“พล.อ.ประวิตร” รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ขับเคลื่อนแผนพัฒนาโครงการแหล่งน้ำจันทบุรี – ภาคตะวันออก เพื่อรองรับ การขยายตัวความต้องการใช้น้ำทั้งระบบ ทั้งภาคการเกษตร และอุปโภคบริโภค รวมถึงนำน้ำส่วนเกิน ป้อนเขตพัฒนาพิเศษ EEC ตามยุทธศาสตร์รัฐบาล มุ่งให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ด้วยเศรษฐกิจที่ดีขึ้น พร้อมขับเคลื่อนปฏิรูปแก้ปัญหาที่ดินทำกิน เน้นย้ำให้เป็นธรรม และทั่วถึงครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม”
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางลงพื้นที่ จ.จันทบุรี เพื่อติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออกทั้งระบบ ในการแก้ปัญหาสถานการณ์น้ำให้ครอบคลุมทุกมิติ เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นแหล่งผลิตอาหาร และเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย ที่มีมูลค่าการส่งออกอันดับต้นๆ โครงการดังกล่าวยังครอบคลุมในอีก 3 จังหวัด เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการขยายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่มีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศบนพื้นฐานของความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน พร้อมพบปะรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะปัญหาที่ดินทำกิน
พลเอกประวิตร ได้ติดตามความคืบหน้า การพัฒนาแหล่งน้ำ แก้ปัญหาที่ดินทำกิน รวมถึงการเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่ จากผู้ว่าราชการจังหวัด และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในภาพสรุป ปี 61-65 การพัฒนาน้ำในพื้นที่ จ.จันทบุรี จำนวน 704 โครงการ มีปริมาณน้ำเพิ่ม 316 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 95,000 ไร่ ครัวเรือนรับประโยชน์ 17,021 ครัวเรือน สำหรับการแก้ปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่แปลงทุ่งฟ้าผ่า กว่า 4,200 ไร่ อยู่ระหว่างพิสูจน์สิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ครอบครอง และการบริหารจัดการให้ถูกต้อง
ทั้งนี้จันทบุรี มีพื้นที่ทำการเกษตร3.96 ล้านไร่คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก เป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่สำคัญมีปริมาณสูงถึง 766,000 ตัน คาดว่าปี 2565 สร้างมูลค่าสูงกว่า 70,000 ล้านบาท เป็นแหล่งผลิตพืชที่สำคัญของประเทศ สำหรับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในภาคตะวันออก โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำหลักทั้ง 4 แห่ง หากดำเนินการแล้วเสร็จเรียบร้อย จะสามารถรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วน ซึ่งขณะนี้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ 1 แห่ง คือ อ่างคลองประแกด ความจุ 60.26 ล้านลูกบาศก์เมตร และอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 2 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ความจุ 80.70 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 และอ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ ความจุ 68.10 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2567
“ปัจจุบันได้แต่งตั้ง 2คณะอนุกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำ และคณะอนุกรรมลุ่มน้ำจังหวัด ที่มีอยู่ 22 แห่ง วางแผนร่วมกันในการกระจายน้ำทั่วภูมิภาค ซึ่งการบริหารจัดการน้ำในปีนี้ นับว่าได้ผลมาก ไม่มีพื้นที่ใดในประเทศ ที่ต้องประกาศเป็นภัยแล้ง แต่ก็พบว่าหลายพื้นที่ยังไม่มีความพร้อมในการกักเก็บน้ำ อย่างเช่นจ.จันทบุรี แม้ว่าจะมีปริมาณฝนตกสูงถึง 1,000 พันล้านลูกบาศก์เมตร แต่เก็บน้ำได้เพียง 300 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่เหลือปริมาณน้ำต้องทิ้งทะเล ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน “
ส่วนอ่างเก็บน้ำวังโตนด เป็นอ่างเก็บน้ำ 1 ใน 4 แห่งที่จะบริหารน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนมีความต้องการ สนับสนุนการเพาะปลูกผลไม้ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ สร้างรายได้ให้กับเกษตรภาคตะวันออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นแผนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งที่ 4 ที่ เป็นการก่อสร้างในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จำนวน 7,503 ไร่ และป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนซ่อง จำนวน 7,097 ไร่ ขณะนี้ยังติดปัญหาการคัดค้านของกลุ่มเอ็นจีโอ ที่มองว่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทำให้กรมชลประทานยังไม่สามารถเสนอรายงาน (EHIA) ฉบับสมบูรณ์ต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอเพิกถอนพื้นที่บางส่วน
พลเอกประวิตร กล่าวว่า ได้รับทราบปัญหาโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังโตนด ที่ยังติดขัดบางเรื่อง โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการปรับลดแผนการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่โดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง เพื่อนำเสนอรายงาน EHIA ฉบับสมบูรณ์ให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน บรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว จึงจะนำเข้าสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ตามงบประมาณปี 2567 ในการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด มูลค่า 6,400 ล้านบาท ตามกำหนดระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 ปี (2567-2572) ซึ่งหากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ทั้ง 4 แห่งแล้วเสร็จ จะทำให้มีความจุของอ่างรวมทั้งหมด 308.56 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่จะสามารถรองรับน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในจังหวัดภาคตะวันออก มักจะเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง ศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนมีจำกัด ความต้องการน้ำจืดเพิ่มมากขึ้นเพราะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจอุตสาหกรรม แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและการขยายพื้นที่การเกษตร ขณะที่ปัญหาอุทกภัย มีสาเหตุมาจากสิ่งกีดขวางทางน้ำและลำน้ำตื้นเขิน เนื่องจากมีพื้นที่ชุมชนหนาแน่น บางพื้นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้น้ำระบายออกสู่ทะเลได้ช้า
ดังนั้นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำภาคตะวันออก 4 แห่ง จะสอดคล้องกับการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงแหล่งน้ำ ที่จะทำให้มีประสิทธิภาพในการเก็บกักแหล่งน้ำให้เพียงพอ รวมทั้งยังมีระบบพัฒนาการผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำจืด เพื่อเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้ง พร้อมทั้งระบบป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำในชุมชนเมือง การจัดทำผังเมืองและผังการระบายน้ำ ซึ่งทั้งหมดเป็นแผนครอบคลุมที่จะช่วยแก้ปัญหาน้ำภาคตะวันออกได้อย่างยั่งยืน
พลเอกประวิตร ยังได้กล่าวขอบคุณทุกส่วนราชการ ที่ร่วมขับเคลื่อนความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการปฏิรูปแก้ปัญหาที่ดินและน้ำที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน มีน้ำกระจายใช้อย่างทั่วถึงเป็นธรรมในทุกกลุ่ม โดยกำชับขอให้ สทนช. เร่งดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ 3 ลุ่มน้ำภาคตะวันออก และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 6 แห่งให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด ให้ครอบคลุมทั้ง การอุปโภค บริโภค พื้นที่การเกษตรที่สำคัญ โดยเฉพาะสวนผลไม้ รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำดิบสำรอง สนับสนุนพื้นที่ EEC เพื่อลดปัญหาผลกระทบภัยแล้งและความต้องการน้ำที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ ขอให้ สทนช. เข้าไปศึกษาแก้ปัญหาและบริหารจัดการประตูน้ำ เพื่อลดปัญหาความเค็มของแม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง จากน้ำทะเลหนุนไปพร้อมๆกับ การลงทำความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ไปด้วยกัน
อย่างไรก็ตามได้ ลงติดตามความคืบหน้า โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี ( คลองภักดีรำไพ ) ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จแล้ว เพื่อป้องกันมิให้พื้นที่เขตเมือง ได้รับผลกระทบและความเสียหายจากน้ำท่วม พร้อมกับพบและรับฟังประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากการแก้ปัญหาในพื้นที่ หลังจากนั้น ได้เดินทางไปยัง โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว อ.แก่งหางแมว เพื่อสำรวจความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำคลองวังโตนด โดยได้พบปะพูดคุยรับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่ โดย พล.อ. ประวิตร’ ยืนยันความตั้งใจของรัฐบาลในการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำ ที่มุ่งยกระดับความ ความยั่งยืนและยกระดับการกินดีอยู่ดีในลักษณะมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พปชร.เดินหน้าเป็นฝ่ายค้านเต็มตัวยัน 'ลุงป้อม' ไม่วางมือ!
'ไพบูลย์' เผย หลัง 'พปชร.' ขับ '20 สส.ก๊วนธรรมนัส' พ้นพรรค พร้อมเดินหน้าเป็นฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาล ปฏิเสธลือ 'ลุงป้อม' วางมือ มั่นใจเลือกตั้งหน้าได้ สส.เพิ่มแน่
20 สส.ก๊วนธรรมนัสโบกมือลา พปชร. บอกยังรักเคารพลุงป้อม!
'20 สส.ก๊วนธรรมนัส' ถูกขับพ้น 'พปชร.' แล้ว 'อรรถกร' บอกจากกันด้วยดี ขอเวลาหารือ 'พรรคกล้าธรรม' ก่อน ย้ำ ยังรักเคารพ 'ลุงป้อม' อยู่
'นฤมล' อุบไต๋วันเปิดตัวก๊วนรัฐมนตรีแป้ง
'นฤมล' ยินดีต้อนรับ 20 สส.ก๊วนธรรมนัสเข้า 'กล้าธรรม' อุบวันเปิดตัวที่ทำการพรรค-สมาชิกใหม่
พรรคกล้าธรรม พร้อมรับ 20 สส.กลุ่มผู้กองธรรมนัส
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคกล้าธรรม กล่าวภายหลังพรรคพลังประชารัฐเตรียมประชุมร่วมกรรมการบริหารพรรค และสส. เพื่อขอมติในขับสส. 20 คน ที่สังกัดกลุ่ม
'พปชร.' ค้านร่างกฎหมายจัดระเบียบกลาโหม ซัดเพื่อไทยบั่นทอนกองทัพ
พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตามที่พรรคการเมืองบางพรรค ได้เตรียมนำเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม เพื่อแก้ไขสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ นั้น
ปูด 3 บอส กำจัด 'บิ๊กป้อม' พ้นวงจรการเมือง-จ้องขโมย สส.
นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ถึงขบวนการกำจัดพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) พ้นจากการเมือง ว่ามี 3 บุคคล คือ 1.ผู้นำสูงสุดของพรรคเพื่อไทย