“ดร.นฤมล”คาดบาทอ่อนต่อหลังเฟดขึ้นดบ. ค้านแทรกแซงแนะเอกชนป้องกันความเสี่ยง

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โพสต์Facebook ส่วนตัวระบุถึง ความเคลื่อนไหวการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Federal Open Market Committee (FOMC) เป็นไปตามคาดที่มีมติขึ้นดอกเบี้ย +0.75% เป็น 4.00% โดยเป็นการขึ้นครั้งละ +0.75% เป็นครั้งที่สี่ หลังจากที่เคยขึ้นมาแล้วเมื่อ 16 มิถุนายน, 27 กรกฎาคม, 21 กันยายน และสองครั้งก่อนหน้าก็ขึ้นดอกเบี้ยไป +0.25% เมื่อ 17 มีนาคม และ +0.5% เมื่อ 5 พฤษภาคม

สะท้อนให้เห็นว่า ในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือน FOMC มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยไปแล้วถึง +3.75% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายขยับขึ้นมาจาก 0.25% เป็น 4.0% แล้ว และยังคงส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีก เพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ แต่คาดว่า จากนี้ไป คงขึ้นครั้งละไม่มากเท่านี้ น่าจะเป็นครั้งละ +0.25 ถึง +0.5% และอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะไปแตะระดับสูงสุดปีหน้าที่ประมาณ 4.75% ถึง 5.0%

ภารกิจหลักของธนาคารกลางสหรัฐ คือ รักษาเสถียรภาพของราคา และดูแลตัวเลขการจ้างงานให้อยู่ในระดับที่สูง ดังนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจเร่งตัวขึ้นแรงไป อัตราเงินเฟ้อสูง จะขึ้นดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรง เช่น ช่วงปี 2015-2018 มีการขึ้นดอกเบี้ยรวม +2.25% หรือช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว อัตราการว่างงานสูง ก็จะลดดอกเบี้ย อย่างช่วงปี 2019-2020 ก็มีการลดดอกเบี้ยร่วม -2.25% เพื่อประคองตัวเลขการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน

ล่าสุดวันนี้ มีการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดขึ้นดอกเบี้ย +0.75% เป็น 3.00% สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน( กนง.) ของไทยมีกำหนดประชุมอีกครั้งเดือนพฤศจิกายน คาดว่าจะทยอยขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% หากจำเป็นเมื่อสหรัฐอเมริกายังขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง สกุลเงินอื่นย่อมอ่อนค่าลง มากน้อย เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยส่วนต่าง และอุปสงค์อุปทานในตลาด เงินบาทน่าจะอ่อนค่าลงอีก ซึ่งทางธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) มีการดูและแบบรอบคอบอยู่แล้วไม่ให้ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป

สำหรับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของของค่าเงินบาท ไม่ควรเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามารับผิดชอบเรื่องนี้ เพราะเราไม่ควรแทรกแซงค่าเงินโดยตรงหากไม่มีความจำเป็น และไทยเราเคยมีประสบการณ์การแทรกแซงค่าเงินจนเกิดความสูญเสียจำนวนมากมาแล้วในอดีต ภาคเอกชน ควรศึกษาและทำการป้องกันความเสี่ยง โดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำกับดูแลไม่ให้ต้นทุนในการป้องกันความเสี่ยงสูงเกินไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พปชร.เมืองกุรงชู 'กองทุนธุรกิจเพื่อสังคม-สินค้า Made in Bangkok'

'ศ.ดร.นฤมล' นำทีมว่าที่ผู้สมัคร กทม.เร่งขับเคลื่อนแผนเพิ่มพลังทุน เพิ่มพลังเศรษฐกิจ ชูผุดกองทุนธุรกิจเพื่อสังคมลดพึ่งงบรัฐเสริมแกร่งฐานราก พร้อมดันสินค้า Made in Bangkok

“ศ.ดร.นฤมล”หนุนทุกฝ่ายร่วมดันแคมเปญ Go Nomad in Thailandสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน โพสต์ Facebook ส่วนตัวเปิดมุมมองถึงมูลค่าเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร( กทม.)

“ศ.ดร.นฤมล”ถอดรหัสแบงก์SVB ล้ม ลุกลามสู่”เครดิตสวิส” แนะทุกส่วนของไทยเฝ้าระวังเร่งสร้างความเชื่อมั่นลดปัจจัยเสี่ยง

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานโพสต์ Facebook ส่วนตัวเปิดมุมมองถึงกรณี ศุกร์ที่ 10 มีนาคม ธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ (Silicon Valley Bank) หรือ SVB

“ศ.ดร.นฤมล”เข้าเยี่ยมคารวะเอกอัครราชทูตอังกฤษ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นศก.การเมืองและสังคม

13 มีนาคม 2566 ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ นายมาร์ค กูดดิ้ง

"ว่าที่ผู้สมัคร กทม.พปชร."ยื่นหนังสือเสนอนโยบายสตรีและกลุ่ม LGBTQ+ผ่าน"ศ.ดร.นฤมล" หนุนลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มความเท่าเทียมเพศชาย-เพศทางเลือกสังคมไทย

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือเสนอนโยบายเกี่ยวกับผู้หญิงและความหลากหลายทางเพศ จากตัวแทนกลุ่มว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ของพรรคพลังประชารัฐ เนื่องวันสตรีสากล