“ดวงฤทธิ์” เลขานุการ รมว.อว.ลงพื้นที่พบผู้ประกอบการ “เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช” อ.บรบือ จ.มหาสารคาม พัฒนา “แอปเปิล สายพันธุ์ฟูจิ” หนุนต่อเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคตและแหล่งท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 19 พ.ค.รศ.(พิเศษ)ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ลงพื้นที่ศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ดำเนินงานโดยอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเปิดโรงอนุบาลต้นพืช วิสาหกิจชุมชนบ้านโนนสำราญ ต.วังไชย อ.บรบือ พร้อมกล่าวว่า อว.ให้การสนับสนุนศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืชที่ดำเนินการโดยบริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ผ่านกลไกการบ่มเพาะของอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหลากหลายสายพันธุ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เป็นพืชเศรษฐกิจ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ได้พืชจำนวนมาก ภายในระยะเวลาอันสั้น และมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการทั้งของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มพ่อค้าต้นพันธุ์พืชโดยได้ดำเนินกิจการภายใต้วัตถุประสงค์ เพื่อให้ได้พืชเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปลอดเชื้อที่เกิดจากพืช ทำให้เกษตรกรได้รับพืชพันธุ์ที่ดี มีคุณภาพ บริษัทยังได้คิดค้นการนำนวัตกรรมมาใช้กับพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยคิดค้นสารเคมีในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้เนื้อแข็งให้สามารถแตกยอดและเจริญเติบโตได้ดี และได้ทำการทดลองนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาปรับใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยการนำนุ่นมาทดแทนวุ้นในอาหารสังเคราะห์ในรูปการปลูกพืชที่คล้ายการปลูกแบบไฮโดรโปรนิกส์

เลขานุการ รมว.อว.กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ บริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  ได้เข้าร่วมหลักสูตรผู้จัดการนวัตกรรม รุ่นที่ 1 ในแผนงานการสร้างผู้จัดการนวัตกรรม  ภายใต้โครงการสร้างกำลังคนและทักษะแห่งอนาคตในภูมิภาค เพื่อตอบโจทย์การพัฒนานวัตกรรมของประเทศ กำกับดูแลโดย สกสว.ส่งผลให้บริษัทฯ ได้วิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ไม้ด่าง กล้วยและที่สำคัญ แอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิ ซึ่งประเทศไทยได้นำเข้าสายพันธุ์นี้มาจำนวนมากที่สุด และเป็นที่นิยมให้สามารถเพาะปลูกได้ในเขตภูมิภาคของประเทศไทยและเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต

ด้าน น.ส.สาวิตรี ศรีพงษ์ ผู้ประกอบการบริษัท ไทยทิชชูคัลเจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืชในการพัฒนาแอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิ จากประเทศญี่ปุ่นและได้ทดสอบในแปลงนำร่องได้ผลผลิตรสชาติหวาน แน่นและเตรียมขยายเพิ่มอีก 50 ไร่ ถือว่าเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถนำแอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิ มาปลูกได้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยและจะพัฒนาให้การปลูกแอปเปิ้ล สายพันธุ์ฟูจิเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดและเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากต่อไป

น.ส.สาวิตรี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ ผ่านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันสำปะหลัง เพื่อแก้ปัญหาโรคพืชในมันสำปะหลัง คือโรคไวรัสใบด่างในมันสำปะหลัง ส่งผลให้เกษตรกรได้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลอดโรค ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพในจำนวนที่เพิ่มมาก สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ อว.

“บริษัทฯ ได้ดำเนินกิจการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยการนำชิ้นส่วนต่างๆ ของพืชที่มีชีวิต อาทิ ใบ ดอก เมล็ด ก้าน ใบ และลำต้นของพืช มาเลี้ยงในสภาวะปลอดเชื้อด้วยอาหารวิทยาศาสตร์ที่สังเคราะห์ขึ้นพร้อมด้วยการควบคุมสภาพแวดล้อม ทั้งแสงและอุณหภูมิ เพื่อให้ต้นพืชเจริญเติบโตเป็นต้นอ่อนและทำการคัดสรรต้นพืชที่มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อทำการกระตุ้นต้นพืชให้เกิดรากจนสามารถนำไปอนุบาลในโรงเรือน เพื่อให้ต้นพืชเจริญเติบโตแข็งแรง สมบูรณ์ก่อนจะจัดจำหน่ายให้แก่เกษตรกรและกลุ่มลูกค้า ณ ศูนย์เกษตรเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพันธุ์พืช บ้านโนนสำราญ”  น.ส.สาวิตรี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการด่วนระหว่างการประชุม ครม.

มท.2 ลงพื้นที่ จ.เชียงราย ตรวจตลิ่งริมแม่น้ำอิง ก่อนสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นางสาวพรพิมล ธรรมสาร ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสมเกียรติ กิจเจริญ คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเอกภพ เพียรพิเศษ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

“อว. For EV” เดินหน้า 23 หน่วยงาน MOU “ศุภมาส” ประกาศขับเคลื่อนประเทศสู่ Go Green

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV ของ 23 หน่วยงานสังกัดกระทรวง อว. เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปเป็น EV HUB