TED Fund สนับสนุนทุนคนรุ่นใหม่ ที่สงขลา ผลิต “เข็มละลาย”เจาะตลาดคนกลัวเข็มฉีดยา

TED Fund สร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ จ.สงขลา หนุนโครงการ “ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว”หรือ“เข็มละลาย”ทางเลือกใหม่แทนการใช้เข็มโลหะในการฉีดยา ทั้งยังแก้โรคกลัวเข็ม เผยมีประสิทธิภาพในการนำส่งยาระดับลึก แต่ไม่ทำให้เกิดแผล เตรียมนำไปใช้กับกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในชุมชนที่ห่างไกลหรือชุมชนบนเขาลดความเหลื่อมล้ำ

เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามภารกิจการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ภายใต้โครงการ “ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว” ซึ่ง TED Fund ได้ให้ทุนสนับสนุนในโครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) แก่บริษัท อี.ซี.เน็กซ์ จำกัด

โดย ดร.ชาญวิทย์ กล่าวว่า การสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ให้นำผลงานวิจัย ไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ โดยการสนับสนุนภายใต้โครงการยุววิสาหกิจเริ่มต้น (TED Youth Startup) ถือเป็นเป้าหมายการดำเนินงานที่สำคัญของ TED Fund ซึ่งโครงการ“ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว” ถือเป็นการตอบโจทย์ตามเป้าหมาย ด้วยเป็นทางเลือกหนึ่งแทนการใช้เข็มโลหะในการฉีดนำส่งยา วัคซีนหรือสารออกฤทธิ์เข้าสู่ร่างกายที่เป็นวิธีการทางการแพทย์ปัจจุบัน ทั้งยังแก้ภาวะโรคกลัวเข็มด้วย ทั้งนี้ ระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์ด้วยแพลตฟอร์มเข็มไมโครนีดเดิ้ลแบบสลายตัว ถูกออกแบบให้ใช้แทนเข็มโลหะได้ และมีประสิทธิภาพในการนำส่งยาระดับลึก แต่ไม่ทำให้เกิดแผล มีการนำส่งสารออกฤทธิ์โดยเน้นมาจากการสกัดสมุนไพรที่มาจากกลุ่มออร์แกนิค สำหรับการใช้งานด้านเวชสำอางค์และฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีผลในการกระตุ้น ฟื้นฟูและปรับสภาพผิว โดยสามารถออกแบบระบบเข็มเสริมด้วยเทคนิคพิเศษทางการแพทย์นาโนด้วยการบรรจุสารออกฤทธิ์ด้วยนาโนแคปซูลซึ่งมีปริมาณขนาดของยาที่เหมาะสมกับร่างกายลงในตัวเข็มที่สามารถสลายตัวได้และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

“ผู้ประกอบการมีความตั้งใจที่จะนำนวัตกรรมทางการแพทย์นี้สำหรับใช้ส่งยาปริมาณที่น้อยและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในรูปแบบแผ่นแปะเข็มไมโครนีดเดิ้ลให้ถึงกลุ่มคนที่ขาดโอกาสในชุมชนที่ห่างไกลหรือชุมชนบนเขา เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อพบปัญหาด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วจะต้องเดินทางไกลเพื่อมาถึงโรงพยาบาล ซึ่งมีความเสี่ยงต่อชีวิต ดังนั้น นวัตกรรมนี้จะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มคนเหล่านี้และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น” ดร.ชาญวิทย์ กล่าว

ดร.ชาญวิทย์ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในระยะแรกผู้ประกอบการจะนำนวัตกรรมนี้ มาช่วยในเรื่องการฟื้นฟูสภาพผิวของคนที่มีปัญหาริ้วรอยควบคู่กับการทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย พัฒนามุ่งสู่การแพทย์แล้วยังสามารถพัฒนาระดับต้นน้ำโดยการส่งเสริมอาชีพการเกษตรอินทรีย์เพื่อผลิตพืชที่มีสารสำคัญและมาผ่านกระบวนการสกัดเพื่อนำมาบรรจุลงในเข็มละลาย

นางจุลินทิพย์ พุทธวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อี.ซี.เน็กซ์ จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ ในการดำเนินการของบริษัทฯ ทาง TED Fund ได้จัดให้มีหน่วยงานพี่เลี้ยง หรือ TED Fellow เข้ามาคอยช่วยเหลือสนับสนุนตลอดโครงการ ซึ่งนำมาสู่การประสบความสำเร็จ อีกทั้งจากการสนับสนุนจาก TED Fund  ทั้งปัจจุบัน และอนาคต เทคโนโลยีนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีกว่าเดิมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ในทุกระดับชุมชนท้องถิ่นหรือพื้นที่ห่างไกล, การสร้างงาน สร้างอาชีพที่เข้มแข็ง การสร้างโมเดลความร่วมมือ กับ ภาครัฐ-เอกชน-มหาวิทยาลัย และบริษัท อี.ซี.เน็กซ์ จำกัด  ทำให้พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำเทคโนโลยีระบบนำส่งยาด้วยเข็มละลายได้ใต้ผิวหนัง แบบไม่ต้องเจ็บ ไม่ปวด และ ไม่มีการติดเชื้อ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างยั่งยืน” นางจุลินทิพย์ กล่าว   

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วน !! "ศุภมาส" สั่งการหน่วยปฏิบัติการ “DSS วศ.อว” พร้อมลงพื้นที่ กรณีแคดเมียมสมุทรสาคร

วันที่ 5 เมษายน 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า

“ศุภมาส” ลุย ! ปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ประกาศนโยบาย “2 ลด 2 เพิ่ม” ลดภาระ-ลดเหลื่อม ล้ำ-เพิ่มทักษะ-เพิ่มโอกาส

เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน

รัฐมนตรี “ศุภมาส” ชื่นชมความสำเร็จ วศ.อว. วิจัยพัฒนานวัตกรรมเซรามิก “แร่หินผุ” เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชนกว่า 1 พันล้านบาท ทดแทนแร่ดินขาวที่กำลังจะหมดไป

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า กระทรวง อว. ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

องคมนตรี ย้ำ “การศึกษาช่วยสร้างคนดีให้บ้านเมือง” เร่งแก้ปัญหาเด็กพื้นที่ห่างไกล ขณะที่ "ศุภมาส" รมว.อว. ส่งเครือข่ายมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงลงพื้นที่ช่วยจัดการเรียนการสอน ผลิตสื่อการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี

ด่วน! รมว. ”ศุภมาส“ สั่งการ “ทีม DSS” วศ.อว. ลงพื้นที่หาสาเหตุคลองน้ำเป็นสีชมพู พบแบคทีเรียซัลเฟอร์และพยาธิ…อื้อ

วันนี้ 19 มีนาคม 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้สั่งการด่วนระหว่างการประชุม ครม.

“อว. For EV” เดินหน้า 23 หน่วยงาน MOU “ศุภมาส” ประกาศขับเคลื่อนประเทศสู่ Go Green

เมื่อวันที่ 18 มี.ค. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบาย อว. For EV ของ 23 หน่วยงานสังกัดกระทรวง อว. เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยไปเป็น EV HUB