SPRC เดินหน้าศึกษาผลกระทบเหตุน้ำมันรั่ว ประสานชุมชน เร่งฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม

SPRC เร่งแก้ไขผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่ว จ่ายเงินชดเชยให้ผู้ได้รับผลกระทบไปแล้วมากกว่า 10,600 ราย รวมเป็นเงินกว่า 305 ล้านบาท พร้อมร่วมมือหน่วยงานภาครัฐ และผู้เชี่ยวชาญไทยและต่างชาติ ศึกษาติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ประสานชุมชนยกระดับสิ่งแวดล้อม พัฒนาอาชีพ สร้างความยั่งยืน ในระยะยาว 

นายพงษ์กรณ์ ช่อชูวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายบริหารระบบความปลอดภัย คุณภาพสิ่งแวดล้อมและอาชีว อนามัย บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC กล่าวว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทฯ ได้ติดตามผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่น รวมทั้งบูรณาการแผนฟื้นฟูร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดทำแผนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยในระยะสั้นเริ่มตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม – 6 เมษายน 2565 ซึ่งได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพอากาศ น้ำทะเล และตะกอนดิน  สำหรับระยะกลางจะใช้เวลา 1-2 ปี โดยจะศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อเนื่องทั้งด้านสมุทรศาสตร์, สารมลพิษ, ระบบนิเวศปะการัง, ระบบนิเวศหญ้าทะเล, ระบบนิเวศหาดหินหาดทราย, สัตว์ทะเลหายาก, ประเมินผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการวางแผนฟื้นฟู และระยะยาวจะศึกษาและฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมตามที่เกิดผลกระทบในด้านนั้น ๆ ต่อไป 

บริษัทฯ ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะแรก ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2565 ถึง 6 เมษายน 2565 พบว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คุณภาพน้ำทะเล มีค่าโลหะหนักและปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนเกินเกณฑ์มาตรฐานในช่วงแรก และลดลงจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามลำดับ ส่วนคุณภาพตะกอนดินมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 

ส่วนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะกลาง บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับคณะทำงานพิจารณาการจัด ทำแผนฟื้นฟู ติดตามตรวจสอบสภาพแวดล้อม และประเมินผลการปฏิบัติงานป้องกันและขจัดมลพิษน้ำมัน กรณีน้ำมันดิบรั่วไหลจากท่อส่งน้ำมันของทุ่นรับน้ำมันกลางทะเลของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยกรมเจ้าท่า กรมควบคุมมลพิษ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จังหวัดระยอง และคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลจากประเทศออสเตรเลียร่วมทบทวนโครงการและให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ซึ่งแผนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะครอบคลุมผลกระทบด้านต่าง ๆ ตามแนวทางของกรมควบคุมมลพิษ โดยพิจารณาพื้นที่ที่น้ำมันเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายหาดและขอบเขตพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาศึกษา 2 ปี ระหว่างเดือนเมษายน 2565 – เมษายน 2567 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 48 ล้านบาท  

โดย การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระยะกลางประกอบด้วย 11 โครงการ ได้แก่

  1. การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสารประกอบไฮโดรคาร์บอนในน้ำ ดินตะกอน และสัตว์น้ำ
  2. การศึกษาสาหร่ายเซลล์เดียวและสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดเล็กจากพื้นทะเลบริเวณชายฝั่ง
  3. การศึกษาชนิดและการเปลี่ยนแปลงของสัตว์หน้าดินขนาดใหญ่
  4. การศึกษาผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิตกลุ่มหอยสองฝา บริเวณชาย ฝั่งจังหวัดระยอง
  5. การศึกษาผลกระทบของน้ำมันรั่วไหลต่อระบบนิเวศหญ้าทะเลบริเวณหาดแม่รำพึงและอ่าวบ้านเพ
  6. การศึกษาผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันต่อระบบนิเวศแนวปะการังบริเวณชายฝั่งจังหวัดระยอง
  7. การการศึกษาชนิดและปริมาณทรัพยากรจากการประมงชายฝั่งบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
  8. การทดสอบความเป็นพิษของน้ำมันในสิ่งมีชีวิตในทะเล
  9. การศึกษาผลกระทบต่อการปนเปื้อนของโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนและโลหะหนัก ในน้ำทะเล ดินตะกอน และสิ่งชีวิต และการถ่ายทอดผ่านห่วงโซ่อาหาร
  10. การศึกษาตรวจสอบผลกระทบต่อประชาคมสิ่งมีชีวิตในมวลน้ำและพื้นท้องทะเลในบริเวณชายฝั่ง จังหวัดระยอง และ
  11. การศึกษาผลกระทบต่อแนวปะการังและแหล่งหญ้าทะเลโดยใช้เทคนิคขั้นสูงในการตรวจศึกษาการสืบพันธุ์ จุลชีพและการแสดงออกของยีน

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลในอนาคต บริษัทฯ ได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญค้นหาสาเหตุที่เกิดขึ้นและแนวทางการป้องกันในอนาคต ในส่วนของแผนงานฟื้นฟูด้านสังคมและเศรษฐกิจ บริษัทฯ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่มุ่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับรายได้ให้แก่คนในชุมชน โดยการพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าประมง จัดกิจกรรมฟื้นฟูเรียกความเชื่อมั่นกับนักท่องเที่ยว การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจและสัตว์หายาก การสร้างแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำเพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ รวมถึงการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องถิ่นเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกันจัดเก็บขยะและทำความสะอาดชายหาด เพื่อคืนสภาพสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและสวยงามของประเทศไทยให้คงอยู่ตลอดไป 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เชฟรอนผนึกพันธมิตร SPRC-ทช. ผุดโครงการเติมพลังรักษ์ยั่งยืน สู่ผืนป่าไทย พัฒนาป่าชายเลนเมืองระยอง

ป่าชายเลน ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยจากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือทช. ระบุว่า พื้นที่ป่าชายเลนในประเทศไทยสามารถดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละกว่า 9.4 ตันต่อไร่

SPRC ตอกย้ำความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ผนึกพลังภาครัฐ และเอกชน จัดกิจกรรมเก็บขยะ เนื่องในวันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล ปี 2566

นายกำธร เวหน ปลัดจังหวัดระยอง เปิดกิจกรรมจิตอาสาเก็บขยะ เนื่องใน วันอนุรักษ์ชายฝั่งสากล ประจำปี 2566 (ครั้งที่ 21 ) จัดโดย บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC

SPRC ร่วมกับ กนอ. หน่วยงานภาครัฐ และประชาชน ผนึกกำลังจิตอาสากว่า 1,000 คน เก็บขยะชายหาดแม่รำพึง จ.ระยอง

บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและบ้านฉาง จ.ระยอง

SPRC จ่ายเงินช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล คืบหน้าไปแล้วกว่า 90% รวมกว่า 299 ล้านบาท

บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC ยืนยันเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าให้ความช่วยเหลือ

“เราคือครอบครัวเดียวกัน”

จากวันนั้น จนถึงวันนี้ SPRC ไม่เคยหยุดพัก ไม่หยุดพัฒนาชุมชนเพื่อคนระยอง ด้วยความห่วงใยและปรารถนาที่จะมอบสิ่งดีๆ ให้พี่น้องชาวระยองมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

‘กรมเจ้าท่า’ แจ้ง 4 ข้อหา SPRC ทำน้ำมันรั่วทะเลระยอง

“กรมเจ้าท่า” แจ้งความดำเนินคดี 4 ข้อหา SPRC เหตุทำน้ำมันรั่วทะเลระยองซ้ำ สั่งเจ้าท่าภูมิภาคออกประกาศฯ ให้ระมัดระวังการเดินเรือและระมัดระวังความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านบริเวณดังกล่าว