบข่าวตามมาตรฐานของ International Fact- Checking Network หรือ IFCN ที่ยังไม่มีองค์กรในไทยเป็นสมาชิก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสานพลังทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนกลไกการป้องกันและรับมือกับปัญหาข่าวลวงในยุคดิจิทัลในระดับสากล” ดร.จิรพร กล่าว

International Fact-Checking Day 2022

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผจก.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะสสส.กล่าวว่า สสส.และภาคีเครือข่ายร่วมกิจกรรมระดับโลกในวันตรวจสอบข่าวลวงโลกเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง ทุกวันนี้เราประสบปัญหาข่าวลวงเป็นจำนวนมาก ข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพ1ใน3หากเชื่อจะเป็นผลเสีย ขาดโอกาสในการรักษา ยิ่งข้อมูลที่บิดเบือน จึงต้องร่วมมือกันจับมือกับไทยพีบีเอส มูลนิธิฟรีดิช โคแฟคและอีกหลายภาคส่วนเห็นความสำคัญการสร้างกลไกเครือข่ายPlatformเข้ามาสอบถาม

จากการทำงานร่วมกันช่วยกันตรวจสอบข่าวลวงให้ทันท่วงทีก่อนที่จะนำเผยแพร่กันต่อไป กลไกตรวจสอบนี้ได้ทำขึ้นเป็นปีที่3แล้ว สร้างกลไกนำผลงานที่ได้ทำแล้วเข้าถึงชุมชน องค์กรนำงานของCofactทำให้รู้ถึงกลยุทธข่าวลวง ด้วยการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อกลบข่าวลวง ทุกวันนี้ข้อมูลที่เข้ามาถึง5แสนmessageจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง เพราะข่าวลวงสร้างผลกระทบมากมาย ต้องสร้างความรอบรู้ในการตรวจสอบข่าวสารอย่างเข้มแข็ง คิดวิเคราะห์ข้อมูลก่อนหลงเชื่อข่าวที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง เร่งตรวจสอบข้อมูลให้ทันท่วงทีและเสนอข้อมูลที่ถูกต้องให้ทันสถานการณ์  

ข้อความสั้นๆเป็นสิ่งเตือนใจในการใช้สื่อออนไลน์

ข่าวลวงที่มาจากสังคมออนไลน์ ด้วยการนำAIซึ่งมีความน่าเชื่อถือ นำเสนอเป็นรูปภาพโดยเฉพาะเมื่อนักวิชาการนำมาใช้ด้วยระบบITในเมืองไทยเพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสาร  ประชาชนจะต้องมีกระบวนการแยกแยะ ไม่ควรหลงเชื่อข้อมูลง่ายๆ ทั้งโลกสรุปแล้วว่าข่าวลวงมีความรุนแรงยิ่งกว่าโควิด ขณะนี้สสส.ขอความร่วมมือกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพื่อที่จะนำอสม.เข้ามาช่วยกันทำงาน นำหลักสูตรออนไลน์ที่โคแฟคพัฒนาออกเผยแพร่เข้าไปในชุมชน เพื่อรับรู้ข่าวสารด้านสุขภาพอย่างถูกต้อง  

นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SONP) กล่าวว่า ข่าวลวง คือ ข้อมูลบิดเบือน หรือข้อมูลเท็จในสื่อออนไลน์ เป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบทั่วโลก สื่อสารมวลชน หรือกลุ่มผู้ผลิตสื่อโดยตรง พยายามทำหน้าที่สร้างการรับรู้ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ผ่านการตรวจสอบข้อมูล และรับผิดชอบในการสื่อสารต่อสังคม สิ่งสำคัญคือ ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ มุ่งขยายเครือข่ายเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ การเข้าถึง และการสื่อสารให้กับประชาชนมีภูมิคุ้มกันในการรับมือกับปัญหาข่าวปลอม เป็นเสมือนวัคซีนคุ้มกันไม่ให้ข่าวปลอมระบาดในวงกว้างจนทำให้สถานการณ์วิกฤตในประเทศแย่ลง

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค ประเทศไทย กล่าวว่าโคแฟคประเทศไทยได้นวัตกรรมการออกแบบไอเดียมาจากไต้หวัน ส่วนใหญ่แล้วข่าวลวงได้จากการใช้app ได้ข้อมูลผ่านมาทางไลน์ด้วยการส่งข้อความ หากจะตรวจสอบว่าได้รับข่าวลวงหรือไม่ให้หาคำตอบที่ถูกต้องผ่านทางโคแฟคโดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทางอย.ตรวจสอบแล้ว ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่ใช้เว็ปค่อนข้างสะดวกกว่าทั้งยังมีเนื้อหาที่อ้างอิงได้ ข่าวที่เกี่ยวกับสงครามรัสเซียและยูเครนก็ต้องเช็คแหล่งทีมาของต้นตอข่าว เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารที่ถูกต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอม

ในช่วงสัปดาห์วันตรวจสอบข่าวลวงโลกประจำปี2565 (Fact-Collab Week to Celebrate International Fact-Checking Day 2022) ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 2 เมษายน 2565 โคแฟค ประเทศไทย ร่วมกับสสส.และภาคีเครือข่าย ได้จัดกิจกรรมทั้งในรูปแบบออนไซต์และออนไลน์ 1.กิจกรรมเสวนาผลการสำรวจแบบสอบถามปัญหา SMS Call centerหลอกลวง 2.กิจกรรมเสวนารับมือปัญหามิจฉาชีพยุค5G ถึงเวลาวาระแห่งชาติ 3.กิจกรรมเสวนาสิทธิดิจิทัลในประเทศไทยคืออะไรทำไมจึงสำคัญ? และควรเริ่มต้นที่ตรงไหน? 4.กิจกรรมเสวนาบทบาทของอัลกอริทึม กับการเข้าถึงข้อเท็จจริงของประชาชน 5.อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การตรวจสอบข้อมูล ทั้งนี้ โคแฟค ประเทศไทย จะมีการจัดกิจกรรมทั้งในเชิงวิชาการ การขับเคลื่อนประเด็น และการสัมมนาร่วมกันตลอดทั้งปี เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายต่อไป

โปสเตอร์นำเสนอ40กว่าองค์กรร่วมกันจัดงาน“FactCollabTH ภาคีขับเคลื่อนข่าวจริง ประเทศไทย”

นายเทพชัย หย่อง ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มงานข่าว ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ไทยพีบีเอส มุ่งผลิตรายการทางด้านข่าวสารที่มีประโยชน์ในมิติต่างๆทั้งด้านการศึกษา และสาระบันเทิง โดยปราศจากอคติทางการเมืองและผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ และยึดถือผลประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ไทยพีบีเอส ร่วมกับ โคแฟคตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อร่วมขับเคลื่อนข่าวจริง โดยร่วมสร้างมาตรฐานการสื่อสารเพื่อประโยชน์ของสังคม และร่วมสานพลังยกระดับงานตรวจสอบข่าวให้ได้มาตรฐาน International Fact Checking Network (IFCN)

ทั้งนี้ภายในงานมีการเสวนา “บทบาทสื่อไทยในการสกัดข่าวปลอม : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” นำโดยนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวไทยพีบีเอส นายนพปฏล รัตนพันธ์ รองเลขาธิการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โคแฟค www.cofact.org https://blog.cofact.org และเฟซบุ๊กแฟนเพจ Cofact โคแฟค

 

นายเฟรดเดอริค ชปอร์ หัวหน้าสำนักงานประเทศไทย มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ

มูลนิธิฟรีดริช เนามัน เพื่อเสรีภาพ ได้ร่วมเป็นเครือข่ายการขับเคลื่อนข่าวจริงกับโคแฟค ประเทศไทยตั้งแต่เริ่มต้น มีบทบาทในการจัดกิจกรรมสื่อสารสาธารณะต่างๆ รวมถึงสนับสนุนทุนพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในการร่วมตรวจสอบข้อมูล ส่งผลให้กลไกโคแฟคมีความเข้มแข็ง ถือเป็นส่วนหนึ่งของแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในการสร้างพลเมืองเท่าทันสื่อของประเทศไทย

จากสภาพข้อเท็จจริงที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำในการรับรู้ข่าวสาร ประชาชนมีสุขภาพกายใจแข็งแรง เลือกที่จะดำรงชีวิตอย่างมีสุขภาวะ สสส.ตระหนักรู้ถึงเป้าหมายเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสในการรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้อง การพัฒนาพลเมืองดิจิทัลรู้เท่าทันสื่อ มีขีดความสามารถ มาตรการระบบนิเวศผลักดันให้เกิดกลไกสื่อสารสุขภาวะ ตรวจสอบด้วยวัฒนธรรมการใช้สื่ออย่างถูกต้อง

สสส.เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานของโคแฟคในการสร้างเครือข่าย ร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชนช่วยกันตรวจสอบ สอดส่องเฝ้าระวังสะกัดกั้นข่าวลวง โคแฟคสร้างนวัตกรรมมีฐานข้อมูลสุขภาพ ขยายกลไกเฝ้าระวังการตรวจสอบสื่อ 4.8แสนเครือข่ายสกัดกั้นข่าวลวง ขยายองค์กรสื่อเพื่อผลักดันการตรวจสอบข่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ทุกวันที่2เม.ย.ของทุกปีเป็นวันตรวจสอบข่าวสาร  ช่วยกันเตือนสติไม่หลงกลเชื่ออะไรง่ายๆ มีภาคีหลายภาคส่วนมารวมกันเป็นชุมชน แสวงหาความจริงร่วมสร้างพลเมืองดิจิทัลที่เข้มแข็ง มีกิจกรรมเสวนาที่น่าสนใจจำนวนมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บุหรี่ไฟฟ้า..ฟิน จน ตาย "ความจริง" ที่ถูกบิดเบือน

ผลการสำรวจของการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทย (Global Youth Tobacco Survey: GYTS) ปี 2565 พบว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นก้าวกระโดดจาก

สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 “Movement คนรุ่นใหม่”

สสส. : วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. สสส. ร่วม พอช. และ Thai PBS เปิดบ้านรับข้อเสนอโครงการ “Movement คนรุ่นใหม่” ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤษภาคม 2567

เครือข่าย “ชุมชนล้อมรักษ์” ต้นแบบช่วยผู้ติดยามีความหวัง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาองค์รวม การแก้ไขไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ถือเป็นปัญหาสุขภาพความเจ็บป่วย เมื่อเป็นแล้วก็เป็นใหม่ได้อีก

สสส. ปลื้ม ครบรอบ 4 ปี ThaiHealth Academy พัฒนานวัตกรรมหลักสูตรสุขภาวะ 82 หลักสูตร

เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567 ที่โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ แพลทินัม ประตูน้ำ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ ThaiHealth Academy

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

เด็กไทย 1 ใน 10 น้ำหนัก/ส่วนสูงหลุดเกณฑ์ กระทบสมอง เสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต ป่วย NCDs

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทย ปี 2566 โดยกรมอนามัย