GIZ ชวนร่วมงาน Glocal Climate Change, Act Locally, Change Globally

GIZ ชวนร่วมงานปิดโครงการและกิจกรรมสร้างความตระหนักแก่ภาคสาธารณะ TGCP-Policy รับฟังวิสัยทัศน์ความพร้อมจังหวัดไทยสู้ภัย Climate Change ฟัง Climate Action Talk จากเหล่ากูรูด้านสิ่งแวดล้อม รับชมและร่วมพูดคุยช่วง Climate Movie และร่วมสนุกกับกิจกรรมทดสอบความเป็นตัวคุณเรื่องClimate Change พร้อมรับของระลึกฟรี !

ดร.อังคณา เฉลิมพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการด้านนโยบาย แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปิดเผยว่า องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ร่วมกับสำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม (สผ.) กำหนดจัดงานปิดโครงการและกิจกรรมสร้างความตระหนักแก่ภาคสาธารณะ โครงการการดำเนินงานด้านนโยบาย ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGCP-Policy) ในวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565 เวลา 9.00 – 19.30 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ 1 ชั้น 5 อาคารสามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร โดยโครงการดังกล่าวดำเนินงานระหว่างปี 2561-2565 เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายของไทยในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากแผนงานปกป้องสภาพภูมิอากาศสากล (International Climate Initiative : IKI) แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

ดร.อังคณา กล่าวต่อว่า ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม (สผ.) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของ เยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้าน Climate Change ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าร่วมงาน นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทกระทรวงมหาดไทย” พร้อมทั้งมอบโล่เกียรติคุณให้แก่ 10 จังหวัดนำร่องในการบูรณาการประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด รวมถึงกิจกรรม Climate Action Talk: “From Science to Policy to Action on the Ground” โดยนักวิชาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้แทนหน่วยงานกำหนดนโยบาย และผู้แทนประชาชนที่มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

“กิจกรรมภายในงานยังมีการฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวงพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับ ยอดและบอลจากหนังพาไป และดร.เพชร มโนปวิตร จากมูลนิธิโลกสีเขียว รวมทั้ง Workshop การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง Youth Climate Ready นอกจากนั้นผู้เข้าร่วมงานทุกคนยังสามารถร่วมกิจกรรมทดสอบตนเองด้าน Climate Change เพื่อรับของที่ระลึกบริเวณลานนิทรรศการ อีกทั้งยังสามารถร่วมงานผ่านระบบออนไลน์จากหน้า Facebook ของ GIZ ได้อีกด้วย” ดร.อังคณากล่าวเชิญชวน

 

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการชี้โครงการ 'ผันน้ำยวม' มูลค่าแสนล้านเสี่ยงผิดกม. สร้างหนี้รัฐมหาศาล ไม่คุ้มค่า

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม โดยมี ดร.ศิตางศุ์ พิลัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กองทุนภูมิอากาศไทย หนุนลดก๊าซ-ปรับตัวสู้โลกร้อน

เพื่อส่งเสริมความร่วมมือมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ของประเทศไทย สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยกองทุนสิ่งแวดล้อม ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดงานสัมมนาวิชาการกองทุนสิ่งแวดล้อม ประจำปี พ.ศ. 2566

‘กรมโลกร้อน’คอนมานโดสู้’โลกรวน’

ไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศ ที่คาดว่าจะต้องเผชิญความเสี่ยง และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งอุณหภูมิร้อนขึ้น การเกิดภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ  รวมถึงไฟป่าตามมา หรื

กางแผนผลักดัน OECMs ตามเป้า 30X30  ป้องกันพืช-สัตว์ สูญพันธุ์

เนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจำปี 2566 “From Agreement to Action : Build Back Biodiversity “  จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เปิดวงเสวนาหัวข้อ “OECMs โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย 30 x 30 ของประเทศไทย”

ต้านการทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำด้วย‘Big Data’

แม้จะมีข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพประกอบด้วยพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน พิกัดสิ่งมีชีวิต จำนวน 1.2 แสนรายการ บนระบบคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย (Thailand Biodiversity Information Facility: TH-BIF) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากร