"ศักดิ์สยาม" เร่งรัดติดตามการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานการประชุมติดตามนโยบายการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 11.00 น. ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings พร้อมด้วยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน  รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง) นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้รายงานความก้าวหน้าการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษ ซึ่งคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติให้ความเห็นชอบรายงานผลการศึกษาการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษในภาพรวมทั้งระบบไว้แล้ว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการศึกษาของ กทพ. แล้ว เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 รวมทั้ง กทพ. ได้มีการวิเคราะห์ความเหมาะสม และจัดลำดับความสำคัญ เพื่อจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรในภาพรวมทั้งระบบ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.) โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษในปัจจุบัน จำนวน 21 โครงการ แบ่งเป็น แผนระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - 2569) จำนวน 16 โครงการ และแผนระยะที่ 2 (พ.ศ. 2570 เป็นต้นไป) จำนวน 5 โครงการ และ 2.)โครงการทางพิเศษเพิ่มเติมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง จำนวน 11 โครงการ แบ่งเป็น แผนระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - 2569) จำนวน 5 โครงการ และแผนระยะที่ 2 (พ.ศ. 2570 เป็นต้นไป) จำนวน 6 โครงการ 

นายศักดิ์สยาม ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อม ของโครงการการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษระยะที่ 1 จำนวน 16 โครงการ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน-พระราม 9) และโครงการแก้ไขปัญหาการจราจร จำนวน 8 โครงการ (รวม 9 โครงการ) มีแผนระยะเวลาศึกษา 15 เดือน งานศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) โครงการทางขึ้น-ลง บริเวณสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 4 โครงการ มีแผนระยะเวลาศึกษา 6 เดือน

งานศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการแก้ไขปัญหาการจราจร จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการปรับปรุงถนนเกษตร-นวมินทร์ และโครงการทางเชื่อมด่านจตุโชติกับทางคู่ขนานถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันออก มีแผนระยะเวลาศึกษา 10 เดือน

งานสำรวจและออกแบบเบื้องต้น (Preliminary Design) โครงการเปิดใช้ช่องจราจรสวนกระแสช่วงถนนพระราม 9-ถนนเกษตร-นวมินทร์ จำนวน 1 โครงการ มีแผนระยะเวลาศึกษา 6 เดือน นอกจากนี้ นายศักดิ์สยามฯ มีข้อสั่งการเพิ่มเติมโดยมอบหมายให้ กทพ. จัดทำ Presentation สรุปข้อมูลในรูปแบบ Clip Video เพื่อประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าการดำเนินงานให้ประชาชนรับทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภูมิใจไทย รุ่นใหม่ มีของ กับ ไชยชนก เลขาธิการพรรค 14 พ.ค. นับหนึ่งรีแบรนด์ดิ้ง

พรรคภูมิใจไทย หนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งก่อตั้งพรรคมา ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16 ไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา 6 เม.ย โดยก่อนหน้านั้น พรรคภูมิใจไทย ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567